สำนักข่าวบลูมเบิร์กเสนอรายงานเมื่อวันศุกร์ว่า ความนิยมในมหาวิทยาชั้นนำในสหรัฐฯ เช่น ‘สถาบันกลุ่มไอวีลีค’ และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทำให้ผู้ปกครองชาวอเมริกันบางคน ยอมทุ่มเงินจำนวนมาก บางครั้งเกือบหนึ่งล้านดอลลาร์ หรือว่า 30 ล้านบาท ในการจ้างโค้ช แนะแนวการศึกษาแก่ลูก ๆ ตั้งแต่วัยเพียงสิบกว่าขวบ
ในบทความดังกล่าว บลูมเบิร์กสัมภาษณ์ครอบครัว ‘ชอย’ (Choi) ในมหานครนิวยอร์ก ที่จ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านการศึกษาคอมมานด์เอ็ดดูเคชัน (Command Education) เตรียมตัวบุตรของตนตั้งแต่อายุประมาณ 15 ปี จนนักเรียนผู้นี้สามารถสมัครเรียนที่มหาวิทยาดังอย่าง โคลัมเบีย เยลและ มหาวิทยาลัยชิคาโก สำเร็จ และกำลังรอผลการสมัครจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
รายงานกล่าวว่าบริษัทที่ปรึกษาเห่งนี้คิดว่าแนะแนว 750,000 ดอลลาร์ สำหรับการเตรียมตัวนักเรียนตั้งแต่เกรด 7 หรือเริ่มเข้ามัธยม และหากเป็นนักเรียนวัยเดียวกับบุตรของครอบครัวชอย ค่าที่ปรึกษาจะอยู่ที่สูงสุด 500,000 ดอลลาร์
คริสโตเฟอร์ ริม ซีอีโอของคอมมานด์เอ็ดดูเคชันบอกกับบลูมเบิร์กว่า ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น ไม่ใช่เฉพาะสำหรับมหาวิทยาลัยเก่าแก่ในกลุ่มไอวีลีค (Ivy League) อย่างโคลับเบีย เยลและฮาร์วาร์ด แต่เกิดขึ้นมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันน้อยกว่าด้วย
SEE ALSO: ผู้เชี่ยวชาญเชื่อ 'จัดอันดับมหาวิทยาลัย' ยังไม่หายไปแม้ถูกวิจารณ์หนักในสถานการณ์เช่นนี้ ถ้าค่าเรียนพอ ๆ กันไม่ว่าจะอยู่สถาบันใด ผู้ปกครองบางคนอย่าง ครอบครัวชอย จึงเลือกสถาบันที่เก่าแก่และเข้ายากเป็นจุดหมาย
ค่าใช้จ่ายในการให้คำปรึกษาเรื่องการเตรียมตัวสมัครเข้าไอวีลีคและสถานบันที่มีชื่อเสียงต่างๆ สูงลิบลิ่ว ท่ามกลางอัตรารับนักศึกษาใหม่ที่ยากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยเยล อัตราการตอบรับใบสมัครเรียนปริญญาตรีในปีนี้อยู่ที่เพียงเค่ 4.35% เท่านั้น ส่วนที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในสถาบันไอวีลีค ที่ผู้สมัครกว่า 59,000 คน แต่รับนักศึกษาค่า 2,400 คนเท่านั้น
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสมัครเรียนจึงมีความรู้สึกเหมือนถูกลอตเตอร์รี ตามรายงานของบลูมเบิร์ก
และเมื่อพิจารณาถึง ‘ความคุ้มทุน’ของการเรียนสถาบันเอกชนชื่อดังของสหรัฐฯ บทความชิ้นนี้กล่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจากศูนย์ Center of Education and the Workforce ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ว่า การเรียน 4 ปีที่มหาวิทยาลัยเอกชน ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนหรือ Return on Investment สูงสุดเมื่อพิจารณาถึงการกู้เงินเรียนโดยเฉลี่ยและค่ามัธยฐานของเงินเดือนในช่วง 10 ถึง 40 ปีหลังเข้ารับการศึกษา
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ถูกนำมาพิจารณาถึงการตัดสินใจทุ่มเทให้นักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐฯ ในบทความนี้ยังรวมถึงการเป็นไปได้ที่มหาวิทบาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียง จะให้ทุนการศึกษานักเรียนที่เข้าได้ เพราะสถาบันเหล่านั้นมักมีเงินกองทุนขนาดใหญ่ เพื่อจัดสรรเงินบางส่วนมาจุนเจือ 'น้องใหม่' ของสถาบัน
- ที่มา: บลูมเบิร์ก