ปัญหาขาดแคลนแรงงานกระทบภาคธุรกิจไทยในอเมริกา

People eat at the tables outside Pa Ord Noodle 3, a Thai restaurant during the coronavirus disease (COVID-19) pandemic in Los Angeles, CA. Sept 2021.

ผู้ประกอบธุรกิจชาวไทยในอเมริกาที่กลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลังช่วงสภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก โดยเฉพาะธุรกิจ ร้านอาหาร หรือ ร้านนวดแผนโบราณ ที่ส่วนใหญ่หาคนทำงานยากมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าแรงงานไทยบางส่วนเริ่มมีทางเลือกหันไปประกอบอาชีพอื่นมากขึ้น

Your browser doesn’t support HTML5

Thai Diaspora Business Labor Shortage

การขาดแคลนแรงงาน กำลังเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการธุรกิจชาวไทยส่วนใหญ่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

การประกาศรับสมัคร คนทำงาน โดยเฉพาะชาวไทยในอเมริกาที่จะเข้ามาทำงานในภาคบริการ เช่น พนักงานในร้านอาหาร พ่อครัวแม่ครัว หรือ หมอนวดแผนโบราณ ที่ต้องมีทักษะขั้นพื้นฐาน กลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และทางการเริ่มประกาศให้ภาคธุรกิจกลับมาเปิดได้ตามปกติ

มีใครอยากทำงานไหม ? เสียงจากผู้ประกอบการร้านไทย

นัทธมน ลี้ประเสริฐศิลป์ และ ปาณิสรา นาคสมภพ ผู้ประกอบการชาวไทย ในรัฐแคลิฟอร์เนีย บอกกับ ‘วีโอเอ ไทย’ ถึงปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการชาวไทยที่เริ่มส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ

“ก่อนหน้านี้ เราลงรับสมัครแป๊บเดียวใช่ไหมคะ เราก็จะได้คนงานกลับมาเลย แต่ตอนนี้ก็ค่อนข้างต้องใช้เวลามากขึ้น” นัทธมน ลี้ประเสริฐศิลป์ เจ้าร้านอาหาร Red Chicken ชานนครลอส แอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย บอกกับ “วีโอเอ ไทย”

A waitress cleans up a table at Pa Ord Noodle 3, a Thai restaurant in Los Angeles, CA. Sept 2021.

“ ถ้าสมัยก่อนนะคะเราประกาศปุ๊บเนี่ยคนก็จะแบบแห่แหนมา แบบว่ารีบมาสมัครเลย คือแบบประกาศวันนี้เราได้ตำแหน่งแล้ว บางทีแทบจะไม่ต้องสมัครเลย มีคนมาขอสมัครไว้ก่อน หรือว่าบอกต่อๆกันมาเลย แต่

ตอนนี้ ประกาศจนท้อ ประกาศทุกเพจทุกหน้าสื่อสังคมออนไลน์ ทุกช่องทาง คือไปไหนก็ถามว่าพี่  มีใครอยากทำงานไหม ? มีคนอยากหางานทำไม?
ปาณิสรา นาคสมภพ เจ้าของร้านอาหาร My Vegan Gold นครลอส แอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย


ปาณิสรา นาคสมภพ เจ้าของร้านอาหาร My Vegan Gold นครลอส แอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าว

เงินช่วยเหลือคนตกงานจากรัฐบาลกลายเป็นรายได้หลัก

ผู้ประกอบการชาวไทย ทั้งสองคนยัง ตั้งข้อสังเกตว่า หนึ่งในเงื่อนไขที่ส่งผลให้ภาคแรงงานขาด คือการที่แรงงานส่วนใหญ่ได้รับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ คือ เงินช่วยเหลือการตกงานของฝ่ายพัฒนาการจ้างงาน ที่เรียกว่า EDD หรือ (Employment Development Department) ที่ทำให้ผู้ประกันการว่างงานจะได้รับเงินช่วยเหลือรายเดือนสัปดาห์ติดต่อกันทุกเดือน และทำให้หลายคนเลือกที่จะไม่ออกไปทำงาน

“คนที่เขาทำงานมาแล้วหลายปีนี้ เขาสามารถได้เงินช่วยเหลือของรัฐบาลได้ เขาก็สามารถอยู่บ้านโดยที่มีเงินใช้ได้ เราก็ไม่ได้ว่าอะไรเขา แต่ว่าเราก็ถือว่า เป็นความสมัครใจ (volunteer) ของน้องแต่ละคนเพระฉะนั้นคนที่ไม่ได้ EDD ก็จะเหลือคนพวกนั้นที่ทำงาน” ปาณิสรา บอกกับ วีโอเอ ไทย เพิ่มเติม

People eat at the Red Chicken Thai restaurant as Los Angeles County moves into life up restrictive coronavirus disease (COVID-19) disease reopening tier, in San Gabriel Valley, California, U.S., June 15, 2021

ส่วน นัทธมน ลี้ประเสริฐศิลป์ เจ้าร้านอาหาร Red Chicken บอกว่า ตอนนี้หาคนลำบาก หลายๆร้านก็คิดว่าเป็นเหมือนกันเพราะว่าโควิด-19 และเศรษฐกิจ รัฐบาลเขาแจกเงินใช่ไหมคะบางคนได้รับเงินจากรัฐบาลก็กลายเป็นว่าคนไม่อยากออกมาทำงานกันมากขึ้น

ธุรกิจนวดแผนไทยก็ได้รับผลกระทบ

ขณะที่ สำเนียงปิงวงศ์ ผู้ประกอบการนวดแผนโบราณ เวียงลคอรไทยสปา ย่านซานต้า มอนิกา รัฐแคลิฟอร์เนีย เชื่อว่า นอกจากเงิน EDD แล้ว ในกลุ่มคนทำงานเริ่มมีทางเลือกประกอบอาชีพอื่นมากขึ้น

“คนส่วนใหญ่ก็จะไปทำอาชีพด้านอื่น บางคนก็เหมือนกับว่า เข้าไปตัดต้นชา ต้นอะไรอย่างเนี้ย เขาก็จะไปทางโน้นมากกว่า แล้วบางคนคือโอกาสของรัฐบาลยังให้เคลม EDD อยู่ใช่ไหมคะมันก็จะค่อนข้างไม่อยากทำงาน” สำเนียง ปิงวงศ์ เจ้าของร้านเวียงลคอรไทยสปา รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าว

ภาคภูมิ ชลานุเคราะห์ (ขวา) และสมใจ สีตถาวร - เจ้าของร้านอาหารก๋วยเตี๋ยววัดดงมูลเหล็ก

“พนักงานบางส่วนก็ไม่อยากทำงานเพราะเขาก็กลัวใช่ไหมคะ? ข้อที่สองคือรัฐบาลให้เงินช่วยเหลือผู้ตกงาน (unemployment) เขาก็อยู่บ้านไม่ต้องมาเสี่ยงติดโควิด แล้วเขาก็ได้เงินจากรัฐบาล และข้อที่สามทำให้เราคิดว่าจะปรับการตลาดอย่างไรดีสำหรับการทำธุรกิจ” สมใจ สีตถาวร เจ้าของร้านอาหารก๋วยเตี๋ยววัดดงมูลเหล็ก บอกกับ ‘วีโอเอ ไทย’

ทางเลือกใหม่หลังยุคโควิด-19

ในประเด็นนี้ ปาณิสรา นาคสมภพ เจ้าของร้าน My Vegan Gold บอกว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานมีทางเลือกมากขึ้นในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะในช่วงสภาวะปกติใหม่ ที่ทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ เช่นการรับจ้างขับรถส่งผู้โดยสาร ขับรถบริการร่วมเดินทางบนแอพพลิเคชั่น อูเบอร์ หรือ ลิฟท์ และที่ผ่านมาแรงงานในภาคบริการชาวไทยที่มองเห็นช่องทางก็ให้ความสนใจหันไปสมัครและทำงานมากขึ้น

Your browser doesn’t support HTML5

ปัญหาขาดแคลนแรงงานกระทบภาคธุรกิจไทยในอเมริกา

“มันจะมีงานขึ้นมาใหม่ๆ ที่เรียกว่าอะไรล่ะ พวกขับ อูเบอร์ หรือ ลิฟท์ เราน่ะเข้าใจ เพราะว่ามันอิสระกว่า ใครก็ชอบ เหมือนฟรีแลนซ์ ทำงานตามตารางตัวเองได้ ทำเมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งช่วงนี้เขาอัดฉีดเยอะมาก น้องที่รู้จักกันคนหนึ่งไปทำอย่างบ้าคลั่ง ได้เดือนเป็นหมื่นเหรียญ”

อาชีพใหม่ของอดีตพนักงานร้านอาหารไทย

“มันอยู่ในร้านอาหารไทยมานานแล้วไงพี่ ระยะเวลามี 5 ปีขึ้นไปหรือ 10 ปีมันเริ่มเบื่อแล้วนะพี่ เริ่มหาอะไรใหม่ เริ่มหาอะไรที่มันแบบสามารถทำรายได้มากกว่าเดิม มีอิสระมากกว่าเดิมเขาเรียก Freedom ครับผม”

Uber Autonomus Cars

“จิมมี่” ศุภกฤต ชื่นจิตร ชาวไทยในลอส แอนเจลิส เป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่เคยทำงานในภาคบริการ.ในร้านอาหารไทย แต่ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพหันมาขับรถบริการร่วมเดินทาง ‘Uber’ และ ‘Lyft’

“ นี่คือการลงทุนนะครับ คือ เราเป็นเจ้านายตัวเอง เรามีรถเราเอง เราแค่เอารถเราเข้าไปจอยกับบริษัทอูเบอร์ เพื่อทำรายได้”
ศุภกฤต ชื่นจิตร อดีตผู้จัดการร้านอาหารไทย ในลอส แอนเจลิส


ศุภกฤต ชื่นจิตร อดีตผู้จัดการร้านอาหารไทย ในลอส แอนเจลิส ที่หันมาขับรถบริการร่วมเดินทางบอกกับ วีโอเอ ไทย

จิมมี่ ซึ่งเคยเป็นทั้งอดีตพนักงานและผู้จัดการร้านอาหารไทย สะท้อนมุมมองตัวเองว่า การเปลี่ยนอาชีพมาขับรถบริการร่วมเดินทางแบบนี้ มีความเป็นอิสระมากกว่า ขณะเดียวกันก็เริ่มอิ่มตัวกับการทำงานในร้านอาหาร

งานดี เงินดี มีอิสระ ฝันใหม่ของคนทำงาน

ในส่วนของรายได้จากการทำงาน จิมมี บอกว่า ยังคุ้มค่ากับเวลา สามารถทำเงินได้จำนวนมาก สามารถตั้งตัวได้

“ที่พีคสุด เคยทำเงินได้สูงสุดคือ 4,000 เหรียญต่อสัปดาห์ ซึ่งคนธรรมดาทุกวันนี้ คือ เงินออกนี่คือ 1 เดือนนะครับ ทำงานร้านอาหารกว่าจะได้เท่านี้ เป็นอาชีพที่อิสระคือสามารถตื่นเมื่อไหร่ก็ได้ ขอแค่รับผิดชอบตัวเองในการทำงาน คือว่าคุณทำงานร้านอาหาร 8 ชั่วโมงผมก็ทำอูเบอร์ของผม 8 ชั่วโมงเหมือนกันแต่รายรับไม่เท่ากันนะครับ”

ในช่วงเวลาการระบาดของโควิด-19 มีโบนัสเสนอจากต้นสังกัดจำนวนมาก ถือเป็นช่วงเวลากอบโกย ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่คนไทยในอเมริกาหลายคนหันมายึดเป็นอาชีพหลักและหันหลังให้กับภาคบริการในร้านอาหาร