นักวิจัยพบว่าการอยู่อย่างเดียวดายอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ความเสี่ยงของการเสียชีวิตสูงขึ้นในหมู่ผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันผู้วิจัยไม่พบความเกี่ยวโยงที่ชัดเจนระหว่างความรู้สึกเหงาและการมีอายุสั้นลง
อาจารย์ Andrew Steptoe แห่ง University College London หนึ่งในผู้ทำวิจัยกล่าวว่าการอยู่อย่างโดดเดี่ยวคือการขาดญาติมิตรเพื่อนฝูงอยู่รอบข้างเพื่อคอยพูดคุยและสื่อสารกัน ขณะที่ความเหงาเป็นความรู้สึกส่วนบุคคลที่เจ้าตัวเห็นว่าไม่มีเพื่อนและถูกปล่อยให้อยู่อย่างเดียวดาย
แม้ว่าจะไม่สามารถหาคำอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ว่าเหตุใดการอยู่อย่างโดเดี่ยวทำให้เกิดความเสี่ยงของการเสียงชีวิตที่เพิ่มขึ้น แต่อาจารย์ Steptoe กล่าวว่ามีข้อดีในทางปฏิบัติหลายอย่างของการมีคนอยู่รอบข้างเช่น การมีคนช่วยพาไปหาหมอ ดูแลเรื่องยารักษาโรค และพูดให้กำลังใจเป็นต้น
การศึกษาชิ้นนี้ทำในสหราชอาณาจักร แต่ก็เริ่มมีการเก็บข้อมูลในประเทศกำลังพัฒนาล้วเพื่อสะท้อนปัจจัยทางวัฒนะธรรมด้วย
รายงานขชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า The Proceedings of National Academy of Sciences ซึ่งมีฉบับ online ด้วย
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย ห้องข่าววีโอเอและสำนักข่าวต่างประเทศ /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท
อาจารย์ Andrew Steptoe แห่ง University College London หนึ่งในผู้ทำวิจัยกล่าวว่าการอยู่อย่างโดดเดี่ยวคือการขาดญาติมิตรเพื่อนฝูงอยู่รอบข้างเพื่อคอยพูดคุยและสื่อสารกัน ขณะที่ความเหงาเป็นความรู้สึกส่วนบุคคลที่เจ้าตัวเห็นว่าไม่มีเพื่อนและถูกปล่อยให้อยู่อย่างเดียวดาย
แม้ว่าจะไม่สามารถหาคำอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ว่าเหตุใดการอยู่อย่างโดเดี่ยวทำให้เกิดความเสี่ยงของการเสียงชีวิตที่เพิ่มขึ้น แต่อาจารย์ Steptoe กล่าวว่ามีข้อดีในทางปฏิบัติหลายอย่างของการมีคนอยู่รอบข้างเช่น การมีคนช่วยพาไปหาหมอ ดูแลเรื่องยารักษาโรค และพูดให้กำลังใจเป็นต้น
การศึกษาชิ้นนี้ทำในสหราชอาณาจักร แต่ก็เริ่มมีการเก็บข้อมูลในประเทศกำลังพัฒนาล้วเพื่อสะท้อนปัจจัยทางวัฒนะธรรมด้วย
รายงานขชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า The Proceedings of National Academy of Sciences ซึ่งมีฉบับ online ด้วย
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย ห้องข่าววีโอเอและสำนักข่าวต่างประเทศ /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท