Your browser doesn’t support HTML5
โครงการอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติชี้ว่าปัญหาดินเค็มส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกลดลงปีละ 1 ถึง 2 เปอร์เซ็นต์
แต่สำหรับคุณ Marc Van Rijsselburghe เกษตรกรชาวดัทช์ ปัญหาดินเค็มไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด เขาใช้น้ำเค็มในการเพาะปลูกเพื่อทดสอบดูว่าพืชชนิดใดยังขึ้นได้ดีในสภาพดินเค็ม เขากล่าวว่าเขาปลูกพืชหลากหลายชนิดในแปลงปลูกเเล้วรดด้วยน้ำจืดสลับกับน้ำเค็มไปมาเพื่อดูว่าพืชชนิดใดยังเติบโตได้และพืชชนิดใดตายลง
เกษตรกรชาวดัทช์คนนี้กำลังร่วมมือกับทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Free University of Amsterdam พวกเขาทำการแบ่งพื้นที่เพาะปลูกออกเป็น 8 แปลงและมีท่อน้ำเป็นตัวลำเลียงน้ำตามระบบชลประทาน ท่อน้ำที่แยกกันเป็นตัวลำเลียงน้ำจืดและน้ำเค็มไปที่ยังศูนย์ส่งน้ำที่มีระบบคอมพิวเตอร์คอยควบคุมการผสมน้ำจืดกับน้ำเค็มเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ระดับความเค็มที่ต่างกัน 8 ระดับ
คุณ Van Rijsselburghe กล่าวว่าระบบคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกแต่ละแปลงอย่างอัตโมนัติเพื่อดูว่าพืชชนิดใดทนต่อน้ำเค็มและอยู่รอดได้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ใช้ตัวเซ็นเซ่อร์หลายตัวคอยควบคุมระดับความเค็มและความชื้นในดินอยู่ตลอดเวลา คุณ Van Rijsselburghe เกษตรกรชาวดัทช์คนนี้กล่าวว่าเขายังได้ผลผลิตจากแปลงผักเกือบทุกแปลงเพียงแต่ได้ผลผลิตน้อยลงเท่านั้น แม้ว่าพืชผักที่ปลูกได้จะมีขนาดเล็กกว่าปกติแต่ว่ารสชาดกลับดีกว่าเพราะมีน้ำตาลและเกลือมากกว่า
พื้นที่เพาะปลูกในการทดลองนี้สามารถปลูกแครอท หัวหอมใหญ่และบีทรู้ทได้ผลและยังพบว่ามันฝรั่งเป็นพืชที่ทนทานต่อดินเค็มได้ดีที่สุด คุณ Van Rijsselburghe เกษตรกรชาวดัทช์กล่าวว่า ทีมวิจัยได้จัดส่งมันฝรั่งสี่สายพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ทนทานต่อดินเค็มไปยังประเทศปากีสถานเพื่อนำไปทดลองปลูกในที่ดินหลายพันไร่ที่ได้รับความเสียหายจากภาวะดินเค็ม