บริษัท Hampton Creek ที่ตั้งอยู่ในซานฟรานซิสโก ใช้หุ่นยนต์ในการระบุชนิดของพืชจากทั่วโลกที่สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นอาหารที่ปกติได้จากสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น มายองเนส
Josh Tetrick ผู้ก่อตั้งบริษัท Hampton Creek กล่าวว่า ทีมงานศึกษาดูลักษณะทางโมเลกุลที่เเตกต่าง และในที่สุด พวกเขาจะสามารถระบุความสัมพันธ์ในระดับโมเลกุล ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติในการช่วยให้ขนมเค้กขึ้นฟู หรือทำให้มายองเนสมีรสดี หรือช่วยยึดขนมคุกกี้ให้เป็นชิ้นเดียวหรือช่วยผลิตเนยมีความนุ่ม
Jim Flatt แห่งบริษัท Hampton Creek กล่าวว่า ความคืบหน้าทั้งด้านวิธีการตรวจหาและวิทยาศาสตร์ด้านฐานข้อมูล ช่วยให้การผลิตอาหารโปรตีนที่ได้จากพืชนี้เป็นไปได้
ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Hampton Creek มีวางขายทั่วไปตามร้านขายของชำในสหรัฐฯ ในเม็กซิโก และในฮ่องกง
ก้อนเนื้อเเฮมเบอร์เกอร์ที่หน้าตาเหมือนทำจากเนื้อวัว ผลิตขึ้นในห้องทดลองในลอสเองเจลลีสของบริษัท Beyong Meat โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของบริษัท สร้างสรรค์เนื้อเเฮมเบอร์เกอร์จากโปรตีนที่ได้จากถั่วลันเตาและถั่วเหลือง
Ethan Brown ผู้ก่อตั้งบริษัท Beyong Meat กล่าวว่า ทีมงานเเยกเอาโปรตีนจากพืชผ่านความร้อน ความเย็นและเเรงดัน เเล้วนำโปรตีนพืชที่ได้มาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้ดูเหมือนผลิตภัณฑ์จากสัตว์
หมายความว่าพืชอาจจะกลายเป็นกุญเเจสำคัญในการเเก้ปัญหาอาหารโลกในอนาคตได้
Ethan Brown ผู้ก่อตั้งบริษัท Beyong Meat กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย แอฟริกา อินเดีย เราได้เห็นเเนวโน้มการบริโภคโปรตีนจากสัตว์เพิ่มขึ้นและเขาคิดว่าการรับประทานเนื้อสัตว์เพิ่่มขึ้นไม่เป็นผลดีต่อโลก
Josh Tetrick ผู้ก่อตั้งบริษัท Hampton Creek กล่าวว่า ความมั่นคงทางอาหารกลายเป็นประเด็นสำคัญมากขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อนเเละปัญหาอื่นๆ เขาคิดว่าหากคนเรามีเครื่องมือในการช่วยผลิตอาหารเลี้ยงคน ก็น่าจะช่วยลดปัญหาความมั่นคงทางอาหารทั่วโลกลงได้
เเละเนื่องมาจากเป้าหมายในระดับทั่วโลกที่ใหญ่กว่าเดิม บรรดาคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้ชี้ว่า เเหล่งโปรตีนทางเลือกไม่ใช่ความนิยมแบบชั่วคราว เเต่จะกลายเป็นความนิยมที่จะคงอยู่
(รายงานโดย Elizabeth Lee / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)