ในช่วงปี ค.ศ. 2012 และ 2013 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสัตว์และพืชพันธุ์ใหม่ๆในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงอีกเกือบ 400 ชนิด ตามรายงานของ World Wide Fund (WWF) for Nature ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมา ทำให้จำนวนสัตว์และพืชพันธุ์ใหม่ๆที่ค้นพบในบริเวณดังกล่าวในช่วง 17 ปีมานี้เพิ่มขึ้นเป็นกว่าสองพันชนิดแล้ว
Thomas Gray นักวิทยาศาสตร์และผู้อำนวยการโครงการ Greater Mekong Species ของ WWF บอกว่า นกพันธุ์ใหม่ที่จัดเข้ารายชื่อพันธุ์สัตว์ใหม่ของปี 2012-2013 คือนกกระจิบที่เรียกชื่อว่า Cambodian tailorbird (O. Chatomuk)
เจ้าหน้าที่ของ WWF ผู้นี้บอกว่า นกอาจเป็นสัตว์ที่มีการศึกษาวิจัยกันมากที่สุดในโลก และว่านกกระจิบเขมรที่เพิ่งค้นพบนี้ อยู่ในระยะไม่เกินกว่า 5 กิโลเมตรจากกรุงพนมเปญ
ส่วนผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลาน Jodi Rowley จาก Museum Research Institute ในออสเตรเลีย พบกบยักษ์บินได้ สีเขียวสด ยาวถึง 10 ซม. นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้บอกว่า เธอพบกบที่ว่านี้ในป่าเล็กๆใกล้นคร Ho Chi Minh city แต่ตั้งข้อสังเกตว่า บริเวณที่พบกบยักษ์ตัวนี้ ล้อมรอบไปด้วยนาข้าวและบริเวณที่มีการเพาะปลูกอื่นๆ จึงเป็นห่วงว่าแหล่งพำนักอาศัยของกบนี้จะร่อยหลอลงเรื่อยๆ เธอไม่คิดว่ากบชนิดนี้จะมีชีวิตรอดอยู่ในบริเวณที่มีการเกษตรได้
Thomas Gray ผู้อำนวยการโครงการ Greater Mekong Species ของ WWF บอกว่า ไม่เพียงแต่พืชและสัตว์เท่านั้นที่กำลังอยู่ในภาวะอันตราย ลุ่มแม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในห้าของจุดร้อนของโลกที่ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังถูกคุกคาม และกล่าวโทษว่าสาเหตุสำคัญมาจากการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืน
Thomas Gray นักวิทยาศาสตร์และผู้อำนวยการโครงการ Greater Mekong Species ของ WWF บอกว่า นกพันธุ์ใหม่ที่จัดเข้ารายชื่อพันธุ์สัตว์ใหม่ของปี 2012-2013 คือนกกระจิบที่เรียกชื่อว่า Cambodian tailorbird (O. Chatomuk)
เจ้าหน้าที่ของ WWF ผู้นี้บอกว่า นกอาจเป็นสัตว์ที่มีการศึกษาวิจัยกันมากที่สุดในโลก และว่านกกระจิบเขมรที่เพิ่งค้นพบนี้ อยู่ในระยะไม่เกินกว่า 5 กิโลเมตรจากกรุงพนมเปญ
ส่วนผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลาน Jodi Rowley จาก Museum Research Institute ในออสเตรเลีย พบกบยักษ์บินได้ สีเขียวสด ยาวถึง 10 ซม. นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้บอกว่า เธอพบกบที่ว่านี้ในป่าเล็กๆใกล้นคร Ho Chi Minh city แต่ตั้งข้อสังเกตว่า บริเวณที่พบกบยักษ์ตัวนี้ ล้อมรอบไปด้วยนาข้าวและบริเวณที่มีการเพาะปลูกอื่นๆ จึงเป็นห่วงว่าแหล่งพำนักอาศัยของกบนี้จะร่อยหลอลงเรื่อยๆ เธอไม่คิดว่ากบชนิดนี้จะมีชีวิตรอดอยู่ในบริเวณที่มีการเกษตรได้
Thomas Gray ผู้อำนวยการโครงการ Greater Mekong Species ของ WWF บอกว่า ไม่เพียงแต่พืชและสัตว์เท่านั้นที่กำลังอยู่ในภาวะอันตราย ลุ่มแม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในห้าของจุดร้อนของโลกที่ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังถูกคุกคาม และกล่าวโทษว่าสาเหตุสำคัญมาจากการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืน