"โควิดมันโหดร้าย" คุยกับ "อัญชลี ดุลยฐิติกุล" พยาบาลไทยในอเมริกา ประสบการณ์ 1 ปีหลังระบาดใหญ่

Anchalee Dulayathitikul wears PPE during her shift at the COVID-19 Intensive Care Unit of the UM Upper Chesapeake Medical Center in Bel Air, MD. April 5, 2020.

Your browser doesn’t support HTML5

Thai Frontline Health Workers Pandemic Covid-19 Pt.1


“ส่วนใหญ่มาด้วยเรื่องระบบล้มเหลวทางทางเดินหายใจคือมีอาการเหนื่อยหอบและออกซิเจนลดระดับลงอย่างรวดเร็วมากแล้วก็ชีพจรจะเต้นเร็ว เราต้องช่วยชีวิตเขาก่อนด้วยการใส่เครื่องช่วยหายใจ ..แต่สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือเราไม่รู้ว่าโควิด มีผลกระทบรวดเร็วขนาดนี้”

อัญชลี ดุลยฐิติกุล พยาบาลชาวไทยในแผนกผู้ป่วยหนัก ของโรงพยาบาล University of Maryland Upper Chesapeake Medical Center ในรัฐแมรีแลนด์ เล่าถึงประสบการณ์การรับมือผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงเริ่มต้นการระบาดใหญ่เมื่อ 1 ปีที่ก่อน ที่ต้องแข่งกับเวลาเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วยที่ถูกโจมตีในระบบทางเดินหายใจและร่างกาย

“ที่ทำให้เราแย่แล้วล่ะทำให้มันเร็วมากก็คือ เมื่อมันกระทบที่ปอด..ภายในระยะเวลา 1 วันปอดสามารถโดนทำลายไปอย่างมาก จากเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 30-20 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลาไม่กี่วันทำให้เขาหายใจเองไม่ได้แล้ว อย่างที่เคยเห็นเนี่ยภายใน 4 นาทีที่ระดับออกซิเจนลดลงภายในเวลาอันรวดเร็วแต่ด้วยความที่เรามีเครื่องมือในการติดตามอาการคนไข้ทันสมัยให้เราช่วยเหลือเขาได้ทันท่วงที แต่บางรายที่ต้องจากโลกนี้ไป เพราะว่า โรคเดิมที่มีอยู่มาทำให้เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้เขาแย่ลงภายในเวลาระยะสั้น”

ประสบการณ์ใน ICU ทำให้เราเห็นว่าจริงๆ ภาวะมันรุนแรงจริง อย่างรวดเร็วจริงๆ แล้วทำให้ร่างกายเสียสมดุลไปทุกๆระบบ คนที่ดูแลอยู่มันทำให้รู้สึก โหดร้าย บอกเลยว่า มันโหดร้าย” ...
อัญชลี ดุลยฐิติกุล พยาบาลชาวไทยในรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา


อัญชลี ยังจำคนไข้โควิด-19 รายแรกที่อาการหนักมาตั้งแต่เข้ารับการรักษา แต่เธอและเพื่อนร่วมงานก็พยายามทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ

“ช่วงแรกของการระบาด covid ที่ได้รับการดูแลนะคะ ด้วยความที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงสูงอยู่แล้วทำให้ภาวะโรคเดิมของเขาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด เป็นไปอย่างรวดเร็วแล้วทำให้คนไข้อาการทรุดลงภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง .. คนไข้อยู่ในเครื่องช่วยหายใจได้ 5 วัน ก็สู้กับภาวะโรคโควิดไม่ไหวเพราะว่าโดนกระทบไปทุกๆระบบ ..

Anchalee Dulayathitikul, Thai nurse in Maryland

“คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือคนที่อยู่ที่บ้านและผู้สูงอายุ คนที่รับผลกระทบและเป็นผู้สูงอายุเนี่ยภูมิต้านทานน้อย พอความเจ็บป่วยไม่เท่ากัน คนหนุ่มสาวเจ็บป่วยจะเป็นไม่เยอะแต่พอถึงคนที่เป็นญาติพี่น้องที่สูงอายุและเจ็บป่วยเขาเป็นเยอะ แล้วเมื่อเป็นแล้วรุนแรงและค่อนข้างรวดเร็วทำให้เขาทุกข์ทรมานและเขาจะต้องจากไปก่อนวัยอันควร

..สิ่งที่ทุกข์ทรมานจากการรักษาคือการใส่ท่อช่วยหายใจมันมีทั้งความเจ็บปวดแล้วต้องได้รับยาที่ทำให้เขาไม่เจ็บปวดแล้วก็ไม่ทุรนทุรายแล้วเขาจะต้องอยู่ในสภาพที่รับอยู่ตลอดเวลาอันนั้นคือความทรมานอย่างหนึ่งที่เราเห็น ...
อัญชลี ดุลยฐิติกุล พยาบาลชาวไทย ในรัฐแมรีแลนด์

..ตัวโควิดเองมีผลกระทบกับทุกๆระบบแล้วการดำเนินของโรคมันรุนแรงเมื่อมันโดนกระทบทุกๆระบบ แล้วร่างกายคนเราพยายามที่จะต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่ ในส่วนของที่เรามีประสบการณ์ใน ICU ทำให้เราเห็นว่าจริงๆ ภาวะมันดำเนินรุนแรงจริง อย่างรวดเร็วจริงๆ แล้วทำให้ร่างกายเสียสมดุลไปทุกๆระบบ..มันรวน คนที่ดูแล มันทำให้รู้สึก โหดร้าย ปีที่อยู่กับมันมาเนี่ยนะบอกเลยว่า ..มันโหดร้าย”

สภาวะการระบาดของโรคที่รุนแรง และติดต่อกันได้ง่ายแม้เพียงลมหายใจ ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ขณะที่บุคลากรด่านหน้าที่รับมือกับ โควิด 19 ก็เต็มไปด้วยความเสี่ยง ทุกวินาที ทุกขั้นตอนการรักษาต้องเน้นย้ำความปลอดภัย และระมัดระวัง

“เริ่มตั้งแต่การใส่ PPE (ชุดป้องกันส่วนบุคคล) เลยค่ะ ขั้นตอนจะละเอียดและเยอะมาก แล้วก็ทำให้เราต้องระวังในทุกๆเรื่องเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทางด้านจิตใจรวมทั้งตัวของเราเองแล้วก็ของคนไข้นะคะด้วยสภาวะของโรคเองคนไข้จะต้องอยู่ในห้อง Isolation หรือห้องแยก จะไม่มีญาติมาเยี่ยม ตัวเราเองก็จำกัดเวลาในการพูดคุยหรือดูแลคนไข้เท่าที่จำเป็น เพื่อลดการรับเชื้อหรือการแพร่กระจายเชื้อ มันทำให้เราอยู่ในสภาวะที่เราเศร้า..

Anchalee Dulayathitikul, Thai nurse in Maryland

..แต่ในขณะเดียวกันเราก็มองในแง่ที่ว่าเราเป็นพยาบาลเราจะต้องดูแลเขาให้ดีที่สุดแล้วคนไข้กลับบ้านอันนี้คือสิ่งเดียวที่ถือไว้เป็นคติตลอดเวลาว่าเราทำอย่างไรก็ได้ให้คนไข้ได้กลับบ้าน ทำทุกอย่างทั้งด้านการให้การพยาบาลทั้งการให้ยาคนไข้ การดูแลติดตามอาการเราต้องดูแลเขาอย่างใกล้ชิดเพราะอาการเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราไม่สามารถทิ้งคนไข้ได้แม้ว่าเราจะมีเวลามีช่วงระยะเวลาที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไข้น้อยลงกว่าคนไข้ที่อยู่ใน ICU ทั่วไป.."

พยาบาลชาวไทยในรัฐแมรีแลนด์ บอกถึงช่วงเวลาที่ยากจะอธิบายความรู้สึก กับการทำหน้าที่เชื่อมต่อ วีดิโอ คอล ระหว่างครอบครัวและญาติๆ มายังห้องผู้ป่วยหนัก ที่และมีหลายครั้งที่เธอต้องร่วมเป็นพยานในการร่ำลาเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิ

“ถ้าคนไข้หนัก ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ คืออย่างแรกสุดคือเขาไม่สามารถที่จะพูดคุยสื่อสารได้ ..สิ่งที่เราทำได้ที่สุดก็คือเปิดเฟซทำให้ให้ญาติพี่น้องได้เห็นบรรยากาศและเห็นสภาวะแวดล้อมและเห็น... สภาพ .. (ผู้ให้สัมภาษณ์หยุดชะงัก ..)

FILE - A health worker treats a COVID-19 patient in the ICU ward at the Hospital das Clinicas in Porto Alegre, Brazil, March 19, 2021.

(พูดต่อ) ..เราใช้เทคโนโลยีของเฟสไทม์ ให้ญาติพี่น้องของคนไข้ได้อย่างน้อยได้เห็นหน้าได้เห็นสภาพ เห็นคุณภาพในการดูแลของเราที่เราให้กับคนที่เขารัก. อันนั้นคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญแล้วก็มีในบางรายที่สามารถพูดคุยได้ก็เราก็จะเปิดเฟสไทม์ให้คุยกับญาติพี่น้องเท่าที่เขาไม่มีอาการเหนื่อยหอบ.."

ประสบการณ์รับมือกับความเป็นความตาย และ ความเจ็บไข้ ในวิชาชีพพยาบาล มายาวนานเกือบ 30 ปี แต่การรับมือกับผู้ป่วยโควิด-19 ครั้งนี้ไม่ถือว่าอยู่ในสภาวะปกติ เมื่อหลายชีวิตต้องเผชิญกับโอกาสการสูญเสียมากกว่ารอด

" ช่วงแรกกลุ่มที่โดนกระทบคือคนที่สูงอายุแล้วมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้วโอกาสที่จะกับบ้านน้อยมากและเราเห็นคนไข้ที่จากไปก่อนวัยอันควร มันทำให้รู้สึกเราอยู่กับความเศร้าโศกแล้วเราต้องปรับบทบาทเองว่าเราอยู่ตรงนี้แล้วทำดีที่สุด แล้วเราได้มีโอกาสดูแลคนไข้ อันนั้นทำให้เราสามารถที่จะมีชีวิตต่อไปได้ในทุกๆวัน ไปทำงานด้วยความรู้สึกที่ว่าเราต้องทำเต็มที่.."

Your browser doesn’t support HTML5

ประสบการณ์1 ปี รับมือโควิด-19 กับ 'อัญชลี ดุลยฐิติกุล’พยาบาลคนไทยในอเมริกา

แม้จะต้องเผชิญกับงานที่ต้องรับผิดชอบชีวิตผู้คนเกือบตลอดเวลา แต่อัญชลีไม่ลืมที่จะต้องดูแลตัวเองด้วยเช่นกัน ทุกครั้งที่มีโอกาส หรือ วันหยุด เธอมักจะแปลงร่างจากชุดพยาบาล แบกอุปกรณ์ถ่ายรูป ออกเดินทางบันทึกภาพธรรมชาติ ในฐานะช่างภาพสมัครที่เป็นงานอดิเรกที่เธอรัก

Anchalee Dulayathitikul carries a backpack and camera as a photographer during her weekend trip in MD.

"บางทีมันก็เศร้าที่เห็นนะตอนนั้นแต่กลับบ้านแล้วก็ทิ้งไว้ แล้วเราก็เริ่มไหมในแต่ละวันที่ที่เราต้องไปทำงาน แต่สิ่ง อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยได้ก็คือว่าเวลาเรามีกิจกรรมพิเศษของเราโดยส่วนตัวเองเนี่ยค่ะถ่ายรูปเราก็ชอบถ่ายภาพชีวิตสัตว์ป่า (Wildlife) แต่ไม่ได้เป็นมืออาชีพนะคะ ก็ช่วยได้วันหยุดเราออกไปถ่ายรูปน้องถ่ายรูปสัตว์แล้วก็เอาภาพนี้ค่ะแบ่งปันให้คนไข้ เขาก็มีความสุขเพราะว่าเราถือว่าหน้าที่ของเราในการเป็นพยาบาล เราดูแลคนไข้ให้เขาผ่านพ้นความทุกข์ยากแล้วมีความสุขในการที่จะไปสู่อ้อมกอดของครอบครัว ตัวเองในฐานะที่เป็นพยาบาล เราก็ดูแลกันให้เต็มที่สิ่งที่เป็นตัวช่วยให้เราความเครียดหรือความทุกข์จากการทำงานแล้วก็ได้ฟังสิ่งที่สวยงามครับไปแบ่งปันให้คนไข้ หลายๆคนชอบ ชอบ"

‘อัญชลี หรือ แองจี้ พยายาลชาวไทยในรัฐแมรีแลนด์ เป็นหนึ่งในบุคลากรด่านหน้าทางสาธารณสุข ชาวไทยที่รับมือกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 มาตลอด 1 ปีเต็ม

ติดตามรายงานพิเศษ ‘ถอดประสบการณ์รับมือโควิด’ ในวาระครบรอบ 1 ปีการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส จากส่วนหนึ่งของบุคลากรการแพทย์เชื้อสายไทยในสหรัฐฯ ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 มากที่สุดในโลก