อนามัยโลก กังวลสถานการณ์โควิด-19 ในแอฟริกายังรุนแรง แม้การระบาดทั่วโลกเริ่มลดลง

In this May 25, 2021, file photo, a health worker prepares a dose of the Pfizer coronavirus vaccine at the Orange Farm Clinic near Johannesburg. In the global race to vaccinate people against COVID-19, Africa is tragically at the back of the pack. (AP Pho

องค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกจะลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 สัปดาห์ติดต่อกันแล้ว การระบาดของโคโรนาไวรัสในแอฟริกายังคงรุนแรง และทำให้มีผู้ป่วยรวมทั้งผู้เสียชีวิตผู้คน เนื่องจากข้อจำกัดด้านการรักษาและการจัดหาวัคซีน

ในการแถลงข่าวประจำวันในวันจันทร์ เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า การลดลงของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในช่วงนี้ เป็นการลดลงต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกมา และถือเป็นข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม เกเบรเยซุส กล่าวว่า ตัวเลขรวมของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ยังไม่ลดลงในอัตราที่เร็วๆ เท่าๆ กับตัวเลขผู้ติดเชื้อ และปรับลงเพียงเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ผอ. WHO กล่าวด้วยว่า การลดลงของผู้ติดเชื้อรายใหม่นั้นทำให้หลายส่วนลืมไปว่า โคโรนาไวรัสนั้นยังมีการแพร่ระบาดและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากในแอฟริกา ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้มาก และยังมีปัญหาความสามารถด้านการรักษาผู้ป่วยเนื่องจากการขาดแคลนอุปกรณ์จำเป็นเช่น ออกซิเจนและอุปกรณ์วินิจฉัยโรค

เกเบรเยซุส กล่าวเสริมด้วยว่า มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ไวรัสที่กลายพันธุ์ใหม่ๆ นั้นมีส่วนทำให้การแพร่กระจายของไวรัสทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีระดับการฉีดวัคซีนที่ต่ำ

นอกจากนั้น เขายังแสดงความขอบคุณต่อผู้นำกลุ่มประเทศ G-7 ที่เข้าประชุมสุดยอดเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาและสัญญาว่าจะนำส่งวัคซีนจำนวน 870 ล้านโดสให้กับโครงการโคแว็กซ์ (COVAX) ขององค์การอนามัยโลก

เกเบรเยซุส ระบุว่า การบริจาคครั้งนี้จะมีส่วนช่วยปกป้องประชากรทั่วโลกได้อย่างมาก และย้ำว่า การที่จะทำให้ภาวะการระบาดใหญ่นี้สิ้นสุดลงได้ ต้องมีการฉีดวัคซีนประชากรทั่วโลกให้ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ภายในปีหน้า ซึ่งหมายถึงความต้องการวัคซีนถึง 11,000 ล้านโดส และ “กลุ่มประเทศ G-7 และ G-20 คือ ผู้ที่ทำให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมาได้”