"Smart Thread" ไหมเย็บแผลอัจฉริยะอ่านข้อมูลทางชีวภาพให้แพทย์รับทราบผ่านสมาร์ทโฟน

FILE - A hospital staffer monitors the vital signs of a suspected bird flu patient. Experts say the 3-D thread is a vast improvement over other biological diagnostic devices.

นวัตกรรมนี้ใช้เทคโนโลยีนาโนขนาดเล็กที่เพิ่มศักยภาพในการทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์รับข้อมูลของเนื้อเยื่อ

Your browser doesn’t support HTML5

Smart Thread

ปัจจุบันการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้กับอุปกรณ์ที่เรารู้จักทั่วไปทำให้เกิดชื่อเรียกที่เติมคำว่า สมาร์ทนำหน้า เช่น สมาร์ทโฟน และสมาร์ททีวี

ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนา smart thread หรือไหมเย็บแผลที่มีความล้ำหน้ากว่าไหมปกติ ตรงที่ว่านอกจากจะช่วยปิดแผลในช่วงที่เนื้อเยื่อพยายามสมานกันแล้ว ไหมที่ว่านี้ยังสามารถบ่งบอกให้แพทย์ทราบว่า การฟื้นฟูของแผลเป็นไปได้ดีหรือไม่? และมีการติดเชื้อหรือเปล่า?

นวัตกรรมนี้ใช้เทคโนโลยีนาโนขนาดเล็ก ที่เพิ่มศักยภาพในการทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์รับข้อมูลของเนื้อเยื่อด้วย

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tufts ใกล้นครบอสตั้น Sameer Sonkusale กล่าวว่า smart thread ช่วยให้แพทย์จับตาการเปลี่ยนแปลงด้านข้อมูลทางชีวภาพของแผล เขากล่าวว่าเทคโนโลยีนี้ทำให้ทราบข้อมูลต่างๆ เช่น ระดับกลูโคส โซเดียม โพแทสเซียม และความเป็นกรดเป็นด่างได้

และถ้าขยายรูปแบบการใช้ไปนอกวงการแพทย์ นักกีฬาสามารถนำไหมพิเศษนี้ไปใช้กับพลาสเตอร์ติดร่างกายเพื่อดูการทำงานของระบบเผาผลาญพลังงาน

งานวิจัยของ Sameer Sonkusale ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้าคนอื่นๆ ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Microsystems and Nano Engineering

Smart Thread

​ไหมที่คณะวิจัยชุดนี้ร่วมกันพัฒนามีความยืดหยุ่นสูงมาก และยังสามารถทำหน้าที่เป็นไหมเย็บแผลทั้งภายนอกและภายในร่างกาย สำหรับการผ่าตัดที่หลากหลาย เช่น การเปลี่ยนสะโพก และผ่าตัดอวัยวะภายใน

ข้อมูลที่ส่งจากเส้นไหมมาให้แพทย์จะมีเครื่องมือสื่อสารเป็นตัวรับ

Sameer Sonkusale กล่าวว่า ขนาดของเส้นไหมจะติดเชื่อมกับลวดขนาดเล็กเทียบได้กับเส้นผม และลวดนี้ต่อกับวงจรอีกทอดหนึ่ง วงจรนี้สามารถส่งข้อมูลสู่สมาร์ทโฟนได้

เขากล่าวทิ้งท้ายว่า คงจะใช้เวลาอีกราวหนึ่งปี กว่าที่เราจะเห็นไหมที่ติดกับพลาสเตอร์ติดร่างกายนักกีฬา เพื่อวัดสภาพการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย

แต่สำหรับ “สมาร์ทไหม” เพื่อการเย็บแผลโดยแพทย์ น่าจะใช้เวลาวิจัยและพัฒนาอีกระยะ เพราะต้องผ่านขั้นตอนทางกฎหมายอีกหลายขั้น


(รายงานโดย Jessica Berman / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)