ศาลสูงสหรัฐฯ ชี้ ต้องมีหมายค้นในการ ‘สะกดรอยผ่านสมาร์ทโฟน’

This photo taken March 22, 2017, shows the Google Maps app on a smartphone in New York. Google is enabling users of its digital mapping service to allow their movements to be tracked by friends and family in the latest test of how much privacy people are

ศาลสูงสหรัฐฯ มีคำสั่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ว่าเจ้าหน้าที่รักษากฏหมาย จะต้องออกหมายค้น ในการเข้าถึงข้อมูลพิกัดของสมาร์ทโฟน ในการสอบสวนคดีอาชญากรรม

ศาลฎีกาสหรัฐฯ มีมติ 5-4 เสียง กำหนดให้ข้อมูลของลูกค้าที่จัดเก็บไว้โดยผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ต่างๆ จะต้องได้รับการคุ้มครอง ตามบทแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ข้อที่ 4 หรือ Fourth Amendment ที่บัญญัติปกป้องมิให้บุคคลต้องถูกค้นหรือถูกจับโดยเจ้าพนักงานของรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และผู้บังคับใช้กฏหมายจะต้องมีหมายค้นเพื่อเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น

FILE - U.S. Chief Justice John Roberts

การวินิจฉัยเรื่องการสะกดรอยผ่านสมาร์ทโฟน เกิดขึ้นภายใต้คดีมีชื่อว่า Carpenter v. United States ที่ตำรวจสามารถจับกุมนาย Timothy Carpenter ซึ่งขโมยโทรศัพท์ตามร้านขายมือถือในรัฐโอไฮโอและมิชิแกน เมื่อช่วงปี ค.ศ. 2010-2011 โดยตำรวจสะกดรอยผ่านสมาร์ทโฟนที่เขาปล้นไป และพบตำแหน่งของสมาร์ทโฟนกว่า 13,000 จุด ในระยะเวลา 4 เดือน จนสามารถจับกุมและตั้งข้อหาลักทรัพย์กับนาย Carpenter ถึง 11 กระทงได้

แต่นาย Carpenter ได้ยื่นอุทธรณ์ว่าการที่ตำรวจสะกดรอยเขาผ่านสมาร์ทโฟนนั้น เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งขัดกับ Fourth Amendment ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ

คำตัดสินของศาลสูงสหรัฐฯ ถือเป็นการพัฒนาความเข้าใจด้านเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ที่กระทบกับสิทธิส่วนบุคคล หลังจากที่เมื่อปี ค.ศ. 2012 ศาลฎีกาสหรัฐฯ ได้มีคำสั่งให้ใช้หมายค้นในการเข้าถึงข้อมูลในเครื่องจีพีเอสในรถยนต์ของผู้ต้องสงสัย และในปี ค.ศ. 2014 ที่ศาลสูงสหรัฐฯมีคำสั่งให้ใช้หมายค้นในการเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ของผู้ต้องสงสัยที่ตำรวจควบคุมตัวเอาไว้ด้วย