ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'โรคขาดสารอาหาร - โรคอ้วน' ความท้าทายด้านโภชนาการของประเทศแถบเอเชียอาคเนย์


Cambodian villagers for countryside line up as wait for a medical check-up outside the children hospital of Kuntha Bopha, in Phnom Penh, Cambodia, Wednesday, July 11, 2012. A deadly form of a common childhood illness has been linked to many of the mysteri
Cambodian villagers for countryside line up as wait for a medical check-up outside the children hospital of Kuntha Bopha, in Phnom Penh, Cambodia, Wednesday, July 11, 2012. A deadly form of a common childhood illness has been linked to many of the mysteri

รายงานของ WHO และ UNICEF เรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศในแถบนี้ เพื่อต่อสู้กับปัญหาทุพโภชนาการ

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:53 0:00
Direct link

รายงานฉบับใหม่ซึ่งจัดทำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และกองทุนเด็กสหประชาชาติ (UNICEF) เตือนว่าเด็กๆ ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญวิกฤติการณ์ด้านโภชนาการ คือมีทั้งเด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหาร และเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นอย่างน่ากังวล

รายงานระบุว่าประเทศในแถบนี้กำลังเผชิญต้นทุนด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะประเทศรายได้ปานกลาง เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์

ในอินโดนีเซีย พบว่ามีเด็กขาดสารอาหารและเด็กที่เป็นโรคอ้วนในสัดส่วนพอๆกัน คือราว 12% ทำให้มีต้นทุนด้านสุขภาพที่เกิดจากโรคเหล่านั้น ราว 248,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี

ในประเทศไทย ปัญหาโภชนาการในเด็กกำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีเด็กขาดสารอาหารราว 7% และเด็กที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานราว 11%

ส่วนประเทศที่มีปัญหาเด็กขาดสารอาหารมากที่สุด คือ ลาว คือเป็นสัดส่วนประมาณ 44% รองลงมาคือ กัมพูชา และพม่า

สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน รายงานระบุว่าสาเหตุหลักมาจากอาหารประเภท Junk Food รวมถึงอาหารแปรรูป อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง คุณค่าทางโภชนาการต่ำ ตลอดจนการขาดแคลนกิจกรรมออกกำลังกาย

แนวโน้มนี้เกิดขึ้นในขณะที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ความแตกต่างทางรายได้ระหว่างคนจนกับคนรวยก็เพิ่มขึ้นด้วย

นอกจากนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจยังมีผลกระทบให้ประชาการในเขตชนบทสามารถเข้าถึงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือ Junk Food ได้ง่ายขึ้น

รายงานชิ้นนี้แนะนำให้องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ เพิ่มการกำกับดูแลอาหารสำหรับเด็กเล็กและเด็กทารกมากขึ้น รวมถึงการจำกัดอาหารน้ำตาลสูงในเขตโรงเรียน จัดให้มีการรักษาอย่างเหมาะสมสำหรับเด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหาร เพิ่มความหลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรุงอาหารอย่างสะอาด ตลอดจนการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวม

(ผู้สื่อข่าว Ron Corben รายงานจากกรุงเทพฯ / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG