องค์การอนามัยโลกรณรงค์ให้ยุติการใช้ไขมันสังเคราะห์ทั่วโลก

The World Health Organization said Friday that adults and children should limit their intake of saturated fat — found in foods such a meat — and trans fat — found in foods such as french fries.

Your browser doesn’t support HTML5

องค์การอนามัยโลกรณรงค์ให้ยุติการใช้ไขมันสังเคราะห์ทั่วโลก

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ประกาศว่าจะรณรงค์ให้ระบบการผลิตอาหารโลกปราศจากไขมัน Trans fat ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ และเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ WHO เดินหน้าให้เกิดการเลิกใช้สารซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคไม่ติดต่อ โดยตั้งเป้าการกำจัดไขมัน Trans fat ออกจากกระบวนการผลิตอาหารโลก ภายในปี ค.ศ. 2023 หรืออีก 5 ปีจากนี้

เลขาธิการใหญ่องค์การอนามัยโลก นายแพทย์ เทโดรส อัดฮานอม กีเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) เป็นผู้ประกาศความตั้งนี้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา

ไขมัน Trans fat เป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับ LDL หรือ คอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและอาการเส้นเลือดอุดตันในสมอง

นอกจากนี้ Trans fat ยังไปลดระดับคอเลสเตอรอล HDL ที่ดีต่อสุขภาพเพราะช่วยเรื่องการทำงานของหัวใจอีกด้วย

ไขมันเทียมนี้เป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นจากนำ้มันพืชที่ผ่านกระบวนการที่ใช้ไฮโดรเจน เพื่อให้นำ้มันกลายมาเป็นไขมันแข็ง เช่น เนยมาการีน เป็นต้น

นอกจากนี้ Trans fat ยังพบมากในขนมขบเคี้ยว เช่นมันฝรั่งทอด ขนมปัง เค้ก และของทอดต่างๆ

ไขมันสังเคราะห์ดังกล่าวถูกใช้อย่างแพร่หลายเพราะมีราคาถูก และเก็บได้นานกว่านำ้มันตามธรรมชาติ รวมทั้งสามารถนำกลับมาให้ความร้อนได้หลายๆครั้ง

องค์การอนามัยโลก ประเมินว่า แต่ละปีประชากรโลกเสียชีวิตจากโรคหัวใจจำนวน 5 แสนราย

เลขาธิการ WHO กล่าวว่า "เหตุใดเยาวชนทั่วโลกจึงต้องเผชิญกับส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ปลอดภัยเช่นไขมัน Trans fat"

ประเทศรำ่รวยหลายแห่งสามารถกำจัดไขมันเทียมนี้ได้ทั้งหมด ด้วยวิธีการทางกฎหมายที่กำหนดระดับของ Trans fat ในอาหารชนิดต่างๆ ที่ใส่บรรจุภัณฑ์

ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศเเรกที่ดำเนินการเช่นนี้ ผลที่ได้คือ คนในประเทศป่วยเป็นโรคหัวใจน้อยลง และปัจจุบันรัฐบาล 40 ประเทศใช้กฎหมายห้ามใช้ส่วนผสมอาหารที่เป็นไขมันดังกล่าว

นายแพทย์ทอม ฟรีเดน (Tom Frieden) อดีตหัวหน้าศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ของสหรัฐฯ ร่วมเปิดโครงการนี้กับเลขาธิการใหญ่ WHO และบอกกับวีโอเอว่า หากสามารถกำจัดไขมันชนิดนี้ออกจากระบบการผลิตอาหารได้ ประชากร 17 ล้านคนจะได้ประโยชน์ในอีก 25 ปีจากนี้

ทั้งนี้นายแพทย์ ฟรีเดนเป็นผู้ร่วมผลักดันให้ฝ่ายบริหารของนครนิวยอร์ก ห้ามการใช้ Trans fat เป็นส่วนประกอบอาหาร ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการด้านสาธารณสุขของนิวยอร์ก เขากล่าวด้วยว่า สิ่งที่นำมาใช้แทน Trans fat หลายชนิดมีราคาถูกถูกและหาซื้อง่าย

ในโครงการรณรงค์ให้ระบบผลิตอาหารโลกปราศจากไขมันไม่อิ่มตัว องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆใช้ยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วย

พิจารณาและทบทวนที่มาของไขมันTrans fat และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ นอกจากนั้นควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้ไขมันชนิดนี้หากจำเป็น

สนับสนุนการใช้ส่วนประกอบอาหารทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่า และสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยจาก Trans fat ในหมู่ประชาชน

ท้ายสุดต้องคอยตรวจสอบและวัดผลจากกฎหมายและนโยบายด้วยว่าได้ผลหรือไม่