รายงานพิเศษ : ผู้คนเลือกข้าง-ครอบครัวเห็นต่าง ปมใหญ่การเมืองอเมริกัน

American-Thai Voters, Gade-Kwanhathai Chua (R), and Panya Chua(L) talk with VOA Thai at their home in Chantilly, VA.. Oct 9, 2020.

ญหาการแบ่งแยกและเลือกข้างทางการเมืองกลายเป็นแผลที่บาดฝังลึกและสัมผัสได้ชัดเจนในสังคมอเมริกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายครั้งที่ความเห็นต่างกลายเป็นชนวนความขัดแย้งลงไปถึงในระดับครอบครัว วีโอเอ ไทย จะพาไปพูดคุยกับครอบครัวของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเชื้อสายไทยที่สะท้อนและพยายามจัดการกับปัญหานี้

Your browser doesn’t support HTML5

Thai Diaspora US Elections Part 1 Divisiveness



ยิ่งใกล้เลือกตั้ง หัวข้อสนทนาเกี่ยวกับการเมืองอเมริกันก็มักจะกลายเป็นประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันบ่อยครั้งภายในครอบครัวของ 'ขวัญหทัย' และ 'ปัญญา ฉั่ว' คู่สามีภรรยาชาวอเมริกันเชื้อสายไทย ในรัฐเวอร์จิเนีย

เหมือนกับหลายครอบครัวในสังคมอเมริกันที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการเมือง มักทำให้เกิดข้อถกเถียงที่ยาวนาน และยากที่จะหาข้อสรุปอยู่บ่อยครั้งหากมีความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน

(การถกเถียงกันเรื่องการเมือง) มีค่ะ มีเยอะ เพราะค่อนข้างเป็น โมเดอเรต (สายกลางเกี่ยวกับการเมือง และบางครั้งก็เอนไปทางเดโมแครต โดยมากเรื่องที่เกิดขึ้นคือเรื่องโควิด-19 เพราะว่ามันเป็นเรื่องสดๆร้อนๆ มันก็ค่อนข้างจะไม่ค่อยตรงกัน เพราะเขาจะค่อนข้างโปรริพับลิกัน เขาจะผ่อนคลายมากกว่าเรา แล้วเราก็จะเคร่งครัดมากๆ ว่า นพ.เฟาชี่ (นพ.แอนโทนี เฟาชี่ ผอ. สถาบันโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้ของสหรัฐ)พูดแบบนี้ เราก็จะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ก็เลยก็มีเถียงกันบ้าง” ขวัญหทัย ฉั่ว บอกกับ ‘ วีโอเอ ไทย’

ขณะที่ ปัญญา ฉั่ว เปิดใจกับ ‘วีโอเอ ไทย’ ว่า พวกเขามีแนวคิดการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ก็พยายามพูดคุยกันด้วยข้อมูลและเหตุผล

หากเรารู้จักใครดีมากพอแต่กลับมีความเห็นการเมืองไม่ตรงกันจริงๆ บางครั้งทางออกที่ดีก็คือยอมปล่อยวางลงบ้างและไม่ดึงดันให้คนอื่นหันมามาคิดในแบบเดียวกัน  ...
ปัญญา ฉั่ว ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเชื้อสายไทย รัฐเวอร์จิเนีย

"แนวคิดทางการเมืองของภรรยาค่อนข้างจะเป็นกลางๆค่อนไปทางฝ่ายก้าวหน้า (ซ้าย) แต่ของผมจะไปทางอนุรักษ์นิยม (ขวา)แต่เราก็พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน และมีหลายต่อหลายครั้ง ที่ต้องนำข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือแม้แต่สถิติต่างๆ ขึ้นมาดู ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ..เราพยายามพูดคุยกัน และเปิดใจให้กว้าง"

Your browser doesn’t support HTML5

รายงานพิเศษ : ผู้คนเลือกข้าง-ครอบครัวเห็นต่าง ปมใหญ่การเมืองอเมริกัน

แต่หากมีบางครั้งที่พบว่าบทสนทนาเริ่มจะเกินเลย การยอมถอยในบางเรื่องเพื่อลดการเผชิญหน้า เพื่อรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว ก็เป็นเรื่องจำเป็น

ปัญญา บอกว่า หากเรารู้จักใครดีมากพอแต่กลับมีความเห็นการเมืองไม่ตรงกันจริงๆ บางครั้งทางออกที่ดีก็คือยอมปล่อยวางลงบ้างและไม่ดึงดันให้คนอื่นหันมามาคิดในแบบเดียวกัน

“ผมทราบและผมเข้าใจภรรยาของผมค่อนข้างดี และถ้าคุณรู้จักคนๆนั้นดีพอ แต่กลับมีจุดยืนทางการเมืองตรงกันข้ามกันบางทีเราก็ต้องยอมลดหรือปล่อยวางลงบ้าง และไม่ควรจะดึงดันให้คนอื่นคิดไปในแนวทางเดียวกับคุณได้ตลอดเวลา เพราะคุณจำเป็นต้องยอมรับและเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างของบุคคลนั้นด้วย” ปัญญา กล่าว

ขณะที่ขวัญหทัย ก็ใช้แนวทางเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

“ก็มีก็เถียงกัน แบบถกเถียงรุนแรงกันเลย แต่พอมาถึงจุดหนึ่งก็ต้องบอกว่า พอเถอะ หยุดพูดเรื่องนี้กันได้แล้ว เปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่นแทน ก็บอกว่าคุณอาจจะมีเหตุผลของคุณ เราก็มีเหตุผลของเรา แต่ช่วงหลังไม่ค่อยทะเลาะแล้ว เพราะว่า เราก็บอกไปละว่าจะเอนไปทางริพับลิกัน (หัวเราะ) ”

American-Thai voters, Gade-Kwanhathai Chua (L) and Panya Chua(R) talk with VOA Thai at their home in Chantilly, VA Oct 9, 2020.

สำหรับครอบครัวของ ปัญญา และ ขวัญหทัยแล้ว อุณหภูมิการเมืองในบ้านอาจจะพอควบคุมได้ แต่ความร้อนแรงในเรื่องของการแบ่งแยกจุดยืนทางการเมืองในสังคมอเมริกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้พวกเขาพบว่า การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองกลับเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องระมัดระวังอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

“คือแบบมันไม่ใช่ว่าเราจะถกเถียงกันแบบมีวุฒิภาวะได้อีกแล้ว และทุกคนก็พยายามจะหลีกเลี่ยงที่จะคุยเรื่องนี้กันแล้ว เพราะว่ามันเหมือนกันเริ่มละเอียดอ่อนมากขึ้น ถ้าพูดผิดไป ก็อาจจะตีความไปว่าอย่างอื่น สมมุติว่าเราเป็นริพับลิกัน ซึ่งปกติเราเป็นสายกลางๆ แต่ปีนี้เราเป็นริพับลิกัน เขาก็จะบอกว่าคุณเลือกริพับลิกัน แสดงว่าคุณ racist (เหยียดผิว)สิ! ซึ่งความจริงมันไม่ใช่ คือทุกอย่างพูดออกไปมันเหมือนกับว่าถ้าเราพูดผิดนิดนึง เขาจะตีความเราผิดไปเลย ซึ่งมันลำบาก เราก็ไม่อยากจะเสี่ยงไปพูดคุยการเมือง.. คือมันมีกรณี ว่าคนที่เป็นริพับลิกันปักป้าย ‘ทรัมป์-เพนซ์’ หน้าบ้าน แต่ก็มีคนมาเผาโรงจอดรถหน้าบ้านเลย”

ปัญญา ฉั่ว ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเชื้อสายไทย จากรัฐเวอร์จิเนียมองว่า การถกเถียงเรื่องการเมืองมันยากขึ้นเรื่อยๆ

“มันยากมากขึ้นเรื่อยๆ และมองเห็นได้ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างสำหรับความขัดแย้งที่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในโลกที่เรากำลังเผชิญอยู่ ถ้าเราเพียงแต่พูดอะไรเกี่ยวกับการเมืองมากเกินไป ในสื่อสังคมออนไลน์ หรือ บางทีอาจเห็นแย้งกับกลุ่มเพื่อน ซึ่งผมก็มีเพื่อนไม่น้อยที่เชื่อในฝ่ายหัวก้าวหน้า ซึ่งเมื่อเราไปตั้งคำถามในสิ่งที่พวกเขาเชื่อขึ้นมา ก็จะเกิดการโจมตีสะท้อนกลับมาด้วยคนที่มีจำนวนมากกว่า ทำให้ยากที่จะไปโต้เถียงด้วย และบางทีผมคนเดียวโดนรุมต่อว่าจาก 4-5 คน มันเลยลำบากที่จะพูดคุยกัน”

มันไม่ใช่ว่าเราจะถกเถียงกันแบบมีวุฒิภาวะได้อีกแล้ว และทุกคนก็พยายามจะหลีกเลี่ยงที่จะคุยเรื่องนี้กัน มันลำบาก เราก็ไม่อยากจะเสี่ยงไปพูดคุยการเมือง.. คือมันมีกรณี ว่าคนที่เป็นริพับลิกันปักป้าย ‘ทรัมป์-เพนซ์’ หน้าบ้าน แต่ก็มีคนมาเผาโรงจอดรถหน้าบ้านเลย...
ขวัญหทัย ฉั่ว ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเชื้อสายไทย รัฐเวอร์จิเนีย

นี่คือ ประสบการณ์​ตรง และเสียงสะท้อนจากชาวชุมชนไทยในสหรัฐฯที่หลายคนพูดตรงกันและสัมผัสได้ถึงความแตกแยกทางการเมืองของผู้คนในอเมริกาที่ตึงเครียดมากขึ้น

เมื่อความเห็นต่างกลายเป็นเรื่องต้องห้ามในวงสนทนา และอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของผู้คนอย่างที่หลายคนไม่เคยเจอมาก่อน ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งที่จะชี้ชะตาทิศทางประเทศและการเมืองอเมริกันมากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่าความร้อนแรงของทั้งสองฝ่ายจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น