ประชากรฉลามลดลง 71 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปีค.ศ. 1970

FILE - A scuba diver swims near a whale shark as it approaches a paddleboat off the beach of Tan-awan, Oslob, in the southern Philippines island of Cebu, March 1 2013. (REUTERS/David Loh/File Photo)

Your browser doesn’t support HTML5

Shark Populations Drop


นักวิทยาศาสตร์ทราบมานานหลายทศวรรษแล้วว่าปลาฉลามบางชนิดมีจำนวนลดลง แต่การศึกษาครั้งใหม่แสดงให้เห็นว่าประชากรฉลามทั่วโลกลดลงอย่างรุนแรงในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา

ข้อมูลจากการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Nature เมื่อไม่นานมานี้ระบุว่าจำนวนฉลามและปลากระเบนในมหาสมุทรทั่วโลกลดลงมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างปี ค.ศ. 1970 ถึง 2018

Stuart Sandin นักชีววิทยาทางทะเลแห่งสถาบัน Scripps Institution of Oceanography กล่าวว่าฉลามเป็นนักล่าที่เก่งกาจ เป็นนักว่ายน้ำเร็ว และมีประสาทสัมผัสที่พิเศษ พวกมันสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในมหาสมุทรได้จากระยะไกล ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นหรือการไหลของน้ำที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็ตาม

ความสามารถในการรับรู้ถึงสิ่งที่เปลี่ยนไปจากปกติได้อย่างรวดเร็วช่วยให้ฉลามสามารถหาอาหารในมหาสมุทรเปิดได้ แต่ก็ทำให้พวกมันตกอยู่ในความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการประมงระหว่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้น

Sandin กล่าวว่าเมื่อมีการตกปลาในมหาสมุทรเปิด ปลาฉลามก็มักจะติดเบ็ดก่อนเสมอไม่ว่าฉลามจะเป็นเป้าหมายหลักของชาวประมงหรือไม่ก็ตาม

ทั้งนี้ ฉลามและปลากระเบน 26 ชนิดจากทั้งหมด 31 ชนิดกำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ฉลาม 3 สายพันธุ์ซึ่งได้แก่ ฉลามครีบขาว ฉลามหัวค้อน และฉลามหัวค้อนขนาดใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด

Nathan Pacoureau นักชีววิทยาที่มหาวิทยาลัย Simon Fraser University ประเทศแคนาดาและเป็นหนึ่งในผู้เขียนรายงานการศึกษานี้กล่าวว่า ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งหายนะของประชากรฉลามทั่วโลกเลยทีเดียว

ในบางครั้งปลาฉลามถูกจับโดยเรือประมงโดยเจตนา แต่ก็มีบ่อยครั้งที่พวกมันถูกจับได้ขณะที่ชาวประมงกำลังจับปลาชนิดอื่นๆ อยู่เช่นปลาทูน่าและปลาปากแหลม หรือ swordfish

อย่างไรก็ดี ทั้งปลาฉลามและปลากระเบนเป็นปลาที่มีโครงกระดูกเป็นกระดูกอ่อน ซึ่งแตกต่างจากปลาชนิดอื่นๆ คือพวกมันไม่สามารถสืบพันธุ์ใหม่ได้บ่อยๆ และยังออกลูกเพียงครั้งละไม่กี่ตัว

Pacoureau กล่าวว่าฉลามมีรูปแบบการแพร่พันธุ์เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่าที่จะเหมือนปลาด้วยกัน ดังนั้นประชากรจะไม่สามารถเติมเต็มได้เร็วเท่ากับปลาชนิดอื่นๆ

จำนวนเรือประมงในมหาสมุทรเปิดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1950 และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและมลพิษทำให้ชีวิตของฉลามตกอยู่ในความเสี่ยง แต่แรงกดดันจากการทำประมงที่มีเพิ่มมากขึ้นเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับฉลามทุกๆ สายพันธุ์ในมหาสมุทร

Stuart Pimm นักนิเวศวิทยาที่มหาวิทยาลัย Duke University ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษานี้กล่าวว่าการพรากนักล่าตัวฉกาจอย่างฉลามออกจากมหาสมุทรนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกอย่างในทะเล และว่าฉลามก็เปรียบเสมือนสิงโต เสือ และหมี ของโลกมหาสมุทร และพวกมันยังช่วยรักษาระบบนิเวศในท้องทะเลให้มีความสมดุลอีกด้วย