หนังสือพิมพ์ใหญ่ของสหรัฐฯ สามฉบับคือ New York Times, Wall Street Journal และ Washington Post แสดงความเห็นในบทบรรณาธิการประจำวันที่ 20 พฤษภาคมเกี่ยวกับการประกาศกฎอัยการศึกในประเทศไทย โดยหนังสือพิมพ์ New York Times ในบทบรรณาธิการชื่อ “The Military, Again, Takes Over in Thailand” เห็นว่า การประกาศกฎอัยการศึกภายใต้เหตุผลเรื่องการฟื้นฟูความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยครั้งนี้คงจะเรียกเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากการปฏิวัติ และว่าพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้ระบุว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการประนีประนอมทางการเมือง หรือจะคืนอำนาจการควบคุมให้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อใด New York Times ชี้ด้วยว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ควรแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่สนับสนุนการกระทำครั้งนี้และกองทัพควรคืนอำนาจการปกครองให้กับพลเรือนผ่านการเลือกตั้งโดยทันที
ส่วนหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจ Wall Street Journal แสดงความเห็นเช่นกันในบทบรรณาธิการชื่อ “Another Coup in Thailand” ว่าไม่มีเหตุผลสมควรในการใช้กฎอัยการศึกครั้งนี้ และว่าหากมีสูญญากาศทางการเมืองเกิดขึ้นเรื่องนี้ก็เป็นผลมาจากกองทัพบกและสถาบันต่างๆ ซึ่งควบคุมโดยกลุ่มชนชั้นนำนั่นเอง Wall Street Journal เสริมด้วยว่าความวิตกกังวลของนักลงทุนจากการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ประท้วงเมื่อปี 2553 และการที่ผู้นำกลุ่มคนเสื้อแดงบางคนประกาศว่าพร้อมที่จะทำสงครามกลางเมืองมีส่วนทำให้เศรษฐกิจของไทยหดตัวลง 0.6 % ในช่วงไตรมาศแรกของปี
สำหรับ Washington Post ในบทบรรณาธิการชื่อ “Martial Law in Thailand is Worrisome But Offers an Opportunity for Accord” ก็ชี้ว่า ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันอังคารจะนับเป็นการทำรัฐประหารอีกครั้งหรือไม่ แต่หากผบ.ทบ.ของไทยมีความตั้งใจจริงเพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางโดยไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องการก้าวเข้ามาของกองทัพครั้งนี้ก็จะเป็นผลดี แต่หากมีขึ้นเพื่อช่วยให้กลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลประสบความสำเร็จในการได้รัฐบาลซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้วก็จะถือว่าเป็นการปฏิวัติ และสมควรที่สหรัฐฯ กับประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ จะตอบโต้อย่างรุนแรง หนังสือพิมพ์ Washington Post สรุปในตอนท้ายว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งลังเลที่จะเรียกการยึดอำนาจในอียิปต์เมื่อปีที่แล้วว่าเป็นการปฏิวัติได้ส่งสัญญาณที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แถลงว่ารัฐบาลอเมริกันคาดหวังว่ากองทัพไทยจะไม่บ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย และเน้นความสำคัญของการเลือกตั้งเพื่อช่วยกำหนดเจตนารมณ์ของประชาชนไทย ซึ่งหากผู้นำกองทัพไทยไม่เคารพในหลักการดังกล่าวแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ไม่ควรลังเลที่จะระงับความช่วยเหลือและความร่วมมือทางทหารกับประเทศไทย
ส่วนหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจ Wall Street Journal แสดงความเห็นเช่นกันในบทบรรณาธิการชื่อ “Another Coup in Thailand” ว่าไม่มีเหตุผลสมควรในการใช้กฎอัยการศึกครั้งนี้ และว่าหากมีสูญญากาศทางการเมืองเกิดขึ้นเรื่องนี้ก็เป็นผลมาจากกองทัพบกและสถาบันต่างๆ ซึ่งควบคุมโดยกลุ่มชนชั้นนำนั่นเอง Wall Street Journal เสริมด้วยว่าความวิตกกังวลของนักลงทุนจากการใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ประท้วงเมื่อปี 2553 และการที่ผู้นำกลุ่มคนเสื้อแดงบางคนประกาศว่าพร้อมที่จะทำสงครามกลางเมืองมีส่วนทำให้เศรษฐกิจของไทยหดตัวลง 0.6 % ในช่วงไตรมาศแรกของปี
สำหรับ Washington Post ในบทบรรณาธิการชื่อ “Martial Law in Thailand is Worrisome But Offers an Opportunity for Accord” ก็ชี้ว่า ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อวันอังคารจะนับเป็นการทำรัฐประหารอีกครั้งหรือไม่ แต่หากผบ.ทบ.ของไทยมีความตั้งใจจริงเพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางโดยไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องการก้าวเข้ามาของกองทัพครั้งนี้ก็จะเป็นผลดี แต่หากมีขึ้นเพื่อช่วยให้กลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลประสบความสำเร็จในการได้รัฐบาลซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้วก็จะถือว่าเป็นการปฏิวัติ และสมควรที่สหรัฐฯ กับประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ จะตอบโต้อย่างรุนแรง หนังสือพิมพ์ Washington Post สรุปในตอนท้ายว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งลังเลที่จะเรียกการยึดอำนาจในอียิปต์เมื่อปีที่แล้วว่าเป็นการปฏิวัติได้ส่งสัญญาณที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แถลงว่ารัฐบาลอเมริกันคาดหวังว่ากองทัพไทยจะไม่บ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย และเน้นความสำคัญของการเลือกตั้งเพื่อช่วยกำหนดเจตนารมณ์ของประชาชนไทย ซึ่งหากผู้นำกองทัพไทยไม่เคารพในหลักการดังกล่าวแล้วรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ไม่ควรลังเลที่จะระงับความช่วยเหลือและความร่วมมือทางทหารกับประเทศไทย