ประเทศที่ยากจนที่สุดจะต้องทำให้เศรษฐกิจของตนมีลักษณะหลากหลาย เพื่อหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งความยากจน

  • ลิซ่า ชลายน์
    เจษฎา สีวาลี

ประเทศที่ยากจนที่สุดจะต้องทำให้เศรษฐกิจของตนมีลักษณะหลากหลาย เพื่อหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งความยากจน

รายงานผลของการศศึกษาของสหประชาชาติฉบับใหม่อ้างว่า ประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดต้องทำให้เศรษฐกิจมีลักษณะหลากหลายและปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อให้การพัฒนาก้าวหน้าไปด้วยดีและหลุดพ้นจากภาวะยากจน

รายงานฉบับนั้นระบุว่า ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกสี่สิบเก้าประเทศดำเนินงานรับมือกับการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยนั้นได้ดีพอใช้ แต่อีกหลายประเทศยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏจักรเศรษกิจเดี๋ยวรุ่งเรืองแล้ก็ซบเซา ซึ่งเกาะติดอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยากจนที่สุดของโลกเหล่านั้นมานานแล้ว รายงานระบุด้วยว่าประเทศด้อยพัฒนาที่สุดของโลก (Least Developed Countries หรือ LDCs) ต้องพัฒนาขีดความสามารถที่จะผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มและบริการที่มีคุณภาพมากกว่าเดิมผ่านทางการขยายการลงทุนและนวัตกรรม เพราะมิฉะนั้นแล้วประเทศเหล่านั้นจะลดภาวะยากจนลงได้อย่างยั่งยืนและอย่างเป็นล่ำเป็นสันได้ยาก

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ (Supachai Panitchpakdi, UNCTAD Secretary-General)เลขาธิการของ UNCTAD กล่าวว่า LDCs พึ่งการส่งออกโภคภัณฑ์เบื้องประถมและสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มนั้นมากเกินไป ดร.ศุภชัยกล่าวว่า LDCs แสดงให้เห็นแนวโน้มเกี่ยวกับกิจกรรมทางการค้าไปในทางบวก แต่ทว่าตัวที่เป็นแรงขับดันเรื่องนั้นก็มีน้ำมันกับก๊าซเป็นหลัก ประเทศเหล่านั้นไม่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มใดๆของโลกที่ทำให้สลัดตัวหลุดพ้นจากการพึ่งพาด้านโภคภัณฑ์มากขึ้นเรื่อยๆ ดร.ศุภชัยกล่าวต่อไปว่า การทำให้กิจกรรมด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีลักษณะหลากหลายนั้นเกิดขึ้นน้อยมากและเฉพาะ LDCs ทางเอเชียเท่านั้นที่ทำให้เศรษฐกิจของตนมีลักษณะหลากหลายได้สำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกันดูแล้ว

ตามการกะประมาณ ตัวเลขใหม่เกี่ยวกับภาวะยากจนระบุว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองปีพุทธศักราช 2545 และปีพุทธศักราช 2550 นั้น ประชาชนผู้มีฐานะยากจนเหลือเกินมีจำนวนเพิ่มขึ้นปีละสามล้านคน เมื่อดูตัวเลขของปีพุทธศักราช 2550 พลโลกจำนวนสี่ร้อยล้านกว่าคนมีความเป็นอยู่ที่ยากจน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขของปีพุทธศักราช 2521 สองเท่าตัว บรรดาเศรษฐกรของ UNCTAD ตั้งข้อสังเกตว่า การมุ่งสนับสนุน LDCs นั้นหนักไปทางด้านการค้าเสียเป็นส่วนใหญ่ และว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการนั้นเสียใหม่ และเน้นหนักในด้านการช่วยเหลือประเทศยากจนที่สุดในการขยายขอบข่ายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปสู่ด้านอื่นๆ รายงานอ้างถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแบบใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนกิจกรรมภายในของ LDCs รายงานระบุว่า ควรจัดลำดับความสำคัญของเรื่องเทคโนโลยีและโภคภัณฑ์ การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการบรรเทาความยากจนไว้ในลำดับสูงด้วยเช่นกัน ผู้เป็นแกนนำในการทำรายงานฉบับนี้ Zeljko Kozul-Wright กล่าวว่า โลกยุคโลกาภิวัตรมิได้ปรานีหรือปฏิบัติต่อทุกฝ่ายอย่างเสมอภาคกัน และ LDCs ร่วมอยู่ทางฝ่ายที่สูญเสีย เธอกล่าวว่า LDCs จะต้องสลัดตัวให้หลุดพ้นจากการค้าแบบที่พึ่งพาการส่งออกเพราะการทำธุรกิจแบบทำไปวันวันหนึ่งนั้นจะไม่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว

รายงานระบุว่า ลู่ทางในอนาคตของ LDCs จะยุ่งยากปานกลาง อีกทั้งการลงทุนที่อยู่ในระดับต่ำและการพัฒนาด้านการเงินที่อ่อนแอจะเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลมากๆต่อไป รายงานระบุต่อไปว่า เพราะฉะนั้น ประเทศที่ยากจนที่สุดของโลกส่วนมากจะต้องพึ่งพาเรื่องที่ว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวเร็วแค่ไหนและการที่ผู้บริจาคระหว่างประเทศจะเพิ่มความสนับสนุนให้อย่างรวดเร็วแค่ไหน?