นักวิจัยอเมริกันชี้ว่าความเครียดในเด็กทารกส่งผลทางลบต่อพัฒนาการทางอารมณ์เมื่อเด็กโตขึ้น

  • Jessica Berman
ทีีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of Wisconsin ที่ Madison ได้ติดตามดูพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กจำนวน 560 คนเป็นเวลานาน 20 ปี เริ่มตั้งแต่หลังคลอด ทีมนักวิจัยสอบถามพ่อแม่ถึงความเครียดที่เกิดขึ้นภายในบ้านเป็นช่วงๆตั้งแต่ตอนเด็กอายุครบ 1 เดือน ตอน 4 เดือน และตอน 1 ขวบ

พ่อแม่ตอบคำถามว่าทะเลาะกันบ่อยแค่ไหน มารดาเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดบุตรหรือไม่ หรือต้องออกไปทำงานนอกบ้านหลังคลอดหรือไม่ หลังจากเด็กๆอายุครบ 4 ขวบครึ่ง ทีมนักวิจัยเริ่มตรวจเลือดของเด็กเป็นช่วงๆเพื่อวัดระดับฮอร์โมนความเครียด หรือ ฮอร์โมนคอร์ติโซล ที่ปรากฏในกระเเสเลือด เมื่อเด็กๆในการวิจัยอายุครบ 18 ปี ทีมนักวิจัยจะสแกนสมองของเด็กๆในการทดลอง เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสมองเนื่องมาจากความเครียด

คุณโครี่ เบอร์จี หัวหน้าทีมงิจัย กล่าวว่า เด็กที่มีประวัติระดับฮอร์โมนความเครียดในกระแสเลือดสูงขึ้น จะกลายเป็นเด็กวัยรุ่นที่เครียดง่ายและวิตกกังวล ภาพสแกนสมองของเด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้แสดงให้เห็นความด้อยของการเชื่อมต่อทางเดินระบบประสาทระหว่างสมองสองส่วนที่มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์

คุณเบอร์จีกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า่สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่ทีมวิจัยที่ค้นพบคือหากเด็กเกิดความเครียดตั้งแต่เล็กๆ จะมีปริมาณฮอร์โมนความเครียดในเลือดสูง เมื่อโตขึ้นเด็กเหล่านี้จะเป็นโรคเกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล

การวิจัยพบว่าเด็กเล็กเพศหญิงที่เติบโตในบ้านที่มีแต่ความเครียดรอบๆตัว เมื่อโตขึ้นจะเป็นคนที่มีภาวะเครียดและวิตกกังวลมากกว่าเด็กชายที่เติบโตในสภาพแวดล้อมในบ้านแบบเดียวกัน นักวิจัยสงสัยว่าขั้นตอนการจัดการความรู้สึกวิตกกังวลและเครียดของเด็กผู้หญิงน่าจะแตกต่างจากเด็กผู้ชาย

คุณ รามัส เบริ์น ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์แห่งภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย University of Wisconsin เป็นผู้ร่างผลการวิจัยอาวุโส คุณเบริ์นกล่าวว่าภาวะความเครียดจากสภาพแวดล้อมครอบครัวที่เครียดเป็นผลเสียที่ไม่ถาวร ยังแก้ไขให้ดีขึ้นได้เพราะสมองของเด็กยังมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา

ศาสตราจารย์เบริ์นกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าสมองของคนเรามีความยืดหยุ่นไปจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นยังมีวิธีแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กได้ แต่จะแก้ไขอย่างไร หรือต้องปรับปรุงการทำงานของสมองส่วนไหนนั้น จำเป็นต้องศึกษาต่อไปว่าอิทธิผลของสภาวะแวดล้อมในครอบครัวที่เครียด มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองของเด็กทางด้านการควบคุมอารมณ์อย่างไร

ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of Wisconsin กล่าวว่า ในการศึกษาขั้นต่อไป พวกเขาจะทำการศึกษาภาพสแกนสมองของเด็กทารกเพื่อดูว่าความเครียดในชีวิตประจำวันรอบๆตัวเด็ก มีความเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่กับการเปลี่ยนแปลงในสมองเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เพื่อใช้ยืนยันผลการศึกษาแรกนี้ คุณผู้ฟังสามารถอ่านรายงานผลการวิจัยเรื่องนี้ได้เพิ่มเติมในวารสาร Nature Neuroscience ที่ตีพิมพ์ไปเมื่อเร็วๆนี้