สหประชาชาติเร่งเร้าให้นานาประเทศ ‘เพิ่มความพยายามสามเท่า’ เพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก

FILE - The coal-fired Plant Scherer, one of the nation's top carbon dioxide emitters, stands in the distance in Juliette, Ga., June 3, 2017. The Trump administration intends to roll back the centerpiece of former President Barack Obama’s efforts to slow g

Your browser doesn’t support HTML5

UN Climate Change

สหประชาชาติเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เพิ่มความพยายามเป็นสามเท่าเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ภายใต้เป้าหมายที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ว่าจะไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ภายในปี ค.ศ. 2030 หรืออีก 12 ปีจากนี้

ในรายงานประจำปีฉบับที่ 9 ของสหประชาชาติ ในหัวข้อ Environmental Program Emission Gap ซึ่งถูกเผยแพร่วันอังคารระบุว่า ในปี ค.ศ. 2030 อาจมีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกปริมาณ 15,000 ล้านตันเกินกว่าที่จะทำได้ตามเป้าหมายเรื่องการควบคุมภาวะโลกร้อน

รายงานฉบับดังกล่าว ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2030 ประเทศต่างๆ ควรลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก 55 เปอร์เซ็นต์ จากระดับของปีที่แล้ว หากว่าต้องการควบคุมภาวะโลกร้อน ให้ไม่เกิดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นกว่า 1.5 องศาเซลเซียส

เป้าหมาย 1.5 เซลเซียสถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยต่อสภาพภูมิอากาศโลก

หัวหน้าหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ Satya Tripathi กล่าวว่า ขณะนี้ดูเหมือนว่าจะมีการ “หลอกตัวเอง” ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ

เขากล่าวว่า ปัญหาใหญ่ที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ถูกพยายามมองข้าม คือการยอมรับว่ามีความเสี่ยงจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ

Satya Tripathi บอกด้วยว่าผลกระทบจากปัญหานี้ รับรู้ได้ตั้งแต่เรื่องความหลากหลายทางชีวะภาพ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สันติภาพของโลก ไปจนถึงการย้ายถิ่นฐานของประชากรโลก

ในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อสามปีก่อน นานาชาติเห็นพ้องต้องกันในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้อยู่แค่เพียง 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียส

หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ภายในปีค.ศ. 2030 สหประชาชาติเตือนว่า อาจเกิดภาวะอากาศที่รุนแรงอย่างที่สุด จนทำให้ประชากรโลกเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น

เมื่อวันศุกร์ รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกรายงานการประเมินผลกระทบจากสภาพอากาศ ซึ่งระบุว่า ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ อาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ นับแสนล้านดอลลาร์ ต่อปีในศตวรรษนี้

อย่างไรก็ตาม รายงานของสหประชาชาติระบุว่าประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด 20 อันดับแรกของโลก ยังไม่สามารถลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้ตามเป้าหมาย

ข้อมูลของสหประชาชาติ ที่เปิดเผยในวันอังคารระบุว่า ปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ประเทศต่างๆ ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกในปีที่แล้วแตะระดับ 53,000 ล้านตันหลังจากที่ลดลง 3 ปีก่อน ระดับดังกล่าวถือเป็นสถิติใหม่

สหประชาชาติจะจัดการประชุมเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ ที่ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 2 ถึง 14 ธันวาคม ซึ่งประเทศต่างๆ มีกำหนดว่าจะเสนอแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส

(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของ Wayne Lee)