การอภิปรายที่นครเดนเวอร์ รัฐโคโลราโดเป็นการประจัญหน้าโดยตรงครั้งแรกของสองผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และครั้งที่ 27 ในประวัติศาสตร์การอภิปรายถ่ายทอดทางโทรทัศน์
ประธานาธิบดี Obama และนาย Mitt Romney เตรียมตัวก่อนการอภิปรายครั้งสำคัญในคืนวันพุธที่นครเดนเวอร์ โดยทั้งสองฝ่ายพยายามลดระดับความคาดหวังลงเพื่อให้ฝ่ายตนมีฐานะได้เปรียบในที่สุด ประธานาธิบดี Obama กล่าวว่าตนมีความสามารถในการอภิปรายระดับพอใช้ได้เท่านั้นในขณะที่นาย Mitt Romney เป็นนักอภิปรายที่เก่งกาจ แต่ผู้นำของสหรัฐฯ ชี้ว่าสิ่งที่ประชาชนอเมริกันต้องการได้ฟังมากกว่า คือการพูดถึงเรื่องที่จำเป็นจะต้องทำเพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้าและคนงานสหรัฐฯ มีความมั่นคง ไม่ใช่ถ้อยคำโวหารคมๆ เพื่อเยาะเย้ยหรือทำให้คู่แข่งต้องอับอาย ส่วนนาย Chris Christie ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของนาย Mitt Romney ชี้ว่า ตัวแทนของพรรครีพับริกันคนนี้จะอภิปรายได้ดีจนทำให้การแข่งขันต้องกลับตาลปัตรในวันรุ่งขึ้นหลังการอภิปราย
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองชี้ว่าการอภิปรายซึ่งจะส่งผลให้การแข่งขันหรือคะแนนนิยมเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมากนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน นับตั้งแต่ความสามารถในการหักล้างประเด็นของฝ่ายตรงข้ามอย่างชัดเจน ความเป็นต่ออย่างโดดเด่น ความผิดพลาดของคู่แข่ง รวมทั้งเทคนิคการสร้างมติมหาชนหลังการอภิปราย ซึ่งเรื่องนี้ก็มักไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก และผู้ที่ติดตามประวัติศาสตร์การอภิปรายกล่าวว่าเท่าที่ผ่านมา ดูเหมือนจะมีการอภิปรายเพียงสองครั้งที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งอย่างแท้จริง
โดยครั้งแรกคือในปี 2503 ซึ่งคนอเมริกันได้เห็นการอภิปรายโต้คารมที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ครั้งแรกระหว่างวุฒิสมาชิกจอห์น เอฟ เคนเนดี้ผู้ที่ดูหนุ่มสดใสและมีบุคลิกดีกว่า กับรองประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งดูโรยราและทรุดโทรม ส่วนในครั้งที่สองเป็นการอภิปรายระหว่างประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน กับวุฒิสมาชิกวอลเทอร์ มอนเดลผู้ท้าชิงของพรรคเดโมแครต ซี่งในครั้งนั้นประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนวัย 73 ปีถือโอกาสตอบโต้คำตำหนิที่ว่าตนอาจจะอายุมากเกินไปสำหรับการเป็นประธานาธิบดี โดยประกาศระหว่างการอภิปรายโต้คารมครั้งที่สองว่าตนจะไม่ฉกฉวยประโยชน์ทางการเมืองจากความอ่อนวัยกว่าและความไร้ประสบการณ์ของคู่แข่งของตน คือวุฒิสมาชิกวอลเทอร์ มอนเดล มาใช้เป็นประเด็นในการอภิปรายโจมตีหรือหาเสียงเลือกตั้ง และในครั้งนั้นกล้องโทรทัศน์ได้จับภาพวุฒิสมาชิกมอนเดลวัย 56 ปีที่หัวเราะตามคำคมที่จับใจของประธานาธิบดีเรแกน ซึ่งเขาก็ยอมรับในภายหลังว่าโอกาสที่ตนจะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเรแกนนั้นเริ่มหายไปนับตั้งแต่จุดนั้นเป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองชี้ว่าการอภิปรายซึ่งจะส่งผลให้การแข่งขันหรือคะแนนนิยมเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมากนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน นับตั้งแต่ความสามารถในการหักล้างประเด็นของฝ่ายตรงข้ามอย่างชัดเจน ความเป็นต่ออย่างโดดเด่น ความผิดพลาดของคู่แข่ง รวมทั้งเทคนิคการสร้างมติมหาชนหลังการอภิปราย ซึ่งเรื่องนี้ก็มักไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก และผู้ที่ติดตามประวัติศาสตร์การอภิปรายกล่าวว่าเท่าที่ผ่านมา ดูเหมือนจะมีการอภิปรายเพียงสองครั้งที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งอย่างแท้จริง
โดยครั้งแรกคือในปี 2503 ซึ่งคนอเมริกันได้เห็นการอภิปรายโต้คารมที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ครั้งแรกระหว่างวุฒิสมาชิกจอห์น เอฟ เคนเนดี้ผู้ที่ดูหนุ่มสดใสและมีบุคลิกดีกว่า กับรองประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งดูโรยราและทรุดโทรม ส่วนในครั้งที่สองเป็นการอภิปรายระหว่างประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน กับวุฒิสมาชิกวอลเทอร์ มอนเดลผู้ท้าชิงของพรรคเดโมแครต ซี่งในครั้งนั้นประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนวัย 73 ปีถือโอกาสตอบโต้คำตำหนิที่ว่าตนอาจจะอายุมากเกินไปสำหรับการเป็นประธานาธิบดี โดยประกาศระหว่างการอภิปรายโต้คารมครั้งที่สองว่าตนจะไม่ฉกฉวยประโยชน์ทางการเมืองจากความอ่อนวัยกว่าและความไร้ประสบการณ์ของคู่แข่งของตน คือวุฒิสมาชิกวอลเทอร์ มอนเดล มาใช้เป็นประเด็นในการอภิปรายโจมตีหรือหาเสียงเลือกตั้ง และในครั้งนั้นกล้องโทรทัศน์ได้จับภาพวุฒิสมาชิกมอนเดลวัย 56 ปีที่หัวเราะตามคำคมที่จับใจของประธานาธิบดีเรแกน ซึ่งเขาก็ยอมรับในภายหลังว่าโอกาสที่ตนจะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเรแกนนั้นเริ่มหายไปนับตั้งแต่จุดนั้นเป็นต้นมา