ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รับมือการบุกของอาณาจักรเเมลงเมื่อ “จักจั่น” นับล้านเตรียมขึ้นจากดิน


An adult cicada sheds its nymphal skin on the bark on an oak tree, Tuesday, May 4, 2021, on the University of Maryland campus in College Park, Md.
An adult cicada sheds its nymphal skin on the bark on an oak tree, Tuesday, May 4, 2021, on the University of Maryland campus in College Park, Md.
Trillions Cicadas Emerge After 17 Years
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:24 0:00


คนอเมริกันที่มีสวนหลังบ้านเริ่มเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในปีนี้จากอาณาจักรเเมลง เมื่อพบตัวอ่อนจักจั่นผุดขึ้นมาจากดินจำนวนมาก หากสวนของใครมีพื้นที่หนึ่งเอเคอร์ หรือราวสองไร่ครึ่ง อาจพบเเมลงเหล่านี้คลานขึ้นมานับล้านตัว

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การผุดขึ้นมาจากดินครั้งนี้อาจเรียกไม่ถูกนักถ้าคิดว่าเป็นการบุก เพราะแมลงชนิดนี้ใช้เวลาอยู่ในดินตรงนั้นเพื่อเติบโตยาวนาน 17 ปี ก่อนที่จะคลานขึ้นมาหากินและผสมพันธุ์บนยอดไม้ในภายหลัง

เเละในปรากฏการณ์ ซึ่งเรียกว่า Brood X ในครั้งนี้อาจได้เห็นจักจั่นจำนวนมากมายมหาศาล ที่สุดครั้งหนึ่ง

ในอเมริกา รัฐที่น่าจะได้เห็นปรากฏการณ์นี้มี 15 แห่ง เช่น อินเดียนา จอร์เจีย และนิวยอร์ก ส่วนในรัฐเทนเนสซี และนอร์ธเเคโรไลนากำลังเผชิญกับ Brood X ในขณะนี้ ตามรายงานของสำนักข่าว Associated Press หรือเอพี

ผู้เชี่ยวชาญด้านเเมลง จอห์น คูลีย์ แห่งมหาวิทยาลัยคอนเนคติคัตกล่าวว่า อเมริกาเป็นประเทศเดียวในโลกที่มี จักจั่นที่มีวัฏจักรชีวิตชัดเจน ที่เติบโตในชั้นดิน 13 หรือ 17 ปี

แมลงเหล่านี้จะเผยโฉมขึ้นมาเมื่อดินมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาที่ระดับ 17 - 18 องศาเซลเซียส ซึ่งผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง จีน คริตสกี กล่าวว่าสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติมีส่วนทำให้ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเร็วกว่าปกตินับหลายสัปดาห์

จักจั่นที่ผุดขึ้นจากดินเร็วเกินไปกว่าเวลาอันควรจะถูกล่าโดยสัตว์อื่น เพราะตามปกติ แมลงพันธุ์นี้อยู่รอดมาได้เพราะมีจำนวนมากมายมหาศาลเกินกว่าที่ผู้ล่าจะจับกินได้หมด

ความที่จักจั่นออกมาจากดินทีละมากๆ อาจสร้างปัญหาเรื่องเสียงต่อคนเนื่องจากจักจั่นสามารถสร้างเสียงความดังระดับ 105 เดซิเบลจากเพลงหาคู่ของพวกมัน

และเวลาพวกมันตายลงทีละมากๆ “สุสาน” จักจั่นก็จะส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์

cicada
cicada

แต่หากพิจารณาถึงภัยต่อผลผลิตทางการเกษตร จักจั่นไม่เป็นอันตรายร้ายแรงระดับเดียวกับฝูงตั๊กแตน เพราะจักจั่นสร้างความเสียหายให้เเก่ต้นไม้ที่ยังไม่โตมากเท่านั้น

นอกจากนี้จักจั่นก็ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคร้ายเช่นมาลาเรีย และไข้เลือดออกที่มีพาหะคือยุง

สำหรับบางคน จักจั่นยังถูกจัดว่าเป็นอาหารที่รับประทานได้ จนมหาวิทยาลัยแมรีเเลนด์ทำหนังสือทำอาหารที่ใช้จักจั่นเป็นส่วนประกอบอีกด้วย

ท้ายสุดจอห์น คูลีย์ แห่งมหาวิทยาลัยคอนเนคติคัต กล่าวว่าที่ใดมีจักจั่น ที่นั่นยังบ่งบอกถึงสภาพป่าแวดล้อมอันสมบูรณ์อีกด้วย

XS
SM
MD
LG