วันที่ 12 มิถุนายนเป็นวันครบรอบ 10 ปีที่กำหนดให้เป็นวันต่อต้านการใช้และหาประโยชน์จากแรงงานเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ ILO ระบุว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่มีแรงงานเด็กมากที่สุดในโลก
มากกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานเด็กที่มีอยู่ทั่วโลกราวๆ 215 ล้านคน ถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ ซึ่งทั้งสองรูปแบบของการใช้แรงงานเด็กนี้ ILO เรียกว่าเป็นรูปแบบแรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุด
และแรงงานเด็กอีกราวๆ 5 ล้านคนถูกบังคับใช้แรงงาน ซึ่งรวมทั้งการขายประเวณีและการทำงานใช้หนี้
รูปแบบงานอื่นๆที่ถือว่าเป็นรูปแบบเลวร้ายที่สุดสำหรับแรงงานเด็ก ตามมาตรฐานที่ ILO กำหนดไว้ คือ การทำงานในเหมือง การเกษตร และการรับใช้ตามบ้าน
Patrick Quinn ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคระดับอาวุโสของโครงการระหว่างประเทศของ ILO ซึ่งมุ่งกำจัดการใช้แรงงานเด็กตามรูปแบบเหล่านี้ บอกว่า งานอะไรก็ตามที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัยและการพัฒนาศีลธรรมของเด็ก ถือว่าเป็นรูปแบบงานที่เลวร้ายสำหรับเด็ก
เขากล่าวว่า มีการกำหนดมาตรฐานในเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะตระหนักว่า หลายประเทศมีปัญหาทางด้านพัฒนาการในการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก โดยจะต้องมีการปรับปรุงการศึกษา ระบบคุ้มครองป้องกันทางสังคม เพื่อที่ครอบครัวยากจนไม่จำเป็นต้องส่งลูกเข้าโรงเรียน จะต้องจัดหางานให้ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาและแก้ปัญหาที่ต้นตอ เพราะที่อยู่เบื้องหลังแรงงานเด็ก คือความยากจน ทั้งในระดับครอบครัว และในระดับสังคม
เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว ในการประชุมที่กรุงเฮก ที่ประชุมลงมติรับแผนที่จะกำจัดรูปแบบการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุดให้ได้ภายใน ค.ศ. 2016 หรืออีกราวๆ 4 ปีข้างหน้า
Patrick Quinn ให้ความเห็นว่า แม้ปัญหาจะใหญ๋หลวง แต่น่าจะแก้ไขกันได้ และให้ข้อสังเกตว่า ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา แรงงานเด็กลดจำนวนลง 20%
บริเวณที่ก้าวหน้ามากที่สุดในเรื่องนี้ คือ ลาติน อเมริกา เพราะหลายประเทศในแถบนั้นให้สิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงิน เพื่อให้ครอบครัวส่งลูกไปเข้าเรียน
เจ้าหน้าที่ของ ILO ผู้นี้กล่าวไว้ด้วยว่า นอกจากลาติน อเมริกาแล้ว บางประเทศในแอฟริกา เช่น เคนยา และแทนซาเนีย มีเด็กเข้าเรียนเพิ่มมากขึ้นเมื่อรัฐบาลเลิกเก็บค่าเล่าเรียน ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เรื่องค่าใช้จ่ายเป็นอุปสรรคสำคัญทีเดียว แต่ถ้ามองภาพรวมแล้ว จำนวนแรงงานเด็กในแอฟริกากำลังเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม รายงานของ ILO ในเรื่องแรงงานเด็กระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่มีแรงงานเด็กมากที่สุดในโลก
ILO เรียกร้องให้ชาติต่างๆปรับปรุงกม.แรงงานเด็กให้มีอำนาจคุ้มครองเด็กจากการถูกทำประโยชน์ จัดให้การศึกษาที่มีคุณภาพ ให้การคุ้มครองทางสังคมแก่ครอบครัวที่ยากจน และหางานให้ผู้ใหญ่ได้ทำเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
และแรงงานเด็กอีกราวๆ 5 ล้านคนถูกบังคับใช้แรงงาน ซึ่งรวมทั้งการขายประเวณีและการทำงานใช้หนี้
รูปแบบงานอื่นๆที่ถือว่าเป็นรูปแบบเลวร้ายที่สุดสำหรับแรงงานเด็ก ตามมาตรฐานที่ ILO กำหนดไว้ คือ การทำงานในเหมือง การเกษตร และการรับใช้ตามบ้าน
Patrick Quinn ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคระดับอาวุโสของโครงการระหว่างประเทศของ ILO ซึ่งมุ่งกำจัดการใช้แรงงานเด็กตามรูปแบบเหล่านี้ บอกว่า งานอะไรก็ตามที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัยและการพัฒนาศีลธรรมของเด็ก ถือว่าเป็นรูปแบบงานที่เลวร้ายสำหรับเด็ก
เขากล่าวว่า มีการกำหนดมาตรฐานในเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะตระหนักว่า หลายประเทศมีปัญหาทางด้านพัฒนาการในการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก โดยจะต้องมีการปรับปรุงการศึกษา ระบบคุ้มครองป้องกันทางสังคม เพื่อที่ครอบครัวยากจนไม่จำเป็นต้องส่งลูกเข้าโรงเรียน จะต้องจัดหางานให้ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาและแก้ปัญหาที่ต้นตอ เพราะที่อยู่เบื้องหลังแรงงานเด็ก คือความยากจน ทั้งในระดับครอบครัว และในระดับสังคม
เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว ในการประชุมที่กรุงเฮก ที่ประชุมลงมติรับแผนที่จะกำจัดรูปแบบการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุดให้ได้ภายใน ค.ศ. 2016 หรืออีกราวๆ 4 ปีข้างหน้า
Patrick Quinn ให้ความเห็นว่า แม้ปัญหาจะใหญ๋หลวง แต่น่าจะแก้ไขกันได้ และให้ข้อสังเกตว่า ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา แรงงานเด็กลดจำนวนลง 20%
บริเวณที่ก้าวหน้ามากที่สุดในเรื่องนี้ คือ ลาติน อเมริกา เพราะหลายประเทศในแถบนั้นให้สิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงิน เพื่อให้ครอบครัวส่งลูกไปเข้าเรียน
เจ้าหน้าที่ของ ILO ผู้นี้กล่าวไว้ด้วยว่า นอกจากลาติน อเมริกาแล้ว บางประเทศในแอฟริกา เช่น เคนยา และแทนซาเนีย มีเด็กเข้าเรียนเพิ่มมากขึ้นเมื่อรัฐบาลเลิกเก็บค่าเล่าเรียน ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เรื่องค่าใช้จ่ายเป็นอุปสรรคสำคัญทีเดียว แต่ถ้ามองภาพรวมแล้ว จำนวนแรงงานเด็กในแอฟริกากำลังเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม รายงานของ ILO ในเรื่องแรงงานเด็กระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่มีแรงงานเด็กมากที่สุดในโลก
ILO เรียกร้องให้ชาติต่างๆปรับปรุงกม.แรงงานเด็กให้มีอำนาจคุ้มครองเด็กจากการถูกทำประโยชน์ จัดให้การศึกษาที่มีคุณภาพ ให้การคุ้มครองทางสังคมแก่ครอบครัวที่ยากจน และหางานให้ผู้ใหญ่ได้ทำเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้