ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'ไบเดน-สี' เตรียมพบหารือออนไลน์ระหว่างประชุมสุดยอดเอเปคสัปดาห์นี้


FILE - This combination image shows U.S. President Joe Biden in Washington, Nov. 6, 2021, and China's President Xi Jinping in Brasília, Brazil, Nov. 13, 2019.
FILE - This combination image shows U.S. President Joe Biden in Washington, Nov. 6, 2021, and China's President Xi Jinping in Brasília, Brazil, Nov. 13, 2019.

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน และประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง จะร่วมประชุมออนไลน์ทวิภาคีในสัปดาห์นี้ ขณะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) ที่นิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพ

การประชุมสุดยอดเอเปคในปีนี้จะเริ่มขึ้นในวันเสาร์ผ่านระบบวิดีโอออนไลน์เป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางที่ยังคงมีอยู่

ผู้นำประเทศสมาชิกเอเปค 21 ประเทศจะหารือในประเด็นสำคัญเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ตลอดจนหาทางเพิ่มความร่วมมือเพื่อผ่อนปรนกำแพงการค้าระหว่างกัน การแก้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานติดขัด การแบ่งปันและการผลิตวัคซีนโควิด-19 การยกเลิกนโยบายกีดกันทางการค้าสำหรับยาต่าง ๆ และการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

ทั้งนี้ ประชากรรวมของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคนั้นมีสัดส่วนราว 38% ของประชากรโลก ขณะที่จีดีพีรวมของสมาชิกนั้นสูงถึงกว่า 60% ของจีดีพีโลก

ในการประชุมเอเปคตลอดสัปดาห์นี้ หลายฝ่ายคาดว่าน่าจะมีความตึงเครียดในระหว่างการหารือของตัวแทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิก โดยเฉพาะกรณีที่ไต้หวัน ยื่นเรื่องขอเข้าเป็นสมาชิกข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ CPTPP ซึ่งรัฐบาลจีนคัดค้านอย่างเต็มที่ และกรณีที่สหรัฐฯ จะขอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในปี ค.ศ. 2023 ซึ่งยังมีปัญหาอยู่ที่รัสเซียยังไม่ออกมาสนับสนุนประเด็นนี้อย่างเป็นทางการ

FILE - New Zealand Prime Minister Jacinda Ardern, second right, chairs a virtual APEC leaders meeting from Wellington, New Zealand, July 16, 2021.
FILE - New Zealand Prime Minister Jacinda Ardern, second right, chairs a virtual APEC leaders meeting from Wellington, New Zealand, July 16, 2021.

จับตาการหารือของผู้นำจีนและสหรัฐฯ

นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ได้พยายามปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ จากนโยบาย "อเมริกามาก่อน" ในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มามุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้งในด้านการค้า และการพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับจีน ไบเดนยังคงใช้มาตรการควบคุมจำกัดทางการค้า การลงทุน และเทคโนโลยี เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ควบคู่ไปกับการเผชิญหน้ากับการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในเอเชียแปซิฟิก

ตัวอย่างหนึ่งคือการจัดทำสนธิสัญญาความร่วมมือทางทหารกับออสเตรเลียและอังกฤษ หรือ AUKUS ซึ่งรวมถึงข้อตกลงสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ให้กับออสเตรเลียเพื่อต้านทานการเพิ่มกำลังทางทะเลของจีนในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย

FILE - Monitors show leaders attending the first virtual Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) leaders' summit, hosted by Malaysia, in Kuala Lumpur, Malaysia, Nov. 20, 2020.
FILE - Monitors show leaders attending the first virtual Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) leaders' summit, hosted by Malaysia, in Kuala Lumpur, Malaysia, Nov. 20, 2020.

นักวิเคราะห์เชื่อว่า ความขัดแย้งกันของสหรัฐฯ กับจีน ยังแสดงให้เห็นในรูปแบบของการเรียกชื่อภูมิภาคนี้ เพราะในขณะที่จีนใช้คำเรียกว่า "เอเชีย-แปซิฟิก" สหรัฐฯ กลับเปลี่ยนไปเรียกว่า "อินโด-แปซิฟิก" ซึ่งหมายรวมถึงพันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ คือ อินเดีย เข้าไปในภูมิภาคนี้ด้วย

นอกจากประเด็นด้านภูมิศาสตร์การเมืองโลกแล้ว สิ่งที่น่าจับตาในการหารือทวิภาคีของผู้นำสหรัฐฯ กับจีนในครั้งนี้ คือความพยายามรับมือการระบาดของโควิด-19 การขยายโครงการวัคซีนในประเทศต่าง ๆ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกที่ยังได้รับผลกระทบจากการะบาดใหญ่ในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมา

XS
SM
MD
LG