ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แคลิฟอร์เนีย-โคโลราโด สั่งห้ามหน่วยงานรัฐเรียก ‘ผู้อพยพ’ ว่า ‘ต่างด้าว’


FILE - In this June 21, 2018, photo, Ever Castillo, left, and his family, immigrants from Honduras, are escorted back across the border by US Customs and Border Patrol agents in Hildalgo, Texas.
FILE - In this June 21, 2018, photo, Ever Castillo, left, and his family, immigrants from Honduras, are escorted back across the border by US Customs and Border Patrol agents in Hildalgo, Texas.
Alien Immigrant Wording Change
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:46 0:00
Direct link

รัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐโคโลราโดได้ประกาศการแก้กฎหมายใหม่ซึ่งส่งผลให้หน่วยงานรัฐต้องยุติการใช้คำว่า 'Alien' หรือ ‘คนต่างด้าว’ เพื่ออธิบายถึงผู้ที่อพยพมาอยู่ในสหรัฐฯ อย่างไม่ถูกกฎหมาย

การปรับแก้กฎหมายของทั้งสองรัฐเกิดขึ้นหลังจากผู้ที่อพยพมาอยู่ในสหรัฐฯ และองค์กรรณรงค์เพื่อสิทธิผู้อพยพ ได้ออกมาเรียกร้องว่า คำว่า ‘คนต่างด้าว’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับคำว่า ผิดกฎหมาย’ นั้นลดทอนความเป็นมนุษย์และส่งกระทบด้านลบต่อการออกนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาผู้อพยพบริเวณชายแดนสหรัฐฯ และเม็กซิโกมีให้พบเห็นมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รายงานของ National Conference of State Legislatures ระบุว่า ขณะนี้ รัฐอื่นๆ อีกอย่างน้อย 7 รัฐกำลังพิจารณาการปรับแก้กฎหมายเพื่อระงับการใช้คำว่า ‘คนต่างด้าว’ และ ‘บุคคลผิดกฎหมาย’ เช่นกัน

นักการเมืองพรรคเดโมแครตของรัฐแคลิฟอร์เนีย ลูซ ริวาส ซึ่งเป็นคนมีส่วนในการแก้กฎหมายครั้งนี้ อธิบายกับสำนักข่าวเอพีว่า คำใหม่ที่ควรจะนำมาใช้อธิบายกลุ่มคนประเภทข้างต้นควรเป็นคำว่า ‘ผู้ไม่ใช่พลเมืองอเมริกัน’ หรือ ‘ผู้อพยพ’ แทน

เธอเล่าย้อนอดีตให้ฟังเมื่อครั้งเธอยังเด็กว่า คำว่า ‘คนต่างด้าว’ ซึ่งปรากฎอยู่บัตรประจำตัวของแม่เธอ ทำให้เธอรู้สึกว่าครอบครัวตนเองไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอเมริกา แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วแม่ของเธอกำลังจะได้รับการโอนสัญชาติมาเป็นพลเมืองอเมริกันก็ตาม

นักการเมืองพรรคเดโมแครตผู้นี้พูดต่อว่า “ฉันไม่ต้องการให้เด็กของผู้อพยพคนอื่นๆเหมือนกับตัวฉันต้องเผชิญความรู้สึกว่าไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอเมริกาเวลาที่พวกคำถูกตีตราว่าเป็น ‘คนต่างด้าว’

ส่วนรัฐโคโลราโดก็มีการปรับแก้กฎหมายเช่นกัน โดยสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐโคโลราโด จูลีย์ กอนซาเลส ซึ่งเป็นผู้ร่วมแก้กฎหมายของรัฐดังกล่าว ได้บอกต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติในทำนองเดียวกันว่า คำว่า ‘คนต่างด้าวผิดกฎหมาย’ เป็นการดูถูกและดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเธอให้เหตุผลว่า ในโลกนี้ ไม่ควรมีใครถูกเรียกว่า 'คนผิดกฎหมาย' เพราะลักษณะการดำรงอยู่ของพวกเขา แต่จะเป็นคนผิดกฎหมายได้ก็เพราะการกระทำละเมิดกฏหมายต่างๆ มากกว่า

ประวัติการใช้คำว่า ‘คนต่างด้าว’ ในสหรัฐฯมีความเป็นมายาวนานนับย้อนไปตั้งแต่ในสมัยประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา จอร์จ วอชิงตัน ซึ่งขณะนั้นอเมริกาผ่านกฎหมาย the Alien and Sedition Acts ในปี 1798 ซึ่งอนุญาตให้มีการโอนสัญชาติ (naturalization law) และมีการใช้คำดังกล่าว

เมื่อเดือนเมษายน หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ รวมถึง หน่วยงานศุลกากรและป้องกันชายแดน (CBP) ได้ประกาศตามคำสั่งของทรอย มิลเลอร์ ผู้อำนวยการของ CBP โดยแนะนำให้พนักงานหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ‘คนต่างด้าว’ ในการสื่อสารอย่างเป็นทางการและในเอกสารสาธารณะ เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีและให้เกียรติต่อผู้ที่มาติดต่อกับหน่วยงานดังกล่าว โดยให้ใช้คำว่า ‘ผู้ไม่ใช่พลเมืองอเมริกัน’ หรือ ‘ผู้อพยพ’ แทน ส่วนคำว่า ‘คนต่างด้าวผิดกฎหมาย’ ให้ใช้คำว่า '‘ผู้ไม่ใช่พลเมืองอเมริกันที่ไม่มีเอกสาร’

อย่างไรก็ตาม บางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งข้างต้น เช่น หัวหน้าสูงสุดของ CBP รูนีย์ สก็อต ซึ่งให้เหตุผลว่าการทำเช่นนั้นเป็นการเล่นเกมส์การเมือง ส่วน นายเซจ โนแมน โฆษกสมาชิกวุฒิสภารัฐโคโลราโด สังกัดพรรครีพับลิกัน บอกกับสำนักข่าวเอพีว่า สภาล่างซึ่งพรรคเดโมแครตคุมเสียงข้างมากอยู่นั้นควรจะหันไปให้ความสนใจกับเรื่องอื่นๆที่มีผลกระทบต่อชีวิตของประชากรแทน เช่น การจัดการปัญหาเงินเฟ้อ การลดอาชญากรรม หรือ การส่งเสริมการศึกษา มากกว่า

  • ที่มา สำนักข่าววีโอเอและเอพี

XS
SM
MD
LG