นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาสโตนเฮนจ์

Sheep graze as security guards patrol the prehistoric monument at Stonehenge in southern England, on April 26, 2020, closed during the national lockdown due to the novel coronavirus COVID-19 pandemic.

นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวว่าพวกเขาสามารถไขปริศนาของของ “สโตนเฮนจ์” อนุสรณ์สถานที่มีชื่อเสียงระดับโลกในมลฑลวิลต์เชียร์ ประเทศอังกฤษ

นักวิทยาศาสตร์รายงานเมื่อต้นเดือนสิงหาคมว่าพวกเขาสามารถระบุได้ว่าหินก้อนใหญ่มหึมาของสโตนเฮนจ์ที่เรียกว่า megaliths นั้นมาจากที่ไหน เมื่อหลายพันปีที่แล้วผู้คนเคยใช้หินเหล่านี้ในการสร้างเครื่องหมายต่างๆ อนุสาวรีย์ ตลอดจนโครงสร้างอื่นๆ

David Nash จากมหาวิทยาลัย Brighton เป็นหัวหน้าการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Science Advance

นักวิจัยกล่าวว่าหินก้อนเล็กชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแท่งหิน megalith ขนาดใหญ่ช่วยไขปริศนานี้ โดยหินก้อนเล็กๆ นั้นถูกเก็บรักษาอยู่ในสหรัฐฯ มานานกว่า 40 ปี และว่าการทดสอบทางเคมีแสดงว่าหิน megaliths ส่วนใหญ่ที่ใช้สร้าง Stonehenge หรือที่รู้จักกันในชื่อของ sarsens นั้นมาจากพื้นที่ๆ เรียกว่า West Woods ห่างจากที่ตั้ง Stonehenge ไปประมาณ 25 กิโลเมตร

หิน Sarsens ถูกนำมาไว้ที่สโตนเฮนจ์เมื่อ 4,000 ปีก่อน โดยแท่นหินที่ใหญ่ที่สุดสูงถึง 9.1 เมตร และหินที่หนักที่สุดมีน้ำหนักประมาณ 30 ตัน

ตัวอย่างแกนกลางของหิน sarsen ที่ถูกนำออกมาในระหว่างการซ่อมแซมในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับต้นกำเนิดของสโตนเฮนจ์ ตัวอย่างดังกล่าวถูกมอบให้กับชายที่ชื่อว่า Robert Phillips ซึ่งทำงานให้กับบริษัทที่ทำการซ่อมแซมอนุสรณ์สถานแห่งนี้

Phillips นำตัวอย่างหินที่ได้รับอนุญาตนี้ไปด้วยเมื่อเขาย้ายไปอยู่สหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2520

Nash กล่าวว่า Phillips ได้ส่งคืนตัวอย่างหินให้ประเทศอังกฤษเพื่อทำการวิจัยในปีพ.ศ. 2561 และเขาได้เสียชีวิตลงในปีนี้

นักวิจัยได้ศึกษาตัวอย่างหินชิ้นเล็กๆ นี้เพื่อดูว่ามาจากที่ไหน หินดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับหินทรายที่พบใน West Woods กับหินทั้งหมดที่สโตนเฮนจ์ ยกเว้นหิน Sarsens สองแท่ง

Nash กล่าวว่านักวิจัยยังไม่ทราบว่าผู้คนเคลื่อนย้ายหินไปยังสโตนเฮนจ์ได้อย่างไร ด้วยขนาดของหินเหล่านี้ พวกมันคงจะต้องถูกลากหรือเคลื่อนย้ายโดนใช้ล้อเลื่อน และว่านักวิจัยไม่ทราบเส้นทางที่แน่นอน แต่อย่างน้อยตอนนี้ก็ทราบถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด

นอกจากนี้แล้วที่สโตนเฮนจ์ยังมีหินขนาดเล็กที่เรียกว่า bluestones ด้วย ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าหินเหล่านี้มาจากอุทยานแห่งชาติ Pembrokeshire ในเวลส์ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 250 กิโลเมตร

Nash กล่าวส่งท้ายว่าเขาหวังว่าการค้นพบนี้จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงการทำงานอย่างหนักในอดีตในการสร้างอนุสรณ์สถานสโตนเฮนจ์ได้ดียิ่งขึ้น