ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวเลบานอนโทษชนชั้นนำทางการเมือง ต้นเหตุการระเบิดใหญ่ในกรุงเบรุต


A woman yells at Lebanese soldiers during scuffles with the soldiers who are blocking a road as French President Emmanuel Macron visits the Gemmayzeh neighborhood, which suffered extensive damage from the Tuesday explosion at the seaport, in Beirut.
A woman yells at Lebanese soldiers during scuffles with the soldiers who are blocking a road as French President Emmanuel Macron visits the Gemmayzeh neighborhood, which suffered extensive damage from the Tuesday explosion at the seaport, in Beirut.

ผู้ชุมนุมในกรุงเบรุตปะทะกับตำรวจในคืนวันพฤหัสบดี ตามเวลาท้องถิ่น ในการประท้วงหลังเกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ในนครหลวงของประเทศเลบานอน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 130 คน

ตำรวจปราบจลาจลใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ประท้วงที่ชุมนุมกันอยู่ใกล้กับทางเข้าของรัฐสภา หลังจากที่ผู้ชุนชมนุมบางส่วนจุดไฟเผาข้าวของ และขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจ

ชาวเลบานอนหลายคนโทษชนชั้นนำทางการเมือง การคอรัปชันและการบริหารจัดการที่ผิดพลาด ว่าเป็นต้นเหตุของการระเบิดใหญ่ครั้งนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ

ชาวเบรุตยังได้แสดงความโกรธแค้นต่อรัฐบาลของตน ในช่วงที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาคร็อง เดินทางมาเยือนกรุงเบรุต มาคร็อง กล่าวว่าจะระดมทุนช่วยเหลือเลบานอน แต่ในขณะเดียวกันก็บอกว่า เลบานอนต้องมีการเมืองใหม่ เพราะระบบการเมืองเก่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนในประเทศแล้ว มาคร็องยังกล่าวว่าเหตุระเบิดที่ท่าเรือกรุงเบรุตนี้เป็นจุดเริ่มต้นของฉากใหม่ของการเมือง

ในขณะที่มาคร็องเดินสำรวจซากปรักหักพังตามท้องถนน ด้วยฤทธิ์ของแรงระเบิดอยู่นั้นเอง ก็มีชาวเมืองเบรุตตะโกนว่า “ปฏิวัติ!” และ “รัฐบาลออกไป!”

ทางการเชื่อว่ามีการเก็บสารแอมโมเนียมไนเตรทไว้ในโกดังเก็บของหลายแห่งในบริเวณท่าเรือในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 137 คน ทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 5,000 คนและทำให้มีผู้ไร้บ้านอยู่ถึง 300,000 คน

ทั้งนี้ คาดว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้นอีกหลังเจ้าหน้าที่เข้าค้นหาตามซากปรักหักพัง และมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นคาดว่าจะสูงถึง 15,000 ล้านดอลล่าร์

ประธานาธิบดีของเลบานอน มิเชล อาอูน กล่าวว่าผู้ที่มีส่วนในการทำให้เกิดเหตุระเบิดครั้งนี้จะถูกลงโทษอย่างถึงที่สุด

บาดรี ดาเฮอร์ (Badri Daher) หัวหน้าแผนกศุลกากร ซึ่งกำลังถูกเพ่งเล็งในการสืบสวนหาสาเหตุของการระเบิด ได้พยายามโยนความผิด โดยบอกว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ส่งจดหมายไปหาฝ่ายตุลาการถึงหกฉบับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อขอคำแนะนำในการกำจัดแอมโเมเนียมไนเตรท เนื่องจากเป็นสารเคมีที่อันตราย

ดาเฮอร์ กล่าวว่าเขาไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าการแจ้งทางการ เขายังบอกด้วยว่าเป็นหน้าที่ของการท่าเรือที่ต้องจัดการวัตถุระเบิด ในขณะที่หน้าที่ของเขานั้นคือการป้องกันไม่ให้มีการลักลอบสินค้าและเก็บภาษีเท่านั้น

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ได้เรียกร้องให้มีหน่วยงานอิสระสืบสวนสาเหตุการระเบิด

หลายประเทศได้ยื่นความช่วยเหลือให้กับเลบานอนในรูปแบบต่าง ๆ

รัสเซียส่งโรงพยาบาลเคลื่อนที่และบุคลากรการแพทย์ 50 คน เช่นเดียวกับกาตาร์และอิรักที่ให้การสนับสนุนด้านโรงพยาบาลสนาม บุคลากร อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์

ตูนิเซียเสนอรับผู้ได้รับบาดเจ็บมารักษาในประเทศ ส่วนเยอรมนีส่งทีมกู้ภัยและสุนัขค้นหาไปช่วย

ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และฮังการี ได้รับปากว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงิน ในขณะที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเบรุตกล่าวในวันศุกร์ว่าจะให้ความช่วยเหลือมูลค่า 17 ล้านดอลลาร์ ในรูปแบบอาหาร อุปกรณ์การแพทย์ และความช่วยเหลือทางการเงินอื่น ๆ

XS
SM
MD
LG