นักวิจัยในสหรัฐพบว่ายารักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้กันอยู่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการความจำระยะสั้นเสื่อมถอยในผู้สูงวัยได้

  • Jessica Berman
    ทักษิณา ข่ายแก้ว

นักวิจัยในสหรัฐพบว่ายารักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้กันอยู่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการความจำระยะสั้นเสื่อมถอยในผู้สูงวัยได้

นักวิจัยในสหรัฐพบว่ายารักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ใช้กันอยู่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการความจำระยะสั้นเสื่อมถอยในผู้สูงวัยได้ หลังจากทดลองการรักษาได้ผลดีในลิง

ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเยล ในรัฐคอนเน็คติกัทจะเริ่มทดลองการรักษาเพื่อยืนยันว่ายากวานฟูซีน ซึ่งปกติใช้รักษาความดันโลหิตสูงในสหรัฐ อาจมีประโยชน์ทางอ้อมในการป้องกันอาการความจำระยะสั้นเสื่อมถอยในผู้สูงอายุ

คุณเอมี อาร์นสเต็น ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทสมองที่มหาวิทยาลัยเยล กล่าวว่าความจำระยะสั้น หรือ working memory มีส่วนสำคัญเกี่ยวข้องกับการรู้ของมนุษย์ ช่วยประมวลแยกแยะสิ่งถูกสิ่งผิด ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และมีผลต่อการสั่งงานให้ทำงานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ความจำระยะสั้นเริ่มเสี่ยมถอยเมื่อคนเราอายุย่างเข้าเลขสี่ ทำให้หลงลืมง่ายขึ้น

คุณเอมี่ อาร์นสเต็น ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทสมอง กล่าวว่าการเสี่ยมถอยของความจำระยะสั้นเริ่มขึ้นเมื่อย่างเข้าวัยกลางคน พบได้ทั้งในลิงและในมนุษย์ อาการนี้จะเลวร้ายลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น เธอบอกว่า ความสามารถในการจดจำระยะสั้นมีความสำคัญต่อการทำงานโดยเฉพาะในอาชีพที่ต้องใช้ความคิดมาก เมื่อคนเราแก่ตัวลง งานที่เคยง่ายก็ยากขึ้นเพราะเกิดอาการหลงลืม

คุณเอมี่ อาร์นสเต็น กล่าวว่าความจำระยะสั้นเป็นการทำงานของเซลล์สมองนิวรอนในสมองส่วนหน้า คนเรามีเซลล์สมองนิวรอนหลายร้อยล้านเซลล์ เซลล์สมองนิวรอนเป็นเซลล์หลักทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแแบบสัญญาณไฟฟ้าข้ามระหว่างนิวรอนสองตัว การติดต่อระหว่างนิวรอนเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่างๆที่เรียกว่า สารสื่อประสาท เมื่อคนเราแก่ตัวลง การหลั่งของสารสื่อประสาทนี้เปลี่ยนแปลงไป การติดต่อระหว่างเซลล์นิวรอนลดถอยลงไป ทำให้จดจำสิ่งต่างๆได้ไม่แม่นยำเหมือนตอนอายุยังน้อย

คุณเอมี่ อาร์นสเต็นและทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัยเยล สรุปผลเรื่องนี้หลังจากทำการศึกษาเทียบความแตกต่างความจำของลิงหกตัว โดยสองตัวแรกอายุยังน้อย สองตัวถัดไปอายุวัยกลางคนและสองตัวสุดท้ายเป็นลิงอายุมากแล้ว นักวิจัยพบว่าเซลล์สมองนิวรอนในลิงทั้งหกตัวมีปฏิกริยาตอบสนองในสมองส่วนหน้าคล้ายๆกัน ตอนที่นักวิจัยนำอาหารว่างของโปรดมาให้กิน แต่ปรากฏว่าการตอบสนองของเซลล์สมองนิวรอนในลิงที่อายุมากขึ้นเริ่มลดลงเมื่อต้องนั่งคอยอาหารในระยะเวลาสั้นๆและลิงอายุมากพยายามนึกให้ออกว่าเจ้าหน้าที่นำอาหารว่างไปซ่อนไว้ที่ไหน นี่ทำให้นักวิจัยเชื่อว่าการเสื่อมถอยของการทำงานของเซลสมองนิวรอนเกี่ยวเนื่องกับอายุของลิง แต่อาการเสื่อมนี้เริ่มดีขึ้นหลังจากนักวิจัยจ่ายยากวานฟูซีนให้กับลิงสูงวัยทั้งสองตัว

คุณเอมี่ อาร์นสเต็น กล่าวว่าผลการทดลองสร้างความหวังหลังจากพบว่าถ้าแก้ไขให้การหลั่งสารสื่อประสาทให้ดีขึ้น การติดต่อระหว่างเซลล์สมองนิวรอนจะดีขึ้นตามไปด้วยและเมื่อได้รับยากวานฟูซีนอย่างต่อเนื่อง ความจำระยะสั้นจะดีขึ้นเรื่อยๆเพราะตัวยาช่วยรักษาระดับการสะสมของโปรตีนไซคะหลิก เอเอ็มพี ในสมองส่วนหน้าให้อยู่ในระดับเดียวกับตอนที่อายุยังน้อย

ทีมนักวิจัยหวังว่าในอนาคตจะสามารถใช้ยากวานฟูซีนในการรักกษาอาการความจำระยะสั้นเสื่อมถอยในประชากรวัยทองได้โดยใช้ในปริมาณน้อยต่อครั้งการกินแต่ละครั้ง แต่ยากวานฟูซีนไม่ใช่หนทางรักษาโรคความจำเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์สหรือโรคความจำเสื่อมถาวรชนิดอื่นๆ

คุณเอมี่ อาร์นสเต็นและทีมวิจัยได้พัฒนาตัวยากวานฟูซีนขนานใหม่ที่ออกฤทธิ์ยานานกว่าขนานที่ใช้ในการทดลองในลิงออกมาใช้รักษาโรคความสนใจสั้นและพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งในเด็ก มีการเก็บเงินค่าเป็นเจ้าของต้นตำรับยาด้วย งานเขียนเรื่องผลการทดลองแก้ไขอาการความจำระยะสั้นเสื่อมด้วยยากวานฟูซีนนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์