ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ออสเตรเลียสร้างรั้วกั้นเเมวป่าที่ใหญ่ที่สุด ปกป้องสัตว์ท้องถิ่นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์


A native Australian Long-nosed Bandicoot is held by its keeper as it is moved after a medical check-up at Sydney's Taronga Zoo, March 27, 2001. This orphaned baby bandicoot was saved from an attack by a domestic pet, which have reduced the number of these
A native Australian Long-nosed Bandicoot is held by its keeper as it is moved after a medical check-up at Sydney's Taronga Zoo, March 27, 2001. This orphaned baby bandicoot was saved from an attack by a domestic pet, which have reduced the number of these

พื้นที่ป่าในเขตรั้วที่ยาว 44 กิโลเมตรนี้ เป็นพื้นที่ป่าที่ปลอดจากเเมวป่าที่ใหญ่ที่สุดของเกาะออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่ของสัตว์ท้องถิ่นของออสเตรเลียที่ถูกคุกคามโดยแมวป่า ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอลิซ สปริงส์ (Alice Springs)

รั้วนี้ไม่ได้เป็นเพียงรั้วกันแมวป่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นโครงการกำจัดแมวป่าที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย

โครงการกำจัดแมวป่านี้จะใช้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าชาวเผ่าพื้นเมืองอะบอริจินในการจับแมวป่าออกจากพื้นที่ภายในรั้วออกให้หมดภายในปลายปีนี้ ก่อนที่จะปล่อยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีถุงหน้าท้องซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เข้าไปอาศัยในพื้นที่ ซึ่งรวมทั้งตัววัลลาบี้กระต่ายสีน้ำตาลแดง (rufous hare-wallaby) หนูบิลบี้ (bibly) หนูพันธุ์พื้นเมืองออสเตรเลีย และหนูพุกขนสีทอง (golden bandicoot)

โจเซฟ โชฟิลด์ แห่งหน่วยงานอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งออสเตรเลีย
(Australian Wildlife Conservancy) กล่าวว่า เขตพื้นที่ป่าภายในรั้วกั้นเเมวป่านี้จะให้โอกาสเเก่สัตว์ป่าพื้นเมืองของออสเตรเลียในการอยู่รอดอีกครั้งหนึ่ง

เขากล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการปล่อยสัตว์ป่าพื้นเมืองที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เข้าไปอยู่ในป่าอีกครั้ง โดยมุ่งกำจัดสัตว์ที่กินสัตว์เหล่านี้เป็นอาหาร เช่น แมวป่าเเละสุนัขจิ้งจอก ทางหน่วยงานจะร่วมมือกับชุมชนชาวพื้นเมืองในพื้นที่เพื่อกำจัดแมวป่าเเละหมาจิ้งจอกให้หมดไป ก่อนที่จะปล่อยสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์นี้

แมวป่าเเละสุนัขจิ้งจอก เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญหลายอย่างที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมท้องถิ่นของออสเตรเลียมีอัตราเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดในโลก

มีการประมาณว่า แมวป่ากินนกวันละหนึ่งล้านตัวทั่วออสเตรเลีย เเละเป็นสาเหตุให้นกพื้นเมืองสูญพันธุ์ไปแล้ว 20 สายพันธุ์

ก่อนหน้านี้ มีการสร้างรั้วหลายแห่งเพื่อป้องกันกระต่ายเเละหมาป่าในหลายๆ ส่วนของประเทศ

ออสเตรเลียมีประวัติเลวร้ายในเรื่องการนำเข้าสัตว์ พืช เเละปลาจากประเทศอื่น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ระบบนิเวศวิทยาท้องถิ่นอย่างมาก

ในปี ค.ศ.1935 มีการนำเข้าคางคกยักษ์ 100 กว่าตัวจากรัฐฮาวาย เพื่อใช้กำจัดเต่าทองอ้อยในไร่อ้อยของออสเตรเลีย เเละในปัจจุบัน ประมาณว่ามีประชากรคางคกยักษ์จากฮาวายในออสเตรเลียราว 200 ล้านตัว และพิษร้ายแรงของคางคกยักษ์ชนิดนี้ได้ทำให้สัตว์ป่าท้องถิ่นของออสเตรเลียตายไปจำนวนมหาศาล

นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังมีประชากรอูฐป่า หมูป่า กระต่ายป่า แพะป่า เเละควายน้ำเป็นจำนวนมากอีกด้วย


(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG