ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักจิตวิทยาชี้ 'คนที่ไม่เชื่อเรื่องภาวะโลกร้อน' เป็นกลุ่มคนชอบปฏิเสธความจริงและชอบทำตนเหนือผู้อื่น!


a power plant on the outskirts of Xiangfan, Hubei province
a power plant on the outskirts of Xiangfan, Hubei province
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:46 0:00

ผลการศึกษาเชิงจิตวิทยาพบว่า คนที่ไม่เชื่อว่ากิจกรรมมนุษย์ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เป็นกลุ่มคนที่ชอบปฏิเสธความเป็นจริงที่สร้างความรู้สึกทางลบ

ผลการศึกษาชิ้นนี้พบว่า คนที่ไม่เชื่อว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากฝีมือมนุษย์ เป็นกลุ่มคนที่ใช้การปฏิเสธเป็นเครื่องมือในการป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกไม่ดี และไม่ได้เป็นเรื่องของความแตกต่างทางความคิดเห็นทางการเมืองเท่านั้น

ในงานเขียนเชิงการวิจัย Kirsti Jylha เเห่งมหาวิทยาลัย Uppsala ในสวีเดน ชี้ว่าการปฏิเสธแบบนี้เป็นอาการเชิงจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า ทฤษฏีด้านจิตวิทยาของการปฏิเสธหรือ psychology of denial

Jylha ได้ศึกษาวิจัยปฏิกริยาของคนเราต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศมานานหลายปี เธอพบว่าคนที่ปฏิเสธไม่เชื่อเรื่องภาวะโลกร้อนมักเป็นเพศชาย หัวอนุรักษ์ และมักชอบทำตัวเป็นใหญ่ ขาดความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น และชอบหลีกเลี่ยงความรู้สึกทางลบ

เมื่อนำมารวมกัน คุณ Jylha บอกว่าลักษณะบุคลิกเหล่านี้ล้วนชี้ไปที่กลุ่มคนที่ทำคะเเนนได้สูง ในการวัดลักษณะทางบุคลิกที่ส่อให้เห็นถึงความคิดทางสัมคมและทางการเมืองหรือที่เรียกว่า SDO (social dominance orientation)

เเละเธอชี้ว่าลักษณะบุคลิกที่ว่านี้ ยังหมายรวมไปถึงคนที่ยอมรับความสัมพันธ์แบบตนเป็นใหญ่กว่าคนอื่นในกลุ่ม และการยอมรับว่าคนเราเป็นใหญ่เหนือธรรมชาติ

แม้ว่าคนที่มีลักษณะส่วนตัวแบบนี้จะไม่เป็นที่น่าพึงประสงค์มากนัก คุณ Jylha บอกว่างานวิจัยของตนไม่ได้มุ่งตราหน้าคนที่ไม่เชื่อในภาวะโลกร้อนว่าเป็นกลุ่มคนจิตใจเเคบ แต่เธอหวังว่าจะสามารถสร้างความเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมการสื่อสารเกี่ยวกับความเป็นจริงเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนกับคนกลุ่มที่ไม่อยากรับฟังเรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องยากมาก

Steve Taylor นักจิตวิทยาเขียนบทความในวารสาร Psychology Today กล่าวว่า คนเหล่านี้ไม่สบายใจเมื่อได้ยินว่ากิจกรรมของคนเราทำลายสภาพเเวดล้อมของโลกที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต

เมื่อคุณคิดถึงภาวะน้ำท่วมตามเเนวชายฝั่ง ภาวะฝนเเล้ง พายุ คุณอาจจะรู้สึกเหมือนกับว่าเรื่องราวร้ายๆ ในหนังวิกฤตภัยธรรมชาติกลายเป็นเรื่องจริง Jylha นักวิจัยในสวีเดนกล่าวว่า เหตุการณ์วิกฤติร้ายแรงอาจเพิ่มความรู้สึกทางลบ และทำให้คนเลี่ยงไม่อยากคิดถึงเรื่องนั้น และอาจจะยังทำให้คนบางคนมองว่า ภาวะโลกร้อนเป็นประเด็นที่ถูกโหมโรงมากเกินความเป็นจริง

โดยเฉพาะหากพวกเขามองไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจนจากภาวะโลกร้อนต่อชีวิตประจำวันของพวกเขาเป็นทุนเดิมอยู่เเล้ว

แล้วเราจะปรับการสนทนาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนให้ช่วยจูงใจคนเหล่านี้ให้เริ่มจัดการกับปัญหาได้อย่างไร?

คุณ Jylha บอกว่าเราไม่ควรเน้นผลเสียทางสิ่งเเวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ แต่ให้เน้นว่าการแก้ปัญหาเพื่อควบคุมภาวะโลกร้อนอย่างถูกจุดจะเป็นประโยชน์กับทุกคน ด้วยการใช้คำที่เเตกต่างออกไป เพื่อทำให้ทุกคนตระหนักว่าคนเราจะได้ประโยชน์จากการควบคุมภาวะโลกร้อนอย่างไร แทนที่จะชี้ว่าเราจะได้รับผลกระทบกันอย่างไรบ้างจากภาวะโลกร้อน

วิธีการสนทนาแบบใหม่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน อาจจะช่วยลดการโต้เเย้งกันลง

Allen McConnell นักจิตวิทยาอีกคนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การเน้นให้คนเห็นผลประโยชน์ในระยะยาว และการตั้งรางวัลสำหรับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ น่าจะนำไปสู่ผลลัพท์ทางบวกได้

(รายงานโดย Kevin Enochs / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG