WHO ชี้ต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อพิสูจน์ว่าไวรัส Zika เป็นต้นเหตุของโรคทารกสมองเล็กหรือไม่

Pietro Rafael, who has microcephaly, reacts to stimulus during an evaluation session with a physiotherapist at the Altino Ventura rehabilitation center in Recife, Brazil, Jan. 28, 2016.

ถึงขณะนี้พบทารกแรกเกิดที่มีกระโหลกศรีษะเล็กกว่าปกติเฉพาะใน Brazil กับ French Polynesia

Your browser doesn’t support HTML5

WHO Zika

องค์การอนามัยโลกรายงานว่าเชื้อไวรัส Zika ระบาดไปยังกว่า 40 ประเทศใน 4 จาก 6 กลุ่มประเทศสมาชิกของ WHO และ WHO ย้ำด้วยว่ามาถึงขณะนี้พบทารกแรกเกิดที่มีกระโหลกศรีษะเล็กกว่าปกติเฉพาะใน Brazil กับ French Polynesia

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Zika มีความรุนแรงในบราซิล ซึ่งพบว่ามีทารกที่มีขนาดของกระโหลกศรีษะและขนาดสมองเล็กแล้ว 4,700 คน

WHO ยืนยันว่ามี 8 ประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส Zika และมีคนป่วยด้วยโรคทางระบบประสาท Guillain-Barre syndrome หลายกรณีด้วย

คุณ Bruce Aylward ผู้อำนวยการบริหารประจำฝ่ายการระบาดของโรคและเหตุฉุกเฉินทางสุขภาพของ WHO กล่าวว่ายังไม่สามารถได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคทั้งสองอย่าง แต่มีข้อสงสัยเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาว่าเชื้อไวรัส Zika อาจจะเกี่ยวข้องกับทั้งสองโรค

In this Dec. 22, 2015 photo, a baby named Luiza has her head measured by a neurologist in Caruaru, Brazil. Luiza, a Zika victim, was born in October with a head that was just 11.4 inches (29 centimeters) in diameter, below the range defined as healthy by

คุณ Aylward กล่าวว่าผลการชันสูตรศพของทารกหลายคนที่มีขนาดกระโหลกศรีษะเล็กกว่าปกติ พบว่ามีเชื้อไวรัส Zika ในร่างกายของทารก และผลการตรวจชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากโรคทางระบบประสาท Guillain-Barre syndrome ก็พบว่ามีเชื้อไวรัส Zika ในร่างกายเช่นกัน

คุณ Aylward กล่าวว่าเขาเห็นด้วยที่ยึดหลักการที่ว่า จะถือว่าเชื้อไวรัส Zika เป็นต้นเหตุของโรคไปจนกว่าจะสามารถยืนยันได้แน่ชัด เนื่องจากจะมีผลกระทบรุนแรงจากเชื้อไวรัส Zika

ในขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลกชี้ว่าการทำลายแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงในชุมชน เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Zika

WHO ยังเร่งเร้าให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งท้อง ป้องกันยุงกัดด้วยการทายากันยุง สวมเสื้อผ้าที่คลุมแขนขามิดชิดเพื่อป้องกันยุงกัด นอนกางมุ้งหรือติดมุ้งลวดที่ประตูกับหน้าต่างเพื่อกันยุงเข้า

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)