ข้อตกลงด้านพลังงานนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐกับเวียดนามเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ อนุญาตให้บริษัทอเมริกันสามารถขายเทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์ให้กับเวียดนามได้ หากรัฐสภาสหรัฐรับรองข้อตกลงนี้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ไม่เห็นด้วยวิพากษ์ตำหนิรัฐบาลเวียดนามว่ามีแผนการด้านนิวเคลียร์ที่ทะเยอทะยานเกินไป
เมื่อวันที่ 10 ต.ค รมต.ต่างประเทศสหรัฐ John Kerry และ รมต.ต่างประเทศเวียดนาม Pham Binh Minh ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการลงทุนที่ชื่อว่า ข้อตกลง 123 ระหว่างการหารือนอกรอบของการประชุมเอเปกที่บรูไน โดยข้อตกลงที่ว่านี้อนุญาตให้บริษัทสหรัฐสามารถส่งออกเทคโนโลยีและอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ไปยังเวียดนาม เพื่อหาผลประโยชน์จากตลาดพลังงานนิวเคลียร์ในเวียดนามซึ่งคาดว่าจะเติบโตจาก 10,000 ล้านดอลล่าร์เป็น 50,000 ล้านดอลล่าร์ภายในปี ค.ศ 2030
แม้เวียดนามจะมีแหล่งพลังงานที่หลากหลาย ทั้งถ่านหิน น้ำมัน และพลังงานจากน้ำ แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าเวียดนามจะต้องกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานภายในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลเวียดนามจึงประกาศแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 13 แห่ง ภายในช่วง 20 ปีข้างหน้า และได้มีการทำข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับญี่ปุ่นและรัสเซียไปแล้วบางส่วน
คุณ Murray Hiebert เจ้าหน้าที่ระดับสูงของศูนย์เพื่อการศึกษาด้านยุทธศาสตร์และต่างประเทศหรือ CSIS ในกรุงวอชิงตัน ชี้ว่าโครงการนิวเคลียร์ของเวียดนามเป็นการลงทุนระยะยาวและต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐ นักวิเคราะห์ผู้นี้ชี้ว่า ความร่วมมือด้านนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐกับเวียดนามจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานได้ นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง Trans-Pacific Partnership หรือ TPP ร่วมกับสหรัฐและอีก 10 ประเทศ จึงถือได้ว่าข้อตกลงนี้เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ
ถึงกระนั้น มีหลายคนที่ต่อต้านข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐกับเวียดนาม โดยให้เหตุผลว่าเวียดนามตั้งอยู่บนเขตรอยเลื่อนของเปลือกโลกทำให้มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว โดยรายงานวิจัยกอ่นหน้านี้ชี้ว่าแผนก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแห่งแรกที่จังหวัด Ninh Thuan นั้น อยู่ในเขตที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวที่เกิดจากคลื่นยักษ์สึนามิ
นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญชาวเวียดนามบางคนยังระบุว่า โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของรัฐบาลเวียดนามมีความทะเยอทะยานมากเกินไป คุณ Pham Duy Hien อดีต ผอ.สถาบันวิจัยด้านนิวเคลียร์ Dalat บอกว่าแม้เวียดนามจะมีความต้องการพลังงานสูง แต่ก็ไม่รีบร้อนถึงขนาดว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เสร็จภายในช่วง 7 ปีข้างหน้า
ในขณะเดียวกัน หลายคนยังคงกังวลเรื่องความมั่นคงด้วยเกรงว่าเวียดนามจะใช้โอกาสนี้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แต่ศาสตราจารย์ Carl Thayer ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงแห่งมหาวิทยาลัยรัฐ New South Wales ในออสเตรเลียระบุว่า ภายใต้ข้อตกลงระหว่างสหรัฐกับเวียดนาม สหรัฐกำหนดไว้ว่าห้ามเวียดนามเสริมคุณภาพแร่พลูโตเนียมหรือยูเรเนียมที่อาจนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และเชื่อว่าความกัววลเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ
ศาสตราจารย์ Carl Thayer ยังบอกด้วยว่าข้อตกลง 123 ฉบับนี้เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความไว้เนื้อเชื่อใจทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องดีนักหากเวียดนามจะชะลอโครงการเอาไว้ก่อนหรือก้าวถอยหลังในเรื่องนี้
รายงานจาก Marianne Brown / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล
เมื่อวันที่ 10 ต.ค รมต.ต่างประเทศสหรัฐ John Kerry และ รมต.ต่างประเทศเวียดนาม Pham Binh Minh ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการลงทุนที่ชื่อว่า ข้อตกลง 123 ระหว่างการหารือนอกรอบของการประชุมเอเปกที่บรูไน โดยข้อตกลงที่ว่านี้อนุญาตให้บริษัทสหรัฐสามารถส่งออกเทคโนโลยีและอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ไปยังเวียดนาม เพื่อหาผลประโยชน์จากตลาดพลังงานนิวเคลียร์ในเวียดนามซึ่งคาดว่าจะเติบโตจาก 10,000 ล้านดอลล่าร์เป็น 50,000 ล้านดอลล่าร์ภายในปี ค.ศ 2030
แม้เวียดนามจะมีแหล่งพลังงานที่หลากหลาย ทั้งถ่านหิน น้ำมัน และพลังงานจากน้ำ แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าเวียดนามจะต้องกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานภายในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลเวียดนามจึงประกาศแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 13 แห่ง ภายในช่วง 20 ปีข้างหน้า และได้มีการทำข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับญี่ปุ่นและรัสเซียไปแล้วบางส่วน
คุณ Murray Hiebert เจ้าหน้าที่ระดับสูงของศูนย์เพื่อการศึกษาด้านยุทธศาสตร์และต่างประเทศหรือ CSIS ในกรุงวอชิงตัน ชี้ว่าโครงการนิวเคลียร์ของเวียดนามเป็นการลงทุนระยะยาวและต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐ นักวิเคราะห์ผู้นี้ชี้ว่า ความร่วมมือด้านนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐกับเวียดนามจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานได้ นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง Trans-Pacific Partnership หรือ TPP ร่วมกับสหรัฐและอีก 10 ประเทศ จึงถือได้ว่าข้อตกลงนี้เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ
ถึงกระนั้น มีหลายคนที่ต่อต้านข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐกับเวียดนาม โดยให้เหตุผลว่าเวียดนามตั้งอยู่บนเขตรอยเลื่อนของเปลือกโลกทำให้มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว โดยรายงานวิจัยกอ่นหน้านี้ชี้ว่าแผนก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแห่งแรกที่จังหวัด Ninh Thuan นั้น อยู่ในเขตที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวที่เกิดจากคลื่นยักษ์สึนามิ
นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญชาวเวียดนามบางคนยังระบุว่า โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของรัฐบาลเวียดนามมีความทะเยอทะยานมากเกินไป คุณ Pham Duy Hien อดีต ผอ.สถาบันวิจัยด้านนิวเคลียร์ Dalat บอกว่าแม้เวียดนามจะมีความต้องการพลังงานสูง แต่ก็ไม่รีบร้อนถึงขนาดว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เสร็จภายในช่วง 7 ปีข้างหน้า
ในขณะเดียวกัน หลายคนยังคงกังวลเรื่องความมั่นคงด้วยเกรงว่าเวียดนามจะใช้โอกาสนี้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แต่ศาสตราจารย์ Carl Thayer ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงแห่งมหาวิทยาลัยรัฐ New South Wales ในออสเตรเลียระบุว่า ภายใต้ข้อตกลงระหว่างสหรัฐกับเวียดนาม สหรัฐกำหนดไว้ว่าห้ามเวียดนามเสริมคุณภาพแร่พลูโตเนียมหรือยูเรเนียมที่อาจนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และเชื่อว่าความกัววลเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ
ศาสตราจารย์ Carl Thayer ยังบอกด้วยว่าข้อตกลง 123 ฉบับนี้เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความไว้เนื้อเชื่อใจทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องดีนักหากเวียดนามจะชะลอโครงการเอาไว้ก่อนหรือก้าวถอยหลังในเรื่องนี้
รายงานจาก Marianne Brown / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล