ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คนเอเชียตกเป็นเป้าความเกลียดชังเกือบ 4,000 ครั้งในสหรัฐฯช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา


 Dawn Cheung and Victoria Do clap and cheer while listening to speakers during a protest against anti-Asian hate crimes at Hing Hay Park in the Chinatown-International District of Seattle, Washington, March 13, 2021.
Dawn Cheung and Victoria Do clap and cheer while listening to speakers during a protest against anti-Asian hate crimes at Hing Hay Park in the Chinatown-International District of Seattle, Washington, March 13, 2021.
Hate Crimes Asian In America
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:12 0:00


จากรายงานล่าสุดของ STOP AAPI Hate หรือ องค์กรยุติความเกลียดชังต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียในสหรัฐฯ ตกเป็นเป้าของการถูกคุกคามหรือทำร้ายเนื่องจากความเกลียดชังด้านเชื้อชาติหรือสีผิว มากกว่า 3,795 ครั้ง ภายในช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งปี

องค์กรดังกล่าวได้บันทึกเหตุคุกคามคนเอเชียในสหรัฐฯ ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลสหรัฐฯเริ่มประกาศว่าโรคโควิด-19 แพร่ระบาดในอเมริกา จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้

ส่วนในปีนี้ แม้เวลายังผ่านไปแค่สามเดือนเศษ เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวก็เกิดขึ้นกว่า 500 ครั้ง ซึ่งหนึ่งในผู้เคราะร้าย คือ นายวิชา รัตนภักดี ชายเชื้อสายไทยวัย 84 ปีที่ถูกวัยรุ่นชายทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตขณะเดินออกกำลังกายที่สวนสาธารณะใกล้บ้านในนครซานฟรานซิสโก ซึ่งผู้ต้องหาวัยรุ่นคนดังกล่าวได้ถูกควบคุมตัวและถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม

แม้การคุกคามชาวเอเชียจะเกิดขึ้นทั่วอเมริกา รัฐที่เกิดเหตุมากที่สุดถึง 45 เปอร์เซ็นต์​ของกรณีทั้งหมด คือ รัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งรัฐนี้มีประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียอาศัยอยู่มากที่สุดในสหรัฐฯ และ ที่รองมา คือ รัฐนิวยอร์ก ซึ่งมีรายงานการคุกคามถึง 14 เปอร์เซ็นต์

รายงานขององค์กร STOP AAPI Hate ระบุว่า การคุกคามด้านเชื้อชาตินั้นแบ่งออกเป็นสามลักษณะใหญ่ๆ ได้ คือ การคุกคามด้วยวาจา ซึ่งได้รับการแจ้งเหตุมากที่สุดถึง 68.1 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การแสดงความรังเกียจ เกิดขึ้นประมาณ 20.5 เปอร์เซ็นต์ และ ท้ายสุด คือ การทำร้ายร่างกาย ซึ่งคนเอเชียตกเป็นเหยื่อถึง 11.1 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ผู้ที่แจ้งเหตุถูกคุกคามยังเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า โดยคิดเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ถึง 42.2 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยคนเกาหลี 14.8 เปอร์เซ็นต์ ชาวเวียดนาม 8.5 เปอร์เซ็นต์ และ ชาวฟิลิปปินส์ 7.9 เปอร์เซ็นต์

An African-American holding a portrait picture of Vicha Ratanapakdee during the Asian American event to raise awareness about the increase in hate crimes against Asians in the US near Chinatown Los Angeles, CA.
An African-American holding a portrait picture of Vicha Ratanapakdee during the Asian American event to raise awareness about the increase in hate crimes against Asians in the US near Chinatown Los Angeles, CA.

องค์กรข้างต้นได้ระบุในรายงานถึงยอดของคนเอเชียที่ถูกคุกคามในสหรัฐฯ ว่า จำนวนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงน่าจะสูงกว่าตัวเลขที่มีคนมาแจ้งและขอความช่วยเหลือผ่านทางศูนย์มาก อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของการคุกคามที่สูงเกือบถึง 3,800 ครั้งนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียเสี่ยงต่อการถูกเลือกปฏิบัติมาก

กระแสต่อต้านคนเชื้อสายเอเชียในอเมริกา

คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียได้เริ่มแจ้งความถึงการถูกคุกคามตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2020 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวสหรัฐฯอยู่ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์

เขามักใช้คำเรียกโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ว่า "ไวรัสจีน" หรือ "กังฟลู" (kung flu) ซึ่งผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร STOP AAPI Hate นาง ซินเธีย ฉ่อย กล่าวว่าถ้อยคำดังกล่าวเป็นการเหยียดเชื้อชาติ

สำนักข่าว วีโอเอ ได้รายงานว่ากระแสต่อต้านคนเชื้อสายเอเชียในสหรัฐฯยังทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยยอดการคุกคามคนเอเชียได้พุ่งสูงกว่า 150 เปอร์เซ็นต์ในเมืองใหญ่ตามรัฐต่างๆ ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

ส่วนทางด้านการรับมือของปัญหาการคุกคาม ประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ลงนามในเอกสารของฝ่ายบริหาร

ให้หน่วยงานรัฐร่วมต่อต้านและป้องกันอาชญากรรมจากความเกลียดชังที่เกิดขึ้นในอเมริกาเมื่อปลายเดือนมกราคม และในเดือนที่แล้ว กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯก็ได้มีการจัดอบรมด้านการสืบสวนและการลงโทษผู้กระทำผิดให้แก่เจ้าหน้าที่กฏหมายและตำรวจหลายร้อยคน

XS
SM
MD
LG