สนง.สิทธิมนุษยชนยูเอ็นหวั่นอาจออกรายงานสำคัญเรื่อง 'ซินเจียง' ไม่ทัน

In this file photo released by Xinhua News Agency, A screen showing Chinese President Xi Jinping, right, holds a virtual meeting with United Nations High Commissioner for Human Rights Michelle Bachelet, May 25, 2022.

ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มิเชลล์ บาเชเลต์ แสดงความไม่มั่นใจว่าเธอจะสามารถเผยแพร่รายงาน ที่หลายฝ่ายตั้งตารอ เกี่ยวกับการคุมขังชาวอุยกูร์จำนวนมากในมลฑลซินเจียงของจีนทันกำหนดเดิม

การเเสดงท่าทีครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการออกจากตำแหน่งของบาเชเลต์ วันที่ 31 สิงหาคมนี้ แม้ว่าเธอบอกเมื่อเดือนมิถุนายนว่าจะสามารถเผยเเพร่รายงานนี้ก่อนหมดวาระการดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็นก็ตาม

บาเชเลต์กล่าวล่าสุดว่าอาจการเกิดความล่าช้า และบอกว่ากำลังรับข้อมูลเพิ่มเติมจากฝ่ายจีน ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนการนำรายงานออกเผยเเพร่

"ในการพบกันของดิฉันกับเจ้าหน้าที่ดับสูงและระดับภูมิภาคในซินเจียง ดิฉันได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงรายงานเกี่ยวกับการคุมขังโดยพลการ... รายงานฉบับนี้ดูลึกลงไปถึงประเด็นเหล่านั้นและ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง ที่เกี่ยวกับชาวอุยกูร์ และชนกลุ่มน้อยที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมในซินเจียง" บาเชเลต์กล่าว

กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวหาจีนว่า กังขังหน่วงเหนี่ยวชาวอุยกูร์จำนวนมาก รวมถึงทารุณและกลั่นเเกล้งคนเหล่านี้ด้วย

ทั้งนี้เมื่อเดือนกรกฎาคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าจีนส่งจดหมายไปยังบาเชเลต์ และข้อร้องให้เธอไม่นำรายงานออกเผยเเพร่

บาเชเลต์ ซึ่งทำงานเป็นเวลา 3 ปี เพื่อจัดทำรายงานนี้ ยอมรับว่าได้จดหมายจริง แต่ไม่ใช่เรื่องแปลก และว่าจดหมายฉบับนั้นได้รับการลงนามจากนักการทูตราว 40 ประเทศ

เธอกล่าวเสริมว่า แม้จะถูกกดดันจากประเทศที่ต้องการไม่ให้นำรายงานออกมาเผยเเพร่ และอีกฝ่ายที่ต้องการให้ออกรายงานฉบับนี้ แต่เธอให้ความมั่นว่าจะตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ

UN China Xinjiang Labor

ในวันพุธ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวหาจีนว่าพยายามบิดเบือน และเข้าควบคุมการหารือระดับนานาชาติในประเด็นที่เกี่ยวกับซินเจียง นอกจากนั้นยังพยายามบั่นทอนความน่าเชื่อถือของเเหล่งข่าวอิสระที่รายงานเรื่อง "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติที่กระทำต่อชาวมุสลิมอุยกูร์"

กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่าจีนใช้เทคนิคต่างๆเช่น สกัดกั้นการออกรายงานเกี่ยวกับความโหดร้ายในซินเจียง และประโคมข่าวบนโซเชี่ยลมีเดียเพื่อสร้างภาพเชิงบวกในซินเจียง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติที่รับผิดชอบประเด็นเรื่องเเรงงานทาส กล่าวในรายงานว่า "มีเหตุผลที่จะสรุปได้ว่าเกิดการบังคับใช้เเรงงานต่อชาวอุยกูร์ ชาวคาซัคห์ และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในหลายภาคส่วน เช่นเกษตรกรรมและภาคการผลิต" ในเขตซินเจียง

อย่างไรก็ตามจีนปฏิเสธข้อหาเหล่านี้ เเละเคยอธิบายว่าเเย้งว่า ศูนย์สำหรับชาวอุยกูร์ในซินเจียงมีขึ้นเพื่อฝึกทักษะที่สำคัญต่อการมีอาชีพที่ดีในอนาคต

  • ที่มา: วีโอเอ เอพีและรอยเตอร์