อ่านระหว่างบรรทัด จดหมายเปิดผนึกเพื่อชีวิตคนผิวดำ'Letters For Black Lives'เวอร์ชั่นภาษาไทย

USA, Rylie Blue holds a sign during a Black Lives Matter march and rally Sunday, May 31, 2020, in Oshkosh, Wis.

Your browser doesn’t support HTML5

Thais in BLM Part 2

ปิด Letters for Black Lives - จดหมายเพื่อชีวิตของคนผิวดำ โครงการเขียนจดหมายเปิดผนึกที่เปิดโอกาสให้คนได้ร่วมเขียนและแปลเนื้อหาในหลายสิบภาษาเพื่อส่งสารไปยังกลุ่มคนเชื้อชาติต่างๆ ในสหรัฐฯ เพื่อเปิดความเข้าใจเหตุผลว่าทำไมทุกคน ทุกสีผิวจึงควรให้ความสำคัญต่อประเด็นความไม่ยุติธรรมต่อชาวผิวดำและการถูกกดขี่ในสังคม และร่วมต่อสู้ไปกับการเคลื่อนไหว BlackLivesMatter

“โปรเจคนี้ เริ่มจากกลุ่มเด็กเอเชียนอเมริกันก็คือเด็กเอเชียที่โตที่นี่ (ในอเมริกา) รวมตัวกันเพื่อจะมาเขียนจดหมายบอกข้อความให้กับครอบครัวของเขา ที่อาจจะไม่เข้าใจว่าการเคลื่อนไหวตรงนี้คืออะไร เขาทำอะไรอยู่ ทำไมสำคัญ ทำไมมีเหตุการณ์ ตามสถานที่ต่างๆที่เกิดขึ้น และนั่นคือจุดเริ่มของเรา แล้วพอดีมีคนชวนเข้าไปในฐานะนักภาษาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย แล้วก็ในฐานะที่เป็นเด็กไทยที่โตในอเมริกาเช่นกัน"

ผศ. กัญจนา เทพบริรักษ์ ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ อธิบายจุดเริ่มต้นของการเข้าร่วมโครงการเขียนจดหมายเปิดผนึก "Letters for Black Lives" หรือ "จดหมายเพื่อชีวิตของคนผิวดำ" ที่ได้รับการแปลเป็นหลายภาษาเพื่อส่งสารไปยังครอบครัวของกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ในสหรัฐฯ เพื่อทำความเข้าใจถึงเหตุผลว่าทำไมทุกคน ทุกสีผิวจึงควรให้ความสำคัญต่อประเด็นที่ชาวผิวดำถูกกดขี่ในสังคม

Thai version of Letters for Black Lives

คลิกอ่าน Letters for Black Lives - จดหมายเพื่อชีวิตของคนผิวดำ ►https://lettersforblacklives.com/

อ่านระหว่างบรรทัด ทำไมต้องยืนข้าง 'แบล็คไลฟส์แมทเทอร์​' ?

อาจารย์ กัญจนา เป็นหนึ่งในคณะผู้แปลชาวคนไทย-อเมริกัน 8 คนที่ร่วมแปลจดหมาย Letters for Black Lives เป็นภาษาไทย โดยพยายามสื่อเนื้อความให้ตรงกับต้นฉบับมากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องสื่อสารและสร้างความเข้าใจเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนในจดหมายฉบับนี้ให้กับผู้อ่านเช่นกัน

“วัตถุประสงค์ของจดหมายคือการสนทนากันระหว่างคนที่สนิทกัน ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสังคมไทย และในวัฒนธรรมไทย จะมีรูปแบบแตกต่าง การปฏิบัติตัวแตกต่างจากในสังคมอเมริกัน หรือในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งแค่ระหว่างวัฒนธรรมชาวเอเชียยังมีความแตกต่างกันนิดนึง แล้วเราจะสื่อความสัมพันธ์แบบไทยๆ แบบครอบครัวไทยอย่างไร ในจดหมายฉบับนี้ ซึ่งต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจจะใช้คำว่า 'Dear Parents', 'Dear Loving Family' แต่ความหมายมันไม่เหมือนกัน แล้วเราจะแทนตัวเองอย่างไรในจดหมาย จะใช้สรรพนามอะไรแทนตัวผู้พูด??..”

พออ่านจดหมายฉบับนี้ เขาอาจจะมีคำถาม อาจจะต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และอาจจะเป็นจุดเริ่มที่เขาไม่เห็นด้วย และเขาจะพยายามหาข้อมูลที่จะถกเถียงกับสิ่งที่เรากล่าวในจดหมายฉบับนี้ก็ได้ ไม่เป็นไร..แต่ขอให้เขาเรียนรู้ ...
ผศ. กัญจนา เทพบริรักษ์ ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์

การใส่ใจในรายละเอียดที่คณะผู้แปลพยายามเน้นย้ำ และถ่ายทอด ภาษา ความรู้สึกในเนื้อหาใจความ จากทุกตัวอักษร ในทุกบรรทัด และใจความระหว่างบรรทัดของต้นฉบับไปยังผู้อ่าน จึงถือเป็นความท้าทายสำคัญของคณะผู้แปลในภาษาไทย

“การเคลื่อนไหวอันนี้ อาจจะเป็นจุดเริ่ม การศึกษา หรือว่าการเข้าร่วม ที่อาจจะมีใครบางคนที่ไม่เข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่พออ่านจดหมายฉบับนี้ เขาอาจจะมีคำถาม อาจจะต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และอาจจะเป็นจุดเริ่มที่เขาไม่เห็นด้วย และเขาจะพยายามหาข้อมูลที่จะถกเถียงกับสิ่งที่เรากล่าวในจดหมายฉบับนี้ก็ได้ ไม่เป็นไร..แต่ขอให้เขาเรียนรู้ สื่อสาร ว่าทำไม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ตลอดปี ทุกปี ตลอดมาหลายปีแล้ว มายาวนาน” ผศ.กัญจนา ทีมอาสาสมัครแปลจดหมายเปิดผนึก Letters for Black Lives เวอร์ชั่นภาษาไทย บอกกับ 'วีโอเอ ไทย'

Protesters participate in a Black Lives Matter rally on Mount Washington in Pittsburgh on Sunday, June 7, 2020, to protest the death of George Floyd, who died May 25 after being restrained by police in Minneapolis. (AP Photo/Gene J. Puskar)

รวมพลังเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงด้ัานสิทธิพลเมือง

นักวิชาการจาก ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ ​ บอกถึง ความสำคัญของการได้มีส่วนร่วมสนับสนุน การเคลื่อนไหวทางสังคม BlackLivesMatter ครั้งนี้ คือเรื่องจำเป็นที่ชุมชนไทย หรือ ชุมชนคนกลุ่มน้อยอื่นๆในอเมริกาต้องร่วมมือกัน จนกลายเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่การเปลี่ยนแปลง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิพลเมือง ตั้งแต่ยุค สาธุคุณ มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 60

“ความเป็นมนุษย์ด้วยกัน แล้วก็ ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าเราอาจจะไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเท่าเขา แต่เราก็ได้รับผลกระทบอยู่เช่นกัน แล้วถ้าชุมชนชาวไทยที่นี่ถ้าเราอยากจะนับว่าเราเป็นสมาชิกในสังคมอเมริกัน เราต้องมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม เปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้นสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่กลุ่มเรากลุ่มเดียว..

Rev. Ralph Abernathy and Martin Luther King, Jr., are taken by a policeman as they led a line of demonstrators into the business section of Birmingham, Alabama, April 12, 1963.

..แล้วประวัติศาสตร์​ของการเข้าประเทศ หรือการเข้าเมืองได้ ของคนเอเชีย หรือคนต่างด้าว ไม่ใช่คนไทยอย่างเดียว กฎหมาย Hart–Celler Act (กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และสัญชาติสหรัฐฯ : Immigration and Nationality Act) ในปี ค.ศ.1965 มีผู้นำคนดำหลายคนที่มีบทบาทเปลี่ยนแปลงนโยบายคนเข้าเมือง และเปิดโอกาสให้ชุมชนชาวเอเชียให้สามารถเข้ามาใช้ชีวิตที่นี่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะพูดถึงชุมชนไทย เขาเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นผู้มีบุญคุณกับเรา และขณะเดียวกันการต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมในสังคม ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อเมริกา เกิดขึ้นหลายครั้ง หลายปีมายาวนานมาก และเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ แล้วความเท่าเทียมกันก็ยังไม่เกิดขึ้น ความยุติธรรมก็ยังไม่มี

Kanjana Thepboriruk, lecturer in Thai language and culture at Northern Illinois University

เรียนรู้ ความไม่เท่าเทียม เหลื่อมล้ำ จากทั่วโลก

อาจารย์จากภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์ย้ำด้วยว่า การส่งสารให้คนไทยในประเทศไทยเข้าใจถึงสาระสำคัญของการเคลื่อนไหว 'Black Lives Matter'นั้น ไม่ยากเกินไป นอกจากนี้ ประเด็นดังกล่าวยังเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียม การละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่แล้ว


“ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมเกิดขึ้นทั่วโลก แล้วความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่นี่ (อเมริกา) ก็เป็นแค่ตัวอย่างการละเมิดสิทธิมนุษชนของที่นี่ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นทั่วโลก เรายกตัวอย่างได้ อันนี้ก็เกิดขึ้นทีเมืองไทย รูปแบบที่เกิดขึ้นเมืองไทยอาจจะเกิดขึ้นกับคนกลุ่มนี้ แต่คนที่นี่ก็เกิดขึ้นกับคนที่กลุ่มนี้ มันเป็นอะไรที่เราสามารถใช้เป็นตัวอย่าง (ในการเรียนรู้) ”

Dr. Martin Luther King Jr. hops over a puddle as it rains in Selma, Alabama. He led hundreds of African Americans to the courthouse in a voter registration drive, March 1, 1965.

“คนผิวดำเจ็บปวดลำบากขนาดไหนถึงต้องออกมาเสี่ยงชีวิตเรียกร้องความยุติธรรม มาประท้วงในช่วงโควิด…. ประวัติศาสตร์ไทยเองก็อุดมด้วยการประท้วงและมีจลาจลบ่อยครั้ง ทั้งทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เป็นไปไม่ได้ที่คนไทยไม่เข้าใจกระบวนการเรียกร้องความยุติธรรมในสังคม.."

ติดตาม รายงานตอนที่ 3 สะท้อนมุมมอง นักวิชาการด้านเอเชียนอเมริกันศึกษา จากมหาวิทยาลัยเนวาดา นคร ลาส เวกัส เชื้อสายไทย ที่จะมีแง่มุมทางวิชาการและประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับความสำคัญและนัยะสำคัญของการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมที่คนไทยสามารถเรียนรู้ได้จากเหตุการณ์นี้