สะท้อนมุมมองคนไทยในอเมริกา ทำไมต้องหนุน Black Lives Matter

A man and a woman hold hands aloft in Hyde Park during a "Black Lives Matter" protest following the death of George Floyd who died in police custody in Minneapolis, London, Britain, June 3, 2020.

Your browser doesn’t support HTML5

Thais in BLM Part 1


อาชวี ธรรมวาสี ชาวไทยในนครชิคาโก เป็นหนึ่งในกลุ่มคนไทยในรัฐอิลลินอยส์ที่ตัดสินใจเข้าร่วมการเดินขบวนสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมของคนผิวดำ หรือ Black Lives Matter ตามย่านต่างๆ ในรัฐอิลลินอยส์หลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา

Archawee Dhamavasi (right), a 43-year-old Thai-American mother goes to a Black Lives Matter protest with her daugther, Natasha Dhamvasi (second from left), in Downers Grove village, Illinois on June 7, 2020


แรงผลักดันจากลูกสาววัยมัธยมฯ

เธอเดินทางไปร่วมชุมนุมพร้อมกับลูกสาว 2 คน ที่แม้จะกำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาแต่ก็ให้ความสนใจ กับปรากฎการณ์การออกมาชุมนุมของผู้คนที่มองเห็นไม่ถูกต้องบางอย่างจากกรณีการเสียชีวิตของนาย 'จอร์จ ฟลอยด์' ชายผิวดำที่ถูกตำรวจผิวขาวในนครมินเนแอโปลิสใช้เข่ากดทับคอระหว่างจับกุมเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

“ที่ไปเดินครั้งนี้ เป็นเพราะลูกสาว ซี่งเป็นนักเรียนใหม่เพิ่งเข้าระดับไฮท์สคูล (High School) หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย (เกรด10 เทียบเท่า ม.4) เขาสนใจเรื่องนี้มาก ลูกอีกคนอยู่เกรด 7(ม.1) ก็สนใจเรื่องนี้ พอเขามาขอให้เราพาไป เขาบอกให้เราพาไป เราก็ปฏิเสธไม่ได้ .." อาชวี บอกกับวีโอเอ ไทย ถึงส่วนหนึ่งของเหตุผลและความสนใจที่ทำให้ออกไปร่วมชุมนุม

“ดิฉันอยู่ในแถบชานเมือง(ชิคาโก) ที่มีความหลากหลายมาก มีทุกผิวสี มีทุกชนชาติ ทุกศาสนา วันแรกที่ไปคือไดเวิร์ส (หลากหลาย) มาก แต่ว่าที่ไปเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วอยู่ในเมืองที่เป็นคนขาวล้วนๆ ในเมืองที่เป็นริพับลิกันเลย แต่ว่าคนออกมาเดินเป็นพันคน และกว่าร้อยละ 90 เป็นผิวขาว ทุกเพศทุกวัยเลย ซึ่งกลายเป็นความประทับใจ ที่เริ่มมีความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเมืองนี้ ที่เป็นริพับลิกันหมดเลย”

Washington DC Protest - Saturday 06.06.20

‘เสียงของเราคือพลัง’ ถ้าเห็นสิ่งไม่ถูกต้อง ต้องพูด!

ประสบการณ์สำคัญของการออกไปร่วมกิจกรรมการชุมนุม มาพร้อมๆกับการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมต่อชุมชน ที่ได้แสดงออกถึงการเรียกร้องความเท่าเทียมทางสิทธิพลเมือง และสิทธิของการแสดงความคิดเห็น ซึ่งทั้งคุณอาชวี และลูกสาววัยรุ่น สามารถสัมผัสได้โดยตรงจากกิจกรรมตรงหน้า

(เราสอนลูกว่า) Your voice is your power - ‘เสียงของเราคือพลัง’ มันเป็นสิ่งที่จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้น ลูกจะได้ยินแม่พูดตลอดเวลา ถ้าเราเห็นอะไรที่ผิด เราก็ต้องพูด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำแบบที่เด็กไปรังแกคนอื่น ถ้าเราเห็นแล้วเราไม่พูด ก็เท่ากับคุณก็ไปช่วยรังแกเขาเหมือนกัน มันอาจจะเป็นตรงนี้ที่เขาเห็นว่าการกระทำตรงนี้ไม่ถูกต้อง”

Natasha Dhamavasi (second from right), Archawee Dhamavasi's daughter, holds a banner during a Black Lives Matter protest in Downers Grove village, Illinois on June 7, 2020

คุณพ่อเป็นตำรวจ คุณลูกออกไปเคลื่อนไหว 'Black Lives Matter' ได้

อาชวี เล่าให้วีโอเอ ไทย ว่า แม้เด็กๆจะออกไปเคลื่อนไหวสนับสนุนการเดินขบวนเรียกร้องความเท่าเทียมให้คนผิวดำแต่ก็มีกรณีตัวอย่างที่อธิบายได้ดีถึงการแยกแยะ เหตุผล และข้อเท็จจริง

"..ในอีกมุมหนึ่ง คือ สามีของดิฉันเป็นตำรวจค่ะ เด็กๆเขาก็มีความคิดขัดแย้งบ้าง คือ สนับสนุน 'Black Lives Matter' แต่พ่อก็เป็นตำรวจ และพ่อก็ไม่ใช่คนไม่ดี ก็เลยต้องอธิบายให้เขาเหมือนกันว่า ‘Black Lives Matter does not mean Anti Police’ (การเคลื่อนไหวสนับสนุนเพื่อเรียกร้องสิทธิคนผิวดำ ไม่จำต้องกลายเป็นการต่อต้านตำรวจ) แค่เป็นแค่ตำรวจบางคนที่ตัดสินคนด้วยสีผิว ซึ่งมันไม่ถูกต้อง”

A demonstrator stands in front of Chicago Police officers during the March for Justice in honor of George Floyd Saturday, June 6, 2020, in Chicago. Demonstrators who gathered at Union Park marched through the city's West Side on Saturday afternoon,…

'อาชวี' ซึ่งเป็นอาจารย์สอนด้านนิเทศศาสตร์ ที่ Triton College สถาบันอุดมศึกษาในรัฐอิลลินอยส์ ชานนครชิคาโก ซึ่งเกิด เติบโต และทำงานในอเมริกา บอกเล่ามุมมองจากประสบการณ์ที่เธอสัมผัสในฐานะชนกลุ่มน้อยเชื้อสายไทย ที่เคยเผชิญกับปัญหาการเหยียดสีผิว และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติที่ซ่อนอยู่ในสังคมอเมริกัน จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังและเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เธอต้องการยืนหยัดร่วมกับการเคลื่อนไหวครั้งนี้

“ถ้าจะมองจากมุมมองคนไทย ทุกครั้งที่คุณเดินไปไหน แล้วมีบอกว่า GO HOME!! (กลับบ้านไปซะ!) หรือว่าคนอาจจะมองคุณด้วยสายตา โดยเฉพาะช่วงโควิด19 ตอนนี้มีที่คน(จำนวนหนึ่ง) ดูถูกคนเอเชีย หรือ ว่ารังเกียจคนเอเชีย ตรงนี้ล่ะค่ะ ถ้า Black Lives Matter เปลี่ยนได้ สำหรับคนเอเชียก็จะดีขี้น ไม่ว่าเอเชีย ฮิสแปนิก (คนพูดภาษาสเปน) ทุกอย่าง คือการเหยียดผิว ซึ่งอย่างที่บอก มันไม่ใช่แค่การเหยียดผิวต่อคนผิวดำอย่างเดียว แต่ว่าเป็นการเหยียดผิวของทุกคนที่ไม่ใช่คนผิวขาว ตรงนี้ล่ะค่ะ ซึ่งเราไม่ควรจะไปตัดสินคนที่ภายนอก ผิวสี หรือฐานะ“


ขณะที่ จินตนา เกศสงคราม รองนายกสมาคมไทย ณ อเมริกา และผู้นำองค์กรของชุมชนไทยในสหรัฐฯ หลายองค์กร เป็นอีกคนที่ให้ความสำคัญและเข้าร่วมการประท้วง Black Lives Matter หลายครั้งในกรุงวอชิงตันเช่นเดียวกัน เธอบอกว่า กลุ่มองค์กรชนกลุ่มน้อยในสหรัฐฯ ทั้งชาวไทย และชาวเอเชียต่างแสดงจุดยืนและระดมความร่วมมือให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวครั้งนี้เพื่อเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

“แล้วเขาก็เรียกร้องกลุ่มของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย (เอเชียนอเมริกัน) ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะไทยอเมริกัน จีน หรือ มาเลเซีย และองค์กรอื่นๆ เชื้อสายเอเชีย ที่ทำงานภายในชุมชน ในสังคมชาวเอเชีย มาร่วมกัน ให้เข้าใจและตระหนักถึงปัญหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาติสีผิว เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ และทำให้เกิดปัญหาในวงกว้างของภาคประชาชน”

Washington DC Protest - Saturday 06.06.20

การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กร และภาคประชาชนในสหรัฐอเมริกา ที่ยืนหยัดเพื่อเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงและความเท่าเทียม เคียงคู่เป็นหนึ่งเดียวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Black Lives Matter กลายเป็นปรากฎการณ์สำคัญที่สะท้อนถึงปัญหาทางเชื้อชาติและสีผิวที่ฝังอยู่ในสังคมอเมริกันมายาวนาน และยังไม่ได้รับการแก้ไข

ติดตาม รายงานตอนที่ 2 เรื่องราวของ 'Letters for Black Lives' ซึ่งเป็นโครงการเขียนและแปลจดหมายเป็นภาษาต่างๆ ที่ส่งสารไปยังครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายในสหรัฐฯ ถึงความสำคัญว่าทำไมทุกคน ทุกสีผิวจึงควรให้ความสำคัญต่อประเด็นที่ชาวผิวดำถูกกดขี่ในสังคม