การแบ่งปันเรื่องราวความเหงาอาจช่วยให้คนเรารู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง

FILE - Judie Shape, center, blows a kiss to her son-in-law as her daughter looks on, as they visit on the phone and look at each other through a window at the Life Care Center in Kirkland, Wash., March 11, 2020.

ในภาษาอังกฤษนั้น มีสำนวนที่ว่า ‘จงหัวเราะ แล้วโลกจะหัวเราะไปกับคุณ แต่ถ้าหากจะร้องไห้ จงร้องไห้คนเดียว’ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า คนเรามักจะร่วมสุข แต่ไม่อยากร่วมทุกข์ไปกับคนอื่น

นาตาลี อีฟ แกร์เร็ตต์ (Natalie Eve Garrett) เชื่อว่า การแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับความเหงานั้นอาจช่วยให้คนเรารู้สึกดีขึ้นได้ จึงเริ่มคิดรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับความเหงาทั้งหลายมาไว้ด้วยกัน

Natalie Eve Garrett is the editor of "The Lonely Stories," a collection of stories about loneliness. (Photo by Tim Coburn)

ทั้งนี้ แกร์เร็ตต์ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับความเหงาเอาไว้ในหนังสือของเธอที่มีชื่อว่า The Lonely Stories: 22 Celebrated Writers on the Joys & Struggles of Being Alone ซึ่งเธอหวังว่า เรื่องราวดังกล่าวจะช่วยบรรเทาทุกข์หรือมอบความสุขให้แก่ผู้คนที่กำลังทนทุกข์อยู่กับความโดดเดี่ยวอ้างว้างได้

แกร์เร็ตต์คิดว่า คนเราทุกคนล้วนมีความรู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง ดังนั้นการที่ได้อ่านเกี่ยวกับประสบการณ์ความเหงาที่หลากหลาย อาจจะเป็นวิธีการใช้ความเหงาและความอ้างว้างในการเชื่อมโยงถึงกันและกัน

เมื่อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก ความโดดเดี่ยวก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนเกือบจะทุกคน จากการที่ต้องแยกออกตัวจากเพื่อนฝูง สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเพื่อนบ้านของตน

ในขณะเดียวกัน หลาย ๆ คนต้องถูกบังคับให้อยู่กับคนในครอบครัวตลอดเวลา ซึ่งสำหรับบางคนแล้ว เรื่องนี้ก็นำไปสู่ความเหงาในรูปแบบที่แตกต่าง ซึ่งหนังสือเรื่อง The Lonely Stories นี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการขาดความสันโดษ หรือช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเองด้วย

"The Lonely Stories," edited by Natalie Eve Garrett and published by Catapult, is a collection of stories from 22 award-winning writers.

แกร์เร็ตต์ได้พูดถึงความแตกต่างระหว่างความเหงาและความสันโดษว่า ความเหงาเป็นความรู้สึกที่ขาด แต่ความสันโดษเป็นสิ่งที่เราเลือกเอง

นักเขียนและจิตรกรผู้นี้พบว่า การกักตัวกับลูกสองคนในช่วงของการระบาดใหญ่นั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แม้ว่า เธอจะสามารถใช้เวลากับครอบครัวได้มากขึ้น แต่นั่นก็หมายความว่า เธอไม่มีเวลาที่จะเขียนภาพเลย และเธอก็พบว่า ตัวเองโหยหาเวลาที่จะได้อยู่คนเดียวจริง ๆ

แม้ว่าเรื่องหนังสือเรื่อง The Lonely Stories นั้นจะถูกเขียนขึ้นมาในช่วงของการระบาดใหญ่ แต่ก็มีนักเขียนเพียงไม่กี่คนที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองโดยตรง เช่น เรียงความเรื่อง “One Witness and Respair” โดย เจสมีน วาร์ด (Jesmyn Ward) ที่เขียนเกี่ยวกับสามีของเธอซึ่งเสียชีวิตไปในช่วงเริ่มต้นของการเกิดโรคระบาดใหญ่ และบทความเรื่อง “Exodus 2020” ซึ่ง เอมิลี่ ราบูโต (Emily Raboteau) ได้อธิบายถึงตึกอพาร์ทเมนท์ที่เธออาศัยอยู่ในนครนิวยอร์ค ที่เพื่อนบ้านและเพื่อน ๆ ของเธอย้ายออกไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยกว่าในช่วงของการระบาดใหญ่ทีละคน ทีละคน

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวความเหงาเกี่ยวกับการเปลี่ยนวัฒนธรรม เช่น “Trading Stories” ของจุมปา ลาฮิรี (Jhumpa Lahiri) ซึ่งเขียนถึงเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้ของพ่อแม่ของเธอในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง และผลกระทบต่อชีวิตและการทำงานของเธอ

President Barack Obama awards the 2014 National Humanities Medal to author Jhumpa Lahiri of New York, during a ceremony in the East Room at the White House in Washington, Sept. 10, 2015.

นักเขียนบางคนเขียนเกี่ยวกับการเลือกอยู่คนเดียวตามลำพังด้วยเหตุผลส่วนตัวหรือในเชิงสร้างสรรค์ และความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ เช่นใน “Maine Man” ของ เลฟ กรอสแมน (Lev Grossman) ซึ่งเขียนเกี่ยวกับอาการเกือบเสียสติของเขาในช่วงอายุ 20 ปี จากการที่เขาเลือกที่จะเขียนหนังสืออยู่ในเมืองเล็ก ๆ ที่แยกตัวจากคนผู้คน และยังมี "Am I Still Here?" ของ แอนโทนี่ โดเออร์ (Anthony Doerr) ชายผู้ติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งเขียนถึงความพยายามของเขาในการตัดขาดจากโซเชียลมีเดีย และหันเข้าหาธรรมชาติและอยู่กับตัวเองอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ความเหงาไม่ได้เป็นเพียงแค่สภาพจิตใจ แต่ยังสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางร่างกายที่ร้ายแรงได้

สถาบันแห่งชาติด้านผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐฯ กล่าวว่า ความเหงาและความโดดเดี่ยวอาจเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า ความสามารถทางจิตใจถดถอย และอาจถึงกับเสียชีวิตได้

แต่คนหนุ่มสาวก็ใช่ว่าจะปลอดภัยจากความเหงา เพราะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า คนหนุ่มสาวและคนกลุ่มอื่น ๆ ในสหรัฐฯ รู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมากขึ้น ตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดใหญ่

แกร์เร็ตต์บอกกับ วีโอเอ ว่า การแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับความเหงาเป็นวิธีการดึงความสนใจไปที่ปัญหาและเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้อื่น ดังนั้น เธอรู้สึกขอบคุณอย่างมากที่มีนักเขียนเก่ง ๆ มากมายเข้าร่วมเส้นทางแห่งความอ้างว้างนี้ และช่วยทำให้ไม่เหงาอีกต่อไป โดยเธอหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยเตือนว่า จริง ๆ แล้ว เราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างที่คิด และเราไม่ได้เหงาอยู่เพียงลำพัง

  • ที่มา: วีโอเอ