นกนางนวลออสเตรเลียเป็นพาหะเชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะ

A woman watches as two seagulls fight over a chip stolen off her lunch plate in Sydney, Australia Wednesday, Nov. 6, 2013. (AP Photo/Rob Griffith)

นักวิทยาศาสตร์เผยนกนางนวลทั่วออสเตรเลียเป็นพาหะของเชื้อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะ นกดังกล่าวเป็นพาหะของแบคทีเรียเช่นอีโคไลซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือติดเชื้อในกระแสเลือดได้

นักวิทยาศาสตร์เกรงว่าแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนี้อาจแพร่กระจายจากนกนางนวลไปสู่คน รวมไปถึงปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงทั้งหลายได้ด้วย

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Murdoch ในเมือง Perth พบว่ากว่า 1 ใน 5 ของนกนางนวลสีเงินทั่วประเทศเป็นพาหะของแบคทีเรียเช่นอี โคไล ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ นักวิจัยเชื่อว่านกนางนวลได้เชื้อแบคทีเรียจากสิ่งปฏิกูลและผ้าอ้อมเด็กที่ใช้แล้ว ในขณะที่คุ้ยเขี่ยหาอาหารตามกองขยะหรือถังขยะ

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์อาจสามารถติดเชื้อโรคนั้นได้หากมีการสัมผัสกับอุจจาระของนกนางนวล อย่างไรก็ตามการล้างมือให้สะอาดจะช่วยลดความเสี่ยงหลังการสัมผัสได้ มีตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียในนกนางนวลดื้อยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรง

Dr. Sam Abraham นักจุลชีววิทยาที่มหาวิทยาลัย Murdoch กล่าวว่าแหล่งที่มาของเชื้อแบคทีเรียในนกนางนวลน่าจะเป็นของเสียจากครัวเรือน และว่านักวิจัยเชื่อว่านกนางนวลรับเชื้อแบคทีเรียนี้มาจากมนุษย์ เนื่องจากแบคทีเรียดังกล่าวอาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์นกนางนวลอาจจะสัมผัสอุจจาระของมนุษย์ไม่ว่าจะผ่านทางน้ำเสีย หรือผ่านทางผ้าอ้อมเด็กที่ใช้แล้ว หรือผ้าอ้อมของคนสูงอายุจากnursing homes โดยการคุ้ยเขี่ยตามถังขยะ

การศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Antimicrobial Chemotherapy และนำโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยMurdoch ที่อยู่ทางตะวันตกของออสเตรเลีย

จากผลการศึกษานอกจากนี้นักวิจัยยังเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียพิจารณาหาวิธีป้องกันนกนางนวลและสัตว์ป่าอื่นๆ จากการคุ้ยเขี่ยหลุมทิ้งขยะอีกด้วย