ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์เทคโนโลยีอวกาศและศักยภาพทางทหารจีนท่ามกลางปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์


FILE - Visitors walk near a model of a space laboratory at an exhibition featuring the development of China's space exploration, on the country's Space Day at the China Science and Technology Museum in Beijing, April 24, 2021.
FILE - Visitors walk near a model of a space laboratory at an exhibition featuring the development of China's space exploration, on the country's Space Day at the China Science and Technology Museum in Beijing, April 24, 2021.

นักวิเคราะห์เชื่อว่า จีนได้พัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่อาจสามารถประสานงานผ่านศักยภาพทางอวกาศในการทำสงครามได้

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากองทัพของจีน ภายใต้ชื่อ People’s Liberation Army สามารถนำเครื่องมือทางทหารไปติดตั้งนอกโลก หรือใช้ดาวเทียมสอดเเนมหาข้อมูลที่เกิดขึ้นบนโลก

ริชาร์ด บิตซิงเกอร์ แห่งสถาบัน S. Rajaratnam School of International Studies ที่สิงคโปร์ กล่าวว่าในที่สุดเเล้วจีนอาจจะสามารถระบุว่ามีเรือดำนำ้ของฝ่ายศัตรูอยู่ในทะเลได้ผ่านเทคโนโลยีอวกาศ

เขากล่าวว่าเป็นสิ่งที่เห็นอย่างชัดเจนว่าอวกาศเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หนึ่งของกองทัพ และ “เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนที่กล่าวออกมาอย่างชัดเเจ้งในโครงการการปฏิรูปกองทัพ People’s Liberation Army” ของจีน

กองทัพอากาศจีนหรือ PLAAF (People’s Liberation Army Air Force) จะมีบทบาทในการช่วยเพิ่มศักยภาพทางอากาศ ดังที่จีนได้ออกรายงานเมื่อ 3 ปีก่อนเกี่ยวกับ “แผนกลาโหมแห่งชาติในยุคใหม่”

รายงานฉบับนี้ยังได้กล่าวถึงงานบูรณาการด้านกลาโหมของกองทัพอากาศและศักยภาพทางอวกาศ ที่ใช้ทั้งในการตั้งรับและจู่โจม

แอนดริว หยาง เลขาธิการใหญ่หน่วยงานวิจัยนโยบายของไต้หวันที่ชื่อ Chinese Council of Advanced Policy Studies กล่าวว่าอุปกรณ์ที่จีนติดตั้งนอกโลกอาจสามารถช่วยจีนปฏิบัติการโจมตีทางอากาศด้วยขีปนาวุธหลายชนิดด้วยกัน

In this Nov. 23, 2017, photo released by Xinhua News Agency, a Chinese military H-6K bomber is seen conducting training exercises, as the People's Liberation Army Air Force conducted a combat air patrol in the South China Sea.
In this Nov. 23, 2017, photo released by Xinhua News Agency, a Chinese military H-6K bomber is seen conducting training exercises, as the People's Liberation Army Air Force conducted a combat air patrol in the South China Sea.

สื่อต่างๆเช่น หนังสือพิมพ์ Financial Times และนิตยสาร Astronomy ได้รายงานถึงการทดสอบศักยภาพการโจมตีทางอากาศและทางอวกาศของจีนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ส่วนคอลลิน โกห์ ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งจากสถาบัน Institute of Defense and Strategic Studies ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ S. Rajaratnam School of International Studies กล่าวว่าจีนมีระบบดาวเทียมนำทางเพื่อการพาณิชย์ที่เรียกว่า BeiDou และทางการปักกิ่งพยายามป้องกันมิให้ระบบดังกล่าวถูกแทรกสัญญาณโดยฝ่ายตรงข้ามที่อาจท้าทายจีน

หากพิจารณาถึงความก้าวหน้าและเป้าหมายทางกลาโหมของจีน ในบริบทด้านภูมิรัฐศาสตร์ นักวิเคราะห์กล่าวว่าความสามารถทางการทหารด้านอวกาศเหล่านี้ น่าจะถูกนำมาใช้ ในประเด็นไต้หวัน ตลอดจนเรื่องข้อพิพาททางดินเเดนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก รวมถึงความท้าทายในน่านนำ้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกที่อยู่นอกเขตของจีนไปไม่ไกล

เกรกอรี โพลิง ผู้อำนวยการโครงการ Asia Maritime Transparency Initiative แห่งหน่วยงาน Center for Strategic and International Studies ที่กรุงวอชิงตันกล่าวว่า แนวคิดของจีนเรื่องน่านน้ำทางทะเลคือจีนเน้นการเเสดงศัยภาพทางทหารและกล้าถกเถียงฝ่ายตรงข้าม

เเนวทางดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งท้าทายประเทศในเอเชียที่มีข้อพิพาททางทะเลกับจีน ในเวลานี้ บริเวณทะเลจีนใต้ที่จีนเป็นคู่กรณีเรื่องอธิปไตย กับบรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและเวียดนาม จีนได้เข้าไปสร้างที่จอดเครื่องบินทหารและระบบเรดาร์บนเกาะเเก่งต่างๆ

และในภาพใหญ่ระหว่างมหาอำนาจด้วยกัน ศาสตราจารย์อเล็กซานเดอร์ วูวิงจากสถาบัน Daniel K. Inouye Asia-Pacific Center for Security Studies ที่รัฐฮาวายของสหรัฐฯกล่าวว่าการเเข่งขันด้านอำนาจทางนาวี ได้เกิดขึ้นเเล้วระหว่างจีนเเละสหรัฐฯ โดยที่จีนมีจำนวนเรือมากกว่าอเมริกา และอาจเรียกได้ว่ามีขนาดกองทัพเรือใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้เเล้วด้วย

ริชาร์ด บิตซิงเกอร์ แห่ง S. Rajaratnam School of International Studies กล่าวเสริมว่า สำหรับการเเข่งขันเทคโนโลยีอวกาศทางกลาโหม จีนก็กำลังพยายามเป็นหนึ่งในสองมหาอำนาจใหญ่ในเวทีนี้ด้วยเช่นกัน

XS
SM
MD
LG