ผู้สื่อข่าววีโอเอ ลงพื้นที่รายงานจาก จ.นราธิวาส เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่ดำเนินมาต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2547มีจำนวนผู้เสียชีวิตรวมกันแล้วมากกว่า 5 พันคน แม้ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลไทยจะยอมเปิดการเจรจากับผู้แทนกลุ่มก่อความไม่สงบอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี แต่ก็ยังไม่เกิดผลที่เป็นรูปธรรมนัก
เด็กนักเรียนวัยอนุบาลและวัยประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านตันหยง อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ยังคงไปโรงเรียนตามปกติ ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ทหารติดอาวุธครบมือคอยรักษาความปลอดภัยประจำการอยู่ในโรงเรียน
ฝันร้ายของครูและเด็กๆโรงเรียนบ้านตันหยงเมื่อหลายเดือนก่อนดูเหมือนจะยังไม่จางหาย หลังเผชิญกับเหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธปืนสังหารนายชลธี เจริญชล ครูในโรงเรียนจนเสียชีวิตอย่างเลือดเย็นในระหว่างพักรับประทานอาหารกลางวัน และทิ้งไว้ซึ่งคำถามที่แม้แต่ครูในโรงเรียนก็ยังไม่สามารถคำตอบให้เด็กๆได้
ผู้สื่อข่าววีโอเอ รายงานว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมกว่าร้อยละ 90 ยังคงถือเป็นพื้นที่สีแดงที่เต็มไปด้วยอันตราย แม้เป้าหมายการถูกโจมตีส่วนมากเป็นเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางของไทย แต่ก็มีชาวมุสลิมในพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ตกเป็นเป้าเช่นกัน จนมีความกังวลมากขึ้นว่าหากความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจจะนำพาไปสู่การเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายในระดับนานาชาติได้
ผศ.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี ผอ.สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววีโอเอ ยอมรับว่าแนวคิดดังกล่าวอาจมีความเป็นไปได้ เพราะหากตราบใดที่ยังคงมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรัฐบาลไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทุกสิ่งก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งรวมไปถึงการเชื่อมเชื่อมโยงกับกลุ่มหัวรุนแรงหรือผู้ก่อการร้ายในระดับนานาชาติ
ด้าน อับดุลเราะห์มาน อับดุลสมัด ประธานสมาพันธ์กรรมการอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สัมภาษณ์กับ ผู้สื่อข่าว VOA ว่า ความขัดแย้งทางศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดแต่ไม่ใช่สาเหตุความขัดแย้งทั้งหมดแต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างการปกครองและวัฒนธรรม
ความพยายามในการเจรจาระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งล่าสุดมีข้อตกลงร่วมกันว่าต้องการลดความรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม แต่หลายคนก็ยังกังวลว่าข้อสรุปบนโต๊ะเจรจานั้นไม่มีหลักประกันใดๆว่าจะสำเร็จและทำได้จริง ท่ามกลางความรุนแรงที่ยังไม่มีทีท่าจะยุติ
ขณะที่ Dato Nazirah Hussain ดาโต๊ะ นาซิราห์ ฮุสเซน ทูตองค์กรความร่วมมืออิสลาม จากมาเลเซีย หนึ่งในคณะฑูตจากประเทศมุสลิมที่กว่า 17 ประเทศที่เดินทางไปร่วมเวทีสัมนาเชิงวิชาการระดับนานาชาติเกี่ยวกับ ชาวมุสลิมในประเทศไทย ซึ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.ร่วมกับสำนักงานจุฬาราชมนตรีจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงความเชื่อมั่นว่า การเจรจายังคงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ทูตองค์กรความร่วมมืออิสลาม จากมาเลเซีย บอกว่า การเจรจาเปรียบเสมือนเป็นแสงสว่างที่รออยู่ปลายอุโมงค์ซึ่งเป็นเรื่องดีที่เกิดการเจรจาจากทั้งฝ่ายรัฐไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็น อย่างน้อยก็ได้พูดคุยกันมากขึ้น
การจัดเวทีสัมมนาดังกล่าวที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจรวมทั้งนำเสนอผลการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของทางการไทยต่อตัวแทนประเทศสมาชิกองค์กรความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC ให้มากขึ้น
Your browser doesn’t support HTML5
เด็กนักเรียนวัยอนุบาลและวัยประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านตันหยง อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ยังคงไปโรงเรียนตามปกติ ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ทหารติดอาวุธครบมือคอยรักษาความปลอดภัยประจำการอยู่ในโรงเรียน
ฝันร้ายของครูและเด็กๆโรงเรียนบ้านตันหยงเมื่อหลายเดือนก่อนดูเหมือนจะยังไม่จางหาย หลังเผชิญกับเหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธปืนสังหารนายชลธี เจริญชล ครูในโรงเรียนจนเสียชีวิตอย่างเลือดเย็นในระหว่างพักรับประทานอาหารกลางวัน และทิ้งไว้ซึ่งคำถามที่แม้แต่ครูในโรงเรียนก็ยังไม่สามารถคำตอบให้เด็กๆได้
ผู้สื่อข่าววีโอเอ รายงานว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมกว่าร้อยละ 90 ยังคงถือเป็นพื้นที่สีแดงที่เต็มไปด้วยอันตราย แม้เป้าหมายการถูกโจมตีส่วนมากเป็นเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางของไทย แต่ก็มีชาวมุสลิมในพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ตกเป็นเป้าเช่นกัน จนมีความกังวลมากขึ้นว่าหากความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจจะนำพาไปสู่การเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายในระดับนานาชาติได้
ผศ.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี ผอ.สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววีโอเอ ยอมรับว่าแนวคิดดังกล่าวอาจมีความเป็นไปได้ เพราะหากตราบใดที่ยังคงมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรัฐบาลไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทุกสิ่งก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งรวมไปถึงการเชื่อมเชื่อมโยงกับกลุ่มหัวรุนแรงหรือผู้ก่อการร้ายในระดับนานาชาติ
ด้าน อับดุลเราะห์มาน อับดุลสมัด ประธานสมาพันธ์กรรมการอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สัมภาษณ์กับ ผู้สื่อข่าว VOA ว่า ความขัดแย้งทางศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดแต่ไม่ใช่สาเหตุความขัดแย้งทั้งหมดแต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างการปกครองและวัฒนธรรม
ความพยายามในการเจรจาระหว่างรัฐไทยกับกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งล่าสุดมีข้อตกลงร่วมกันว่าต้องการลดความรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม แต่หลายคนก็ยังกังวลว่าข้อสรุปบนโต๊ะเจรจานั้นไม่มีหลักประกันใดๆว่าจะสำเร็จและทำได้จริง ท่ามกลางความรุนแรงที่ยังไม่มีทีท่าจะยุติ
ขณะที่ Dato Nazirah Hussain ดาโต๊ะ นาซิราห์ ฮุสเซน ทูตองค์กรความร่วมมืออิสลาม จากมาเลเซีย หนึ่งในคณะฑูตจากประเทศมุสลิมที่กว่า 17 ประเทศที่เดินทางไปร่วมเวทีสัมนาเชิงวิชาการระดับนานาชาติเกี่ยวกับ ชาวมุสลิมในประเทศไทย ซึ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.ร่วมกับสำนักงานจุฬาราชมนตรีจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงความเชื่อมั่นว่า การเจรจายังคงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ทูตองค์กรความร่วมมืออิสลาม จากมาเลเซีย บอกว่า การเจรจาเปรียบเสมือนเป็นแสงสว่างที่รออยู่ปลายอุโมงค์ซึ่งเป็นเรื่องดีที่เกิดการเจรจาจากทั้งฝ่ายรัฐไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็น อย่างน้อยก็ได้พูดคุยกันมากขึ้น
การจัดเวทีสัมมนาดังกล่าวที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจรวมทั้งนำเสนอผลการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของทางการไทยต่อตัวแทนประเทศสมาชิกองค์กรความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC ให้มากขึ้น