ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นิตยสารไทม์ ยกย่อง “นักข่าวคาชอกกี” และคนวงการสื่อ ให้เป็น “บุคคลแห่งปี”


Candles, lit by activists, protesting the killing of Saudi journalist Jamal Khashoggi, are placed outside Saudi Arabia's consulate, in Istanbul, during a candlelight vigil, Oct. 25, 2018.
Candles, lit by activists, protesting the killing of Saudi journalist Jamal Khashoggi, are placed outside Saudi Arabia's consulate, in Istanbul, during a candlelight vigil, Oct. 25, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:35 0:00

นิตยสารไทม์ ยกย่องให้กลุ่มนักข่าวที่ทำงานเปิดเผยความจริง เป็น “บุคคลแห่งปี” โดยเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “The Guardians” ซึ่งหมายถึงนักข่าวทั่วโลก ทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศ ที่การทำงานของพวกเขาเปรียบเหมือนหน้าที่ผู้พิทักษ์รักษาข้อเท็จจริง

บรรณาธิการใหญ่ของ นิตยสารฉบับนี้ นายเอ็ดวาร์ด เฟลเซนทาล (Edward Felsenthal) เปิดเผยรายชื่อบุคคลแห่งปีในรายการ “Today” ของช่องโทรทัศน์ NBC ของสหรัฐฯ ในวันอังคาร

นายจามาล คาชอกกี คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ Washington Post เป็นตัวอย่างหนึ่งของ “The Guardians” เขาถูกสังหารเมื่อเดือนตุลาคม

นายคอชอกกี ผู้มีสัญชาติซาอุดิอาระเบีย ถูกสังหารที่สถานกงสุลซาอุฯ ในนครอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยกลุ่มคนที่มีความเชื่อมโยงกับเจ้าชายโมฮัมหมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุดิอาระเบีย ที่มักถูกวิจารณ์โดยนายคาชอกกี

การสังหารนายคาชอกกีนำมาซึ่งวิกฤตทางการทูตต่อซาอุดิอาระเบีย ท่ามกลางการกังขาว่า มกุฎราชกุมาร บิน ซัลมานอาจอยู่เบื้องหลังคำสั่งปลิดชีพคอลัมนิสต์ผู้นี้

นอกเหนือจาก จามาล คาชอกกี ผู้ที่รับการยกย่องให้เป็นบุคคลแห่งปีโดย ไทม์ ยังประกอบด้วย นักข่าวรอยเตอร์สองคน Wa Lone และ Kyaw Soe Oo ผู้ทำข่าวชาวโรฮิงจะในเมียนม่า และต่อมาถูกสั่งคุมขังมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี

Police escort detained Reuters journalists Kyaw Soe Oo and Wa Lone as they arrive before a court hearing in Yangon, Myanmar, Aug. 20, 2018.
Police escort detained Reuters journalists Kyaw Soe Oo and Wa Lone as they arrive before a court hearing in Yangon, Myanmar, Aug. 20, 2018.

“The Guardians” ยังรวมถึง มาเรีย เรสซา (Maria Ressa) นักข่าวจากฟิลิปปินส์ ที่ถูกจับกุมตัวในข้อหาเลี่ยงภาษี หลังเกาะติดรายงานการทำวิสามัญฆาตกรรมในการปราบปรามยาเสพติดของ ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต้

ตัวอย่างอื่นๆที่ถูกกล่าวถึงในการยกย่องการทำงานของ “The Guardians” เหล่านี้ ประกอบด้วยนักข่าวในบังคลาเทศ รัสเซีย บราซิลและฮังการี เป็นต้น

นิตยสารไทม์ อ้างข้อมูลของหน่วงงาน Committee to Protect Journalists ที่ระบุว่าเมื่อปีที่แล้ว มีนักข่าว 262 คน ที่ถูกจับกุมตัว และในปีนี้ หน่วยงานดังกล่าวเชื่อว่า ตัวเลขจะยังคงอยู่ในระดับสูง

นิตยสารไทม์กล่าวว่า “ในช่วงเวลานี้ ซึ่งควรเป็นเวลาแห่งการก้าวกระโดดของประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยกลับเดินถอยหลัง”

นอกจากนั้น คาร์ล วิค (Karl Vick) นักเขียนของไทม์ระบุว่า บทบาทผู้นำโลกของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่โจมตีสื่อสร้างตัวอย่างที่น่ากังวล

คาร์ล วิค เขียนว่า นักข่าวส่วนมากทราบดีถึงข้อจำกัดในงานข่าวที่บางครั้งเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้

และความพลาดพลั้งมีให้เห็นทุกวัน อย่างไรก็ตาม ความพยายามทำให้คนเข้าใจว่าข้อมูลที่รายงานภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ คือ ข่าวปลอม หรือ fake news สร้างความเชื่อที่ว่า ข้อผิดพลาดในงานข่าวเป็นการกระทำที่จงใจและทำเป็นขบวนการ เพราะต้องการหลอกลวงผู้รับข่าวสาร

ไทม์กล่าวว่า ที่มีการพูดถึงน้อยครั้งกว่า คือความจริงที่ว่า สื่อที่ดีจำนวนไม่น้อยรีบแก้ไขความผิดพลาดในการทำงาน อย่างเปิดเผยและนำความจริงมาเสนออย่างรวดเร็ว

จอย เมเยอร์ (Joy Mayer) ผู้อำนวยการหน่วยงาน Trusting News Project บอกกับไทม์ว่า คนส่วนใหญ่มักมีความคิดในแง่ลบต่อสื่อ เช่นว่าคิดว่าสื่อจ่ายเงินให้แหล่งข่าว หรือ ไม่สนและไม่รู้ว่า แหล่งข่าวเป็นใคร เมื่อรายงานข้อมูลจากผู้ที่ไม่ประสงค์จะออกนาม

เขากล่าวว่า คนรู้สึกแปลกใจ ว่าการทำงานของนักข่าว มีหลักจรรยาบรรณอ้างอิง และกว่าที่ภาพและตัวหนังสือจะปรากฏบนสื่อ ข้อมูลเหล่านั้นถูกกลั่นกรองหลายรอบโดยคนที่ยึดอาชีพนี้

XS
SM
MD
LG