การศึกษาชิ้นใหม่เรื่องวิวัฒนาการของหน้ามนุษย์ชี้ว่าคนสมัยดึกดำบรรพ์มีกรามใหญ่น่าจะเกี่ยวกับการต่อสู้ที่ใช้หมัดโจมตีใบหน้า

Your browser doesn’t support HTML5

science


นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย University of Utah ของสหรัฐและคณะพยายามอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปพรรณสัณฐานของหน้ามนุษย์ ด้วยทฤษฎีใหม่ที่ว่า สาเหตุที่มนุษย์ในอดีตมีกรามใหญ่ เกี่ยวเนื่องพฤติกรรมการใช้กำลังที่ไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

Mike Morgan หนึ่งในผู้ทำวิจัย ศึกษาโครงสร้างกระดูกของหน้ามนุษย์ย้อนไป 4 ล้านปี และพบว่าในสมัยก่อนนั้น บรรพบุรุษของเรามีกระดูกกรามและฟันด้านล่างที่หนากว่า และส่วนเชื่อมกรามก็กว้างกว่าด้วย นอกจากนั้นกระดูกตั้งแต่เบ้าตาลงมามีความแข็งแรงกว่ามนุษย์ยุคปัจจุบัน

เขาบอกว่าที่เป็นเช่นนั้นน่าจะเป็นเพราะ บริเวณดังกล่าวของหน้าคนเป็นจุดปะทะหากมีการต่อสู้ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือวิธีการต่อสู้ของมนุษย์ไม่เหมือนสัตว์ประเภทอื่น เพราะหากไม่นับการใช้อาวุธ การปะทะกันของมนุษย์ยุคก่อนจะเป็นการใช้หมัดเป็นหลัก ขณะที่สัตว์ประเภทอื่นแม้แต่ลิง ก็กำหมัดไม่ได้เหมือนมนุษย์

University of Utah researchers contend that human faces evolved to minimize injury from punches to the face during fights between males.​ Courtesy - University of Utah.



อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการคนอื่นๆ เช่น Paul Constantino ไม่เห็นด้วย

อาจารย์ Constantino เป็นนักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย Marshall ซึ่งศึกษาซากฟอสซิลของสัตว์หลายชนิด เขาไม่เชื่อในทฤษฎีเรื่องรูปหน้าของคนที่มีกรามใหญ่ในอดีตเพื่อลดการบาดเจ็บจากการต่อสู้ เพราะน่าจะเป็นไปได้มากกว่าที่กรามมนุษย์เล็กลงหลังจากที่คนปลี่ยนรูปแบบอาหาร มาเป็นชนิดที่ไม่ต้องอาศัยการบดเคี้ยวเท่าในอดีต


โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ

รายงานโดย Steve Baragona/เรียบเรียงโดย Rattaphol Onsanit