อเมริกันชน 42% อึ้ง เมื่อต้องยกตัวอย่างคนร่วมชาติเชื้อสายเอเชีย 

Actress Sandra Oh (middle) made a surprise appearance at the “Stop Asian Hate” rally in Pittsburgh on Saturday. She’s in town filming the Netflix series, “The Chair.” (Photo: Twitter/@@KristinaS_Trib)

ผลสำรวจโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Leading Asian Americans to Unite for Change ที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ ระบุว่า ชาวอเมริกัน 42 เปอร์เซ็นต์ไม่สามารถยกตัวอย่าง ชาวเอเชียนอเมริกันที่มีชื่อเสียง ได้เเม้เเต่คนเดียว


ผลสำรวจดังกล่าวสอบถามผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 2,766 คนทั่วประเทศ โดยเป็นผลสำรวจความเห็นระดับประเทศแรกๆ ในช่วง 20 ปีที่มุ่งเน้นความเห็นสาธารณะต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อชาติที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐฯ

ผู้ตอบแบบสอบถาม 42 เปอร์เซ็นต์ตอบว่า “ไม่ทราบ” เมื่อถูกถามให้ระบุชื่อชาวเอเชียนอเมริกันที่มีชื่อเสียงมาหนึ่งคน โดยผู้ที่ตอบโดยระบุชื่อนั้น 11 เปอร์เซ็นต์ระบุชื่อเฉินหลง นักแสดงศิลปะป้องกันตัวชาวฮ่องกงระดับตำนาน อีก 9 เปอร์เซ็นต์ระบุชื่อ บรูซ ลี นักแสดงศิลปะป้องกันตัวชาวจีนอเมริกันผู้ล่วงลับ โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นชาวผิวดำ ชาวผิวขาว และชาวละตินอเมริกัน ส่วนใหญ่ต่างตอบว่า “ไม่ทราบ”

นอร์แมน เฉิน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริหารขององค์กรที่ทำการสำรวจความคิดเห็น ระบุว่า ผลสำรวจเผยให้เห็นว่าแม้ชาวเอเชียนอเมริกันจะปรากฎตามหน้าสื่อ แต่คนอเมริกันก็ไม่ค่อยรับรู้ถึงการมีตัวตนของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียในประเทศนี้เท่าใดนัก และย่อมเกี่ยวข้องกับเหตุอาชญากรรมจากความเกลียดชังต่อชาวเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา

ผลสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 29 มีนาคม ถึง 14 เมษายน เป็นเวลาเกือบสองสัปดาห์หลังเกิดเหตุกราดยิงสปาในนครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ที่มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตแปดคน รวมถึงหญิงเชือสายเอเชียหกคน นอกจากนี้ ชาวอเมริกันผิวชาวกว่าหนึ่งในสาม ผู้สนับสนุนพรรคริพับลิกันเกือบครึ่งหนึ่งและผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต 22 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า พวกเขาไม่ทราบว่าความรุนแรงต่อชาวเอเชียเพิ่มสูงขึ้น

Members of the Atlanta Korean American Committee against Asian Hate Crime show placards as they meet at Ching Dam, a Korean restaurant, after the fatal shooting at three Georgia spas, in Duluth, Georgia, U.S., March 18, 2021


เว็บไซต์รวบรวมข้อมูล Stop AAPI Hate ได้รับรายงานอาชญากรรมความเกลียดชังต่อชาวเอเชียเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเดือนมีนาคม โดยเพิ่มจาก 3,795 กรณี เป็น 6,603 กรณี ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นส่งผลทางจิตวิทยาต่อชาวเอเชียนอเมริกันเป็นอย่างมาก รายงานจาก Pew Research Center เมื่อเดือนเมษายนระบุว่า ชาวเอเชียนอเมริกันหนึ่งในสามกลัวว่า พวกเขาอาจถูกข่มขู่หรือโจมตีทางร่างกาย

ผลสำรวจครั้งนี้ยังพบด้วยว่า ชาวอเมริกันผิวขาวราวหนึ่งในสี่เห็นว่า การเหยียดเชื้อชาติชาวเอเชียไม่ใช่ปัญหาที่ต้องได้รับการพิจารณา ในขณะที่ชาวเอเชียนอเมริกันราว 80 เปอร์เซ็นต์ ชาวอเมริกันผิวดำ 90 เปอร์เซ็นต์ และชาวละตินอเมริกัน 73 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า พวกเขาเผชิญกับการถูกกีดกัน

ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า ชาวเอเชียนอเมริกันไม่ถึงหนึ่งในสี่ รู้สึกว่าพวกเขาได้รับการเคารพในสหรัฐฯ และชาวอเมริกันมักรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับชาวเอเชียนอเมริกันจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ และเพลง มากกว่าจากเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน

สำหรับเบื้องหลังการจัดทำแบบสำรวจดังกล่าวนั้น ทางองค์กรไปรึกษากับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลชาวเอเชียนอเมริกันและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยพอล วาตานาเบ หนึ่งในทีมจัดทำแบบสำรวจ และผู้อำนวยการสถาบันเอเชียนอเมริกันศึกษา มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ วิทยาเขตบอสตัน ระบุว่กับสำนักข่าวเอ็นบีซีว่า แบบสอบถามนี้มีต้นแบบจากแบบสอบถามก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับอคติต่อกลุ่มเชื้อชาติศาสนาอื่นๆ เช่น จากงานวิจัยขององค์กร Anti-Defamation League ต่อประสบการณ์ของชาวยิวอเมริกันต่อการต่อต้านยิว

นอกจากนี้ บางคำถามยังถูกออกแบบมาเพื่อประเมินว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจะมีความเห็นในทางเหมารวมต่อชาวเอเชียนอเมริกันมากแค่ไหน โดยผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งในห้าเห็นว่า ชาวเอเชียนอเมริกัน “มีความจงรักภักดีต่อประเทศถิ่นกำเนิดของพวกเขามากกว่าสหรัฐฯ” โดยวาตานาเบระบุว่า คำตอบนี้แสดงให้เห็นว่า ชาวเอเชียนอเมริกันยังถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติ แม้จะเป็นเวลาเกือบสองร้อยปีหลังชาวเอเชียรุ่นแรกอพยพเข้าสหรัฐฯ แล้วก็ตาม

ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ชาวอเมริกันรู้สึกสบายใจกับชาวเอเชียนในฐานะแพทย์ เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน มากกว่าในฐานะหัวหน้า ญาติที่มาจากการสมรส หรือในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ

นอร์แมน เฉินระบุว่า การสำรวจนี้จะจัดทำขึ้นทุกปีเพื่อติดตามว่า ภาพจำของชาวเอเชียนอเมริกันต่อสาธารณะจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร โดยการสำรวจในปีหน้าจะเพิ่่มคำถามและเพิ่มจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามมากขึ้น โดยหวังว่าจะได้รับข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้น โดยขณะนี้มีคำแนะนำให้เพิ่มการประเมินข้อมูลในด้านอื่น เช่น ทัศนคติต่อชาวเอเชียของแต่ละรัฐ หรือผู้คนจากชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆนั้น แตกต่างกันอย่างไร