เปรียบเทียบวิสัยทัศน์ ทรัมป์-ไบเดน: ใครบ้างคือ 'มิตรและศัตรู' ของสหรัฐฯ

FILE - In this combination of photos, former Vice President Joe Biden, left, speaks in Wilmington, Delaware, March 12, 2020, and President Donald Trump speaks at the White House in Washington, April 5, 2020.

Your browser doesn’t support HTML5

Biden Trump Foreign Policy


สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวอเมริกันที่ติดตามการจัดงานประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกัน และเดโมเเครต นอกจากจะได้ชมการปราศรัยสนับสนุนตัวเเทนของแต่ละพรรคเเล้ว ยังได้รับทราบจุดยืนของ อดีตรองประธานาธิบดี โจ ไบเดน จากเดโมเเครต และประธานาธิบดีทรัมป์​ แห่งพรรครีพับลิกัน ที่จะแข่งกันเป็นผู้นำสหรัฐฯ ในการเลือกตั้งวันที่ 3 พฤศจิกายน

ในบรรดาหัวข้อที่หลากหลายที่ทั้งคู่ได้แสดงทรรศนะ แนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของทั้งคู่

เวทีของพรรครีพับลิกันถูกใช้ไปเพื่อฉายภาพ ประธานาธิบดีทรัมป์​ในฐานะผู้นำประเทศที่มีอำนาจบัญชาการสูงสุดในการกดดันศัตรูและตั้งข้อเรียกร้องมากขึ้นต่อพันธมิตร

ในขณะเดียวกัน โจ ไบเดน กล่าวว่า เขาจะยืนอยู่ข้างพันธมิตร และจะไม่เข้าข้างผู้นำเผด็จการ

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีทรัมป์ กล่าวว่าโจไบเดน เป็นผู้นำที่อ่อนเเอ และเป็นผู้ที่จะสร้างความเสียหายต่อประเทศ

ทรัมป์กล่าวในสุนทรพจน์รับตำแหน่งเป็นตัวเเทนพรรคลงเลือกตั้งประธานาธิบดีว่า โจ ไบเดน ใช้เวลาทั้งหมดในอาชีพนักการเมืองของเขา ส่งงานที่ควรจะตกเป็นของคนอเมริกันไปต่างประเทศ เปิดพรมเเดนที่เป็นที่อยู่ของคนอเมริกัน และส่งลูกๆของชาวอเมริกันไปทำสงครามที่ไม่วันจบสิ้น ในต่างแดน

FILE - U.S. Marines stand guard during a change-of-command ceremony at Task Force Southwest military field in Shorab military camp of Helmand province, Afghanistan, Jan. 15, 2018.

โจ ไบเดนอดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ภายใต้การนำของบารัค โอบามา กล่าวที่การประชุมใหญ่ของพรรคเดโมเเครตว่า โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้นำที่อันตรายและได้บั่นทอนสถานภาพของอเมริกันบนเวทีโลก

เขากล่าวว่าถ้าตนได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ​ ตนจะไม่ทอดทิ้งพันธมิตร และเพื่อนพ้องของสหรัฐฯ​ขณะเดียวกันก็จะส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อศัตรู ว่าวันเวลาแห่งการสนิทสนมกัน กับผู้นำเผด็จการได้จบสิ้นลงแล้ว ไบเดนกล่าวด้วยว่าอเมริกาจะไม่นิ่งเฉยต่อการที่รัสเซียตั้งค่าหัวในการกำจัดทหารอเมริกัน

เข็มทิศนำทางของนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯภายใต้รัฐบาลโจ ไบเดน คือการยุติสงครามที่ยืดเยื้อ เสนองบกลาโหมที่ต่ำลง และเดินหน้าตำหนิจีนเรื่องการค้า ส่วนวาระหลักของฝ่ายรีพับลิกันจะสะท้อนมาจาก คำขวัญ “America First” ที่โยงกับการใช้ผลประโยชน์แห่งชาติของอเมริกาเป็นตัวนำนโยบาย ในส่วนนโยบายเกี่ยวกับจีนจีนและด้านความขัดเเย้งทางทหาร รีพับลิกันต้องการยุติการพึ่งพาจีน และนำลูกหลานอเมริกันเดินทางกลับจากสนามรบในต่างแดน

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ กล่าวว่าแนวทาง “อเมริกา มาก่อน” ของทรัมป์ อาจไม่ได้ทำให้ทรัมป์เป็นที่นิยมในหมู่รัฐบาลทั่วทุกมุมโลก แต่รัฐมนตรีพอมเพโอกล่าวว่า นโยบายนี้ใช้ได้ผลจริง

ฝ่ายเดโมเเครต ได้เสียงสนับสนุนจากพลเอก โคลิน พาเวลล์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสังกัดรีพับลิกัน สมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช

พลเอกพาเวลล์กล่าวว่า โจ ไบเดนจะช่วยดูแลทหารอเมริกัน และชี้ให้เห็นว่านายไบเดน มีประสบการณ์ร่วม กับอเมริกันชนหลายล้านครอบครัวที่มีทหารเป็นสมาชิก เพราะลูกชายคนหนึ่งของอดีตรองประธานาธิบดีผู้นี้ร่วมรบในสงคราม

ผู้ติดตามการประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกัน ได้เห็นประธานาธิบดีทรัมป์ใช้เวลาส่วนหนึ่ง กล่าวถึงจีน ทั้งในบริบทของ การเเพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส การค้าและการจ้างงาน ผู้นำสหรัฐฯบอกด้วยว่า รัฐบาลปักกิ่งจะครอบงำอเมริกา หากไบเดน ชนะเลือกตั้ง

ในเรื่องนี้ นักวิเคราะห์ โรเบิร์ต ดาลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ แห่งสถาบัน Kissinger Institute กล่าวว่า รีพับลิกัน ต้องการพูดถึงการกดดันจีนให้หนักขึ้น ส่วนเดโมเเครตต้องการพูดถึงการแข่งขันกับจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

FILE - Chinese and U.S. flags flutter near The Bund before U.S. trade delegation meets its Chinese counterparts for talks in Shanghai, China, July 30, 2019.

เขากล่าวว่าเรื่องนี้มิใช่ การยั่วมังกรให้โกรธด้วยวาทะกรรม แต่ต้องคิดถึงการใช้จุดเเข็งของสหรัฐฯ การดำเนินนโยบายการทูตและการทำงานกับมิตรประเทศ เพื่อแข่งกันกับจีน และปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ โดยมองถึงเป้าหมายระยะยาวในเรื่องที่สำคัญๆ

แม้มีการประชันวิสัยทัศน์กันอย่างเข้มข้นระหว่างทรัมป์และไบเดน อาจารย์วิลเลี่ยม ฮาเวลล์ ศาสตราจารย์ด้านการเมืองอเมริกันจากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าวว่าตัวตัดสินชัยชนะของการเลือกตั้งมีเรื่องอื่นด้วย อย่างแน่นอน

เขากล่าวว่า สิ่งที่สร้างความกังวลให้เเก่คนอเมริกันขณะนี้ มีตั้งแต่เรื่องการระบาดของโควิด-19 และเรื่องเศรษฐกิจ และนั่นยังไม่รวมถึง บุคลิกภาพ และลักษณะการเป็นผู้นำที่ผู้มิสทธิ์เลือกตั้งนำมาพิจารณาในการตัดสินใจวันที่ 3 พฤจิกายนนี้