เสียงถกเถียงเรื่องเทรนด์ชายแกร่ง! หลังทางการจีนสั่งดาราชายเลิกอ้อนแอ้น

FILE - A television shows a broadcast of a Chinese talk show program as it sits beneath a photo of Chinese President Xi Jinping in a home converted into a tourist homestay in Zhaxigang village in western China's Tibet Autonomous Region, June 4, 2021.

Your browser doesn’t support HTML5

China Ban Effeminate Males


เวลานี้เทรนด์ผู้ชายบึกบึนห้าวหาญกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศจีน หลังจากรัฐบาลกรุงปักกิ่งเพิ่มมาตรการควบคุมอุตสาหกรรมบันเทิงในประเทศด้วยการสั่งให้ดารานักร้องชายเลิกทำลักษณะท่าทางคล้ายผู้หญิง โดยอ้างว่าเป็นอิทธิพลจากทางตะวันตกที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นและลุกลามมาถึงจีน

บรรดาผู้ชายที่มีชื่อเสียงในประเทศจีนต่างกำลังปรับภาพลักษณ์ใหม่ในชั่วข้ามคืนให้ดูมีความห้าวหาญสมชายมากยิ่งขึ้น หลังจากหน่วยงานกำกับดูแลสื่อของรัฐบาลกรุงปักกิ่งต่างออกมาประกาศชัดเจนว่า ผู้ชายที่มีลักษณะอ้อนแอ้นคล้ายผู้หญิงหรือที่เรียกในภาษาจีนว่า “เหนียงเป่า” ไม่เหมาะที่จะเป็นแบบอย่างของคนรุ่นใหม่

มาตรการใหม่ของรัฐบาลจีนกำหนดให้บรรดาสื่อต่าง ๆ นำ “มาตรฐานด้านความงามที่ถูกต้อง” มาใช้ และเลิกสนับสนุนดารานักร้องชายที่ไม่ทำตามมาตรฐานดังกล่าว

หวง จื่อเทา อดีตสมาชิกวงบอยแบนด์ Exo ในเกาหลีใต้ คือผู้หนึ่งที่ปรับภาพลักษณ์ของตนเองด้วยการโพสต์ภาพถ่ายเปลือยท่อนบนที่เต็มไปด้วยมัดกล้ามลงสื่อสังคมออนไลน์ โดยไม่มีการแต่งหน้าและสวมต่างหูเหมือนที่เห็นเป็นประจำในสมัยก่อนอีกต่อไป

โจนาธาน ซัลลิแวน ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งโครงการจีนศึกษาของ University of Nottingham Asia Research Institute ระบุกับวีโอเอภาคภาษาจีนกลางว่า การเปลี่ยนแปลงล่าสุดในอุตสาหกรรมบันเทิงจีนถือเป็นเรื่อง “น่าเศร้า” เพราะแสดงให้เห็นว่าการเมืองกำลังเข้ามาแทกแซงต่อรสนิยมส่วนบุคคล ซึ่งที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ที่คนจีนรุ่นใหม่สามารถแสดงความเป็นตัวตนออกมาได้อย่างเสรีโดยปราศจากแรงกดดันทางการเมือง

ด้านคุณหม่า นักวิจารณ์ด้านวัฒนธรรมซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อเต็ม กล่าวกับวีโอเอว่า การสนับสนุนความบึกบึนสมชายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับชายจีนรุ่นใหม่ในกรณีที่ต้องเข้าร่วมศึกสงครามในอนาคต

แต่ศาสตราจารย์ซัลลิแวน ชี้ว่า สิ่งที่เรียกว่า “วิกฤติความเป็นชาย” ในประเทศจีนนั้นไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานหลายปีแล้วและเป็นตัวอย่างหนึ่งของ “การปรับแต่งกลไกทางสังคม” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายของรัฐบาลจีนในยุคสมัยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

นับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจเมื่อปี ค.ศ. 2012 ประธานาธิบดีสีได้เน้นย้ำว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องทำหน้าที่นำพาประชาชนในทุกด้าน ซึ่งการควบคุมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศคือเป้าหมายล่าสุดของนโยบายนี้

เมื่อเดือนที่แล้ว ศูนย์ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตของทางการจีน ตีพิมพ์บทความที่ชื่อว่า “เราต้องหยุดวัฒนธรรมเหนียงเป่า” พร้อมรูปดารานักร้องชายจำนวนมาก โดยคำว่า “เหนียงเป่า” มาจากละครดังของไต้หวันเมื่อปี ค.ศ. 2007 ซึ่งตัวละครชายในเรื่องนั้นมีลักษณะอ่อนแอและเจ้าอารมณ์คล้ายผู้หญิง

SEE ALSO: สถานทูตจีน ยืนยันจัดระเบียบแฟนด้อม ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตจำนวนมากต่างวิจารณ์บทความชิ้นนี้ว่า ตัดสินคนจากภายนอกและพยายามบังคับให้ประชาชนเห็นด้วยกับมาตรฐานความงามที่รัฐบาลกำหนดขึ้น

เมื่อวันที่ 2 กันยายน หน่วยงานกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์ของทางการจีนได้ประกาศกฎเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดให้สื่อต่าง ๆ เลิกเผยแพร่ภาพชายที่มีลักษณะอ้อนแอ้นหรือไม่เหมือนชายแท้ “เพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมดั้งเดิมอันดีงาม วัฒนธรรมแห่งการปฏิวัติและวัฒธรรมสังคมนิยมแบบก้าวหน้าของจีน

และเมื่อไม่กี่วันก่อน สื่อของทางการจีน Global Times ได้ตีพิมพ์บทความ "Japan's 'Niang Pao' Culture: A Big Chess Game by the U.S.?" ซึ่งพยายามรื้อฟื้นแนวคิดที่ว่า อเมริกาแผ่ขยายอิทธิพลความเป็นชายที่ไม่สมชายเข้าไปในอุตสาหกรรมบันเทิงของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อปกปิดความก้าวร้าวของชายชาวญี่ปุ่นที่พ่ายแพ้ในสงคราม ก่อนที่วัฒนธรรมเจ-ป๊อป ได้แพร่กระจายเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นในเอเชีย และกลายเป็น เค-ป๊อป กับ ซี-ป๊อป ในเวลาต่อมา

เทรนด์ดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อราว 25 ปีก่อน เมื่อดาราดังของญี่ปุ่น ทาคูยะ คิมูระ ปรากฎตัวในโฆษกลิปสติกชิ้นหนึ่งยี่ห้อ Kanebo ด้านท่าทางอ้อนแอ้นคล้ายสตรีและมีข้อความว่า "Attack me with super lips." ซึ่งได้รัยความนิยมอย่างมาก และทำให้ลิปสติกนั้นขายได้มากกว่า 3 ล้านแท่งในเวลสเพียงสองเดือน

หวัง ไห่หลิน ผู้บริหารสมาคมวรรณกรรมภาพยนตร์แห่งชาติของจีน ซึ่งเป็นนักวิจารณ์ผู้ชายที่มีลักษณะอ้อนแอ้น กล่าวว่า “หากดาราชายชื่อดังของจีนไม่มีลักษณะทางเพศสภาพคล้ายชายแท้ จะสร้างความเสี่ยงต่อมาตรฐานด้านความงามต่อจีน”

หวัง ยังได้ตำหนิบรรดาสมาชิกบอยแบนด์ต่าง ๆ ว่า “หากผู้ชายให้ความสนใจกับการแต่งหน้าและการแต่งกายมากเกินไป หมายความว่าชายเหล่านั้นกำลังพยายามเลี่ยงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะทำให้ประเทศเดินถอยหลัง ในทางตรงกันข้าม หากเรามีชายที่สมชายและเก่งกาจด้านการกีฬา นั่นหมายความว่าสังคมจะพัฒนาไปข้างหน้าได้”

อย่างไรก็ตาม คุณหม่า นักวิจารณ์ด้านวัฒนธรรม ให้ความเห็นว่า อุตสาหกรรมบันเทิงของจีนควรพูดคุยหารือกันเรื่องมาตรฐานด้านความงามของชายแท้ก่อนที่จะบังคับให้พวกเขาทำตามอย่างเข้มงวดเกินไป

“บางคนชอบความบึกบึน แต่บางคนชอบความอ่อนหวาน ดังนั้นเราควรทำให้มาตรฐานความงามที่แตกต่างกันสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนเพื่อหาจุดสมดุลที่สุด แต่เมื่อรัฐบาลเข้ามาแทรกแซง ก็ยากที่จะหาสมดุลนั้นได้” คุณหม่ากล่าว