สายการบินในสหรัฐฯยกระดับความปลอดภัยรับมือโควิด-19

Travelers cover their faces with masks as they wait to drop their luggage at the Los Angeles International Airport Saturday, March 14, 2020, in Los Angeles. The coronavirus outbreak is hitting the airline industry hard. President Trump banned most…

สายการบินในสหรัฐฯเร่งปรับตัวและแนวทางปฏิบัติหลายด้านเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางเข่นการเพิ่มมาตรการทำความสะอาดฆ่าเชื้อไวรัส การออกข้อบังคับให้ผู้โดยสารต้องสวมหน้ากากขึ้นเครื่อง ท่ามกลางวิกฤตอุตสาหกรรมการบินที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก

Your browser doesn’t support HTML5

US Covid Air Travel Safety

สายการบินส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ที่ยังคงให้บริการการเดินทางในช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ ออกมาตรการให้ผู้โดยสารสวมใส่หน้ากากก่อนขึ้นเครื่องเพื่อความปลอดภัย

แบร์รี บิฟเฟิล (Barry Biffle) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินฟรอนเทียร์ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววีโอเอ ว่า การสวมหน้ากากคือมาตรการล่าสุดที่ทางสายการบินประกาศใช้ควบคู่กับมาตรการอื่น ๆ ด้วย

ผู้บริหารสายการบิน ฟรอนเทียร์ บอกว่า นอกจากจะเพิ่มขั้นตอนการทำความสะอาดภายในเครื่องด้วยการพ่นยาฆ่าไวรัสแบบเข้มข้นตามพื้นที่ผิวแล้ว ยังเพิ่มการขอใบรับรองสุขภาพของผู้โดยสารก่อนขึ้นบิน ก่อนจะประกาศบังคับใช้มาตรการให้ทุกคนสวมหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกันใบหน้าในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

Virus Outbreak Florida Airports

จอห์น คอกซ์ (John Cox) อดีตนักบินที่เคยทำหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยการบิน ของสมาคมนักบินแห่งสหรัฐฯ ออกมาชื่นชม ความพยายามของสายการบินที่เพิ่มมาตรการความปลอดภัยในขั้นสูงสุด และทำให้ผู้โดยสารมองเห็นถึงความเอาจริงเอาจังและเข้มงวดในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก

แนวทางปฎิบัติยังแตกต่างในแต่ละสายการบิน

หลังการระบาดของโควิด-19 แต่ละสายการบินยังคงมีข้อแตกต่างในแนวทางปฏิบัติ รายงานของรอยเตอร์ส ระบุว่า สายการบินหลักอย่างน้อย 3 แห่งของสหรัฐฯ คือ ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ อเมริกัน แอร์ไลน์ และ เดลต้า แอลไลน์ จะไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องหากไม่สวมหน้ากาก แต่หากขึ้นผ่านไปนั่งบนเครื่องไปแล้ว จะไม่มีการบังคับใช้แต่อย่างใด โดยทางสายการบินมุ่งเน้นจะใช้แนวทางลักษณะขอความร่วมมือกับผู้โดยสาร มากกว่าจะเป็นการบังคับให้สวมหน้ากาก

นอกจากนี้ยังแนะนำให้พนักงานบนเครื่องใช้ทักษะเพื่อลดการเผชิญหน้า หรือ ลดข้อขัดแย้งระหว่างผู้โดยสารลง รวมไปถึงพิจารณาการย้ายที่นั่งหากจำเป็น ในกรณีผู้โดยสารบางคนอาจไม่ให้ความร่วมมือที่จะสวมใส่หน้ากากตลอดเวลา

CORONAVIRUS

ผู้โดยสารเริ่มมากขึ้น ยิ่งเพิ่มความกังวล

ที่ผ่านมาในช่วงเริ่มการระบาด เที่ยวบินส่วนใหญ่มักจะยังไม่ค่อยมีผู้โดยสาร แต่ในระยะหลังพบว่าบางเที่ยวบินมีผู้โดยสารเดินทางมากขึ้น และมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สวมหน้ากาก หรืออุปกรณ์ป้องกันใบหน้า รวมทั้งไม่ปฏิบัติตามแนวทางรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ social distancing

พรินท์เซส จอห์นสัน (Princess Johnson) ผู้โดยสารที่เพิ่งลงเครื่องบอกว่า เครื่องบินที่เธอโดยสารมาแน่นขนัดจนเธอรู้สึกเหมือนมีอาการของการเป็นโรคกลัวที่แคบหรือ โรคคลอสโทรโฟเบีย (claustrophobia) ที่ทำให้เธอเชื่อว่าหากว่ามีใครคนหนึ่งแค่จามออกมา ก็อาจทำผู้โดยสารป่วยได้หมดทั้งลำ

ขณะที่ ไมค์ ริชชรี่ (Mike Ritchie) ผู้โดยสาร จากอีกเที่ยวบิน กลับเจอประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เขาบอกว่า เขามีประสบการณ์ที่ดีกับเที่ยวบินที่ผ่านมา เดินทางรวดเร็ว จำนวนผู้โดยสารจะมีไม่มากนัก พนักงานต้อนรับบนเครื่องก็เอาใจใส่ทุกคนให้อยู่ระยะที่พอดี และแน่นอนว่าถ้าหากจะต้องเดินทางอีก เขาจะไม่ลังเลที่จะใช้บริการเครื่องบินอีกครั้ง

Your browser doesn’t support HTML5

สายการบินในสหรัฐฯยกระดับความปลอดภัยการบินให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากขึ้นเครื่อง

ยกระดับทำความสะอาด-ลดปฏิสัมพันธ์-เลิกที่นั่งแถวกลาง

หลายสายการบิน ยกระดับการทำความสะอาดให้ทั่วถึงภายในห้องโดยสารด้วยเครื่องพ่นยาฆ่าไวรัส ขณะที่หลายแห่งประกาศยกเลิกบริการอาหารว่างและเครื่องดื่มเพื่อลดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

รวมไปถึงมาตรการเว้นหรืองดจำหน่ายที่นั่งตรงกลางเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างผู้โดยสาร หรือบางสายการบินก็ใช้วิธีเก็บค่าโดยสารที่นั่งตรงกลางเพิ่มเป็นพิเศษ

แบร์รี บิฟเฟิล ผู้บริหารของ ฟรอนเทียร์ แอร์ไลน์ บอกว่า ที่ผ่านมาทางสายการบินได้สั่งปิดการจองที่นั่งแถวกลางในทุกแถว แต่ก็พบว่ามีบางสายการบินยังปิดกั้นที่นั่งแค่บางบริเวณเท่านั้น ซึ่งก็ยังหาความแน่นอนไม่ได้ เขาจึงตัดสินใจเพิ่มมาตรการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสารว่า ที่นั่งแถวกลางทุกแถวของสายการบินฟรอนเทียร์จะถูกกันไว้ให้ว่าง เพื่อความปลอดภัย

ยังไม่มีข้อสรุปมาตรฐานความปลอดภัยใหม่ในภาวะโควิด-19

แต่จนถึงขณะนี้ ทุกสายการบินยังไม่มีข้อสรุปที่เป็นมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยของการเดินทางด้วยเครื่องบินในช่วงการระบาดของโควิด19 แม้กระทั่งองค์การบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ ก็ยังไม่ได้กำหนดระเบียบข้อปฏิบัติในเรื่องนี้ออกมาชัดเจน แม้จะมีข้อเรียกร้องจากสายการบินก็ตาม

Airport

ขณะที่สายการบินในสหรัฐฯจะได้รับงบประมาณเยียวยาจากรัฐบาลกลางของสหรัฐฯที่รัฐสภาอนุมัติวงเงินกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์เฉลี่ยให้กับทุกสายการบิน โดยส่วนหนึ่งจะช่วยในลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายเงินเดือนของพนักงาน ขณะที่อีกส่วนจะเป็นลักษณะเงินกู้ช่วยเหลือในช่วงวิกฤตจากโควิด19 ที่ถือว่ารุนแรงและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการบินทั่วโลก เมื่อเครื่องบินส่วนใหญ่จำเป็นต้องจอดนิ่งอยู่กับที่มานานนับเดือน และยังไม่มีวีแววว่าจะสามารถกลับประจำการบนฟ้าได้อีกเมื่อไหร่