ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์แนวคิด “ความเป็นหุ้นส่วนกัน” ของอาเซียน-จีน ท่ามกลางปัญหาทะเลจีนใต้


China's Premier Li Keqiang poses for a group photo with ASEAN leaders at the ASEAN-China Summit in Singapore November 14, 2018.
China's Premier Li Keqiang poses for a group photo with ASEAN leaders at the ASEAN-China Summit in Singapore November 14, 2018.

เมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่การประชุมสุดยอด ASEAN-China Summit จีนและอาเซียนเเสดงจุดยืนที่จะเดินหน้ากระชับความร่วมมือระหว่างกันอีกระดับหนึ่ง

นักวิเคราะห์กล่าวว่า แนวคิดเรื่องการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน ภายใต้ "การเป็นหุ้นส่วนกันเชิงยุทธศาสตร์แบบครอบคลุม" หรือ comprehensive strategic partnership นี้ อาจช่วยลดความขัดแย้งต่อข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ พร้อมทั้งคานอำนาจสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปในตัว

เป็นที่ทราบกันว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นสมรภูมิเชิงยุทธศาสตร์แห่งหนึ่งระหว่างจีนและสหรัฐฯ มาช้านาน

ผู้สันทัดกรณีมองว่าการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนจึงสำคัญมาก เพราะจะมีผลต่อการค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลืออาวุธยุทโธปกรณ์จากจีน

ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 5 ปี รัฐบาลกรุงวอชิงตันพยายามยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาเซียนด้วยการประกาศเตือนจีนถึงการล้ำน่านน้ำ และได้ประสานงานเรื่องอาวุธและฝึกกองกำลังของประเทศอาเซียนให้ป้องกันตนเองได้หลังจากที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์และเข้าถึงพื้นที่ทะเลจีนใต้

รัฐบาลจีนขีดเส้นจุดไข่ปลา ที่เรียกว่า “nine-dash line” โดยอ้างอิงเอกสารประวัติศาสตร์การแบ่งเช่นนี้นั้นทำให้จีนอ้างกรรมสิทธิ์ของพื้นที่ทะเลตีนใต้ได้ถึง 90% หรือประมาณ 3 ล้าน 5 แสนกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เป็นทั้งแหล่งประมงสำคัญ เส้นทางการเดินเรือสินค้า และเป็นแหล่งน้ำมันสำรองในมหาสมุทรด้วย

FILE - In this undated file photo released by China's Xinhua News Agency, two Chinese SU-30 fighter jets take off from an unspecified location to fly a patrol over the South China Sea.
FILE - In this undated file photo released by China's Xinhua News Agency, two Chinese SU-30 fighter jets take off from an unspecified location to fly a patrol over the South China Sea.

หลายปีผ่านมา ยังได้เกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับบางประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น จากการที่จีนถมทะเลเพื่อขยายพื้นที่เกาะเเก่งในทะเลจีนใต้

นักวิเคราะห์บางรายชี้ว่าแม้ประเทศในเขตทะเลจีนใต้จะยินดีกับการช่วยเหลือของสหรัฐฯ แต่โดยรวมแล้ว สหรัฐฯตามหลังจีนในเรื่องการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศรายได้ต่ำในภูมิภาคดังกล่าว

อาจารย์ อลัน ชอง แห่งมหาวิทยาลัย Rajaratnam School of International Studies ของสิงคโปร์บอกกับวีโอเอว่า สหรัฐฯควรจะกังวลกับสถานการณ์ในขณะนี้ เพราะการส่งยุทโธปกรณ์ล้ำสมัยไปช่วยกลุ่มอาเซียนไม่ได้ช่วยให้สหรัฐฯกลับมาแข่งขันจีนได้มากนัก

ผู้เชี่ยวชาญจาก Wuhan University ของจีน and Coastal Carolina University ของสหรัฐฯ ได้ระบุในวิจัยว่า ยุทธศาสตร์การสานสัมพันธ์ถือเป็นหัวใจของนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลจีน ซึ่งจีนก็ทำได้แล้วกับ 78 ประเทศทั่วโลกนับจนถึงปี 2019

หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบครอบคลุมถือเป็นการสานสัมพันธ์ในระดับที่เกือบเทียบเท่าการทำสนธิสัญญา ซึ่งชี้ถึงการร่วมมือระหว่างสองฝ่ายที่จะมีความจริงจังมากขึ้น โดยจีนกับอาเซียนล้วนมีมุมมองและให้ความสำคัญถึงเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกัน

ยกตัวอย่างเช่นกรณีของประเทศเวียดนามซึ่งมีความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ในทะเลจีนใต้กับจีนอย่างชัดเจน แต่ก็ยังต้องการนักท่องเที่ยวและนักลงทุนจีนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ

นอกจากนี้แล้ว ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน เช่น ลาว อินโดนิเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม ต่างได้รับเงินพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานจากจีน

ทั้งนี้ การเพิ่มการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้นหลังจากที่จีนแพ้คดีที่ศาลโลกเรื่องการอ้างข้อกฎหมายต่อกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทะเลจีนใต้

หวง เคว่ยโบ อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ด้านการทูตแห่ง National Chengchi University ในไต้หวันจึงคาดว่าการยกระดับความสัมพันธ์แบบ "หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบครอบคลุม” ที่ได้รับการประกาศในวัน 28 ตุลาคม ว่าอาเซียนมีความตั้งใจที่จะเดินหน้าเรื่องนี้กับจีนนั้นจะเป็นการให้ความสำคัญกับการร่วมมือกันเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด เป็นเรื่องหลัก

ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินเรือนานาชาติ เจย์ บาตองบากัล แห่ง University of the Philippines ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า แม้สหรัฐฯจะพยายามคานอำนาจีนด้วยการแบ่งปันข้อมูลทางทหารกับสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียภายใต้กรอบความตกลง AUKUS ในเดือนกันยายน แต่จีนได้มองว่าตนนั้นมีความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น หากพิจารณาถึงการยกระดับความสัมพันธ์กับอาเซียนที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้

XS
SM
MD
LG