ผลการศึกษาชี้ น้ำทะเลที่อุ่นขึ้นทำให้เกิดเฮอร์ริเคนบ่อยและรุนแรงขึ้น

Waves crash on stilt houses along the shore as Hurricane Michael's power is unleashed in Alligator Point, Franklin County, Fla., Oct. 10, 2018.

Your browser doesn’t support HTML5

นักวิจัยชี้น้ำทะเลอุ่นขึ้นทำให้เกิดเฮอร์ริเคนมากขึ้น

ผลการศึกษาคาดการณ์ว่า หากน้ำทะเลอุ่นขึ้นต่อไปในช่วง 50 -100 ปีข้างหน้า ก็จะเกิดพายุเฮอร์ริเคนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยสองลูกต่อปี และนอกจากจะเกิดพายุเฮอร์ริเคนเพิ่มขึ้นเเล้ว พายุก็ยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเเละทำให้ฝนตกในปริมาณมากขึ้นด้วย

บรรดานักวิทยาศาสตร์รู้ดีว่าโลกอุ่นขึ้น เเละสามารถพูดได้อย่างมั่นใจว่ามนุษย์มีส่วนทำให้เกิดปัญหานี้ แต่นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนมาตลอดว่า ไม่ควรโทษว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศบางอย่างเป็นผลมาจากภูมิอากาศ โดยอธิบายว่าสภาพอากาศกับภูมิอากาศเป็นคนละเรื่องกัน

แต่ในปี ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นปีที่ผู้คนที่อาศัยตามเเนวชายฝั่งที่ติดกับมหาสมุทรเเอตเเลนติกเเละอ่าวเม็กซิโก เจอกับผลกระทบหนักจากพายุเฮอร์ริเคนรุนแรงหลายลูก

พายุเฮอร์ริเคนฮาร์วี่ (Harvey) ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงตามพื้นที่ชายฝั่งของรัฐเท็กซัส เเละเมืองฮิวส์ตัน ส่วนเฮอร์ริเคนมาเรีย (Maria) ก็สร้างความเสียหายหนักเเก่เปอร์โตริโก

Hurricane Michael

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สำนักงานสมุทรศาสตร์กับชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือ NOAA ได้เริ่มต้นศึกษาแถบน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกที่อยู่ในเขตร้อนที่อุ่นขึ้นใกล้กับจุดศูนย์สูตร โดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศแบบใหม่

ฮีโร่ มูระกามิ (Hiro Murakami) ผู้ร่างผลการวิจัย กล่าวกับวีโอเอว่า เมื่อปีที่ผ่านมาน้ำในจุดนี้อุ่นขึ้นกว่าปกติ เเละแบบจำลองภูมิอากาศที่ใช้ในการศึกษาได้พยากรณ์ว่าจะเกิดพายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกสองครั้ง เเละปรากฏว่าเกิดพายุเฮอร์ริเคนบ่อยกว่าเฉลี่ยถึงสองครั้งจริงๆ

มูระกามิกล่าวว่า สหรัฐฯ จะเจอกับสภาพอากาศเเบบนี้อีก เพราะเมื่อเเถบน้ำในมหาสมุทรแอตเเลนติกบริเวณนี้อุ่นขึ้นกว่าปกติ อย่างที่เกิดขึ้นในปี 2017 ที่ผ่านมา เขากล่าวว่าเมื่อโลกอุ่นขึ้น น้ำในจุดนี้ของมหาสมุทรแอตแลนติกจะอุ่นมากขึ้นกว่าเดิม เเละอุ่นขึ้นบ่อยครั้งกว่าเดิม

เมื่อปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ เจอกับพายุเฮอร์ริเคนลูกใหญ่ถึง 6 ลูกด้วยกัน เเต่ในอนาคตอาจจะเพิ่มเป็น 8 ลูก หากน้ำทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกยังอุ่นขึ้นแบบนี้

เขากล่าวว่า นี่เป็นข่าวร้ายสำหรับคนที่อาศัยใกล้กับชายฝั่งทะเ ลเเละสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ต้องตระเตรียมความพร้อมเเละป้องกันประชาชนในพื้นที่ของตนจากพายุที่มีความรุนแรง

Emily Hindle lies on the floor at an evacuation shelter set up at Rutherford High School, in advance of Hurricane Michael, which is expected to make landfall today, in Panama City Beach, Fla., Wednesday, Oct. 10, 2018. (AP Photo/Gerald Herbert)

ทอม เดลเวิร์ธ (Tom Delworth) นักวิจัยอีกคนหนึ่งที่สำนักงาน NOAA ที่มีส่วนร่วมในการวิจัยกล่าวว่า แบบจำลองทางภูมิอากาศที่ทีมนักวิจัยใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ เพราะนอกจากสามารถพยากรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในฤดูนี้ เเต่ยังสามารถพยากรณ์ได้ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไรตั้งเเต่เดือนหน้าถึงอีก 100 ปีในอนาคต

เขากล่าวว่า ภายในปลายคริสต์ศตวรรษนี้ พายุเฮอร์ริเคนที่มีความแรงก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นไปจนถึงระดับ 4 เเละ 5

เดลเวิร์ธและมูระกามิ กล่าวว่า แบบจำลองภูมิอากาศที่ใช้ในการศึกษาอาจนำไปใช้ศึกษาพายุไต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ เเละน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกก็ส่งผลคล้ายๆ กันต่อพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาค

A storm chaser climbs into his vehicle during the eye of Hurricane Michael to retrieve equipment after a hotel canopy collapsed in Panama City Beach, Florida, Oct. 10, 2018.

นักวิจัยแห่งสำนักงาน NOAA ทั้งสองคนยอมรับว่า เเม้แบบจำลองภูมิอากาศที่ใช้ในการวิจัยสามารถพยากรณ์ได้อย่างถูกต้องว่าจะเกิดพายุเฮอร์ริเคนขึ้นในอาทิตย์หน้า ในเดือนหน้า ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษหน้า

แต่แบบจำลองนี้ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าพายุจะเกิดขึ้นเมื่อไร เเละที่ไหน

เดลเวิร์ธ กล่าวว่า การพยากรณ์ที่แม่นยำจะมีประโยชน์มากแก่เจ้าหน้าที่กู้ภัย เพื่อเตรียมตัวรับมือกับฤดูพายุเฮอร์ริเคน

เขากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์และเครื่องมือในการศึกษาวิจัยพัฒนาดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้การพยากรณ์อากาศดีขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวรับมือกับพายุที่จะเกิดเพิ่มขึ้น รุนแรงขึ้น เพราะการเตรียมตัวล่วงหน้าช่วยป้องกันการสูญเสียทางชีวิต

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)