อาคารสำคัญในเขตค่ายทหารเก่า ของเบอร์ลินตะวันออก ที่เคยเป็นสถานที่จัดพิธีลงนามการยอมจำนนอย่างเป็นทางการของกองทัพนาซีเยอรมัน และถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป ยังคงได้รับการรักษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ที่ใช้ชื่อว่าเยอรมัน-รัสเซีย มิวเซียม (German-Russian Museum Berlin) และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสมาคมนักประวัติศาสตร์จาก 4 ชาติ คือเยอรมัน รัสเซีย เบราลุส และยูเครน ตลอดช่วงที่ผ่านมา
แต่การบุกยูเครนของกองทัพรัสเซียในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ทางพิพิธภัณฑ์ออกมาแสดงจุดยืนเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการเหลือธงชาติยูเครนเพียงชาติเดียวบนเสาธงด้านหน้า และปิดทับป้ายชื่อเยอรมัน-รัสเซีย ของพิพิธภัณฑ์
จอร์ก มอร์เร (Jörg Morré) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เยอรมัน-รัสเซีย มิวเซียม แห่งนี้ บอกว่า ปกติทางพิพิธภัณฑ์จะประดับธงชาติ เยอรมัน รัสเซีย ยูเครน และเบราลุส บนเสาธง แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับยูเครน ทางพิพิธภัณฑ์เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแสดงการยืนหยัดร่วมกับยูเครนที่ตกเป็นเหยื่อสงคราม และถูกโจมตีจากรัสเซีย
Your browser doesn’t support HTML5
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต หลักฐานความโหดร้ายของกองทัพนาซี ที่ย่ำยีผู้คนชาวโซเวียตยังคงได้รับการบันทึกอย่างชัดเจน และแน่นอนว่าส่วนหนึ่งเกิดขึ้นบนแผ่นดินยูเครนในปัจจุบัน
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับยูเครน ทางพิพิธภัณฑ์เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแสดงการยืนหยัดร่วมกับยูเครนที่ตกเป็นเหยื่อสงคราม และถูกโจมตีจากรัสเซีย..Jörg Morré ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เยอรมัน-รัสเซีย
สถานที่ซึ่งเคยเป็นสัญลักษณ์ของการยอมจำนนของนาซี ได้รับการสนับสนุนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ภายใต้ชื่อ เยอรมัน-รัสเซียมิวเซียม มาตั้งแต่ปีคริสตศักราช 1994 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ปัญหาการรุกรานยูเครนและการเข้าครอบครองแคว้นไครเมียของรัสเซียในอีก 20 ปีต่อมา ทำให้ชื่อของพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียโดยตรงกลายเป็นประเด็นพิพาทได้ด้วย
ผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งนี้ บอกว่า เพื่อนร่วมงานที่เป็นชาวยูเครนมักจะลำบากใจที่จะทำงานภายใต้ชื่อพิพิธภัณฑ์เยอรมัน-รัสเซีย แต่ในมุมของคนเยอรมันเข้าใจว่า การมีพิพิธภัณฑ์ ภายใต้ชื่อร่วมกับ รัสเซีย นั้นเป็นเรื่องสำคัญในแง่ของการมีประวัติศาสตร์ร่วมกับคู่ขัดแย้งสงครามในอดีต ซึ่งอันที่จริงน่าหมายถึงสหภาพโซเวียตทั้งหมด และตอนนี้เขาก็ได้เรียนรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญเช่นกันว่าจำเป็นต้องแยกแยะระหว่าง รัสเซีย ยูเครน และ เบราลุส ออกจากกัน
คำกล่าวของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ที่ประกาศก่อนบุกยูเครนซึ่งระบุเป้าหมายของการรุกรานในครั้งนี้ว่าเป็นการมุ่งขจัดนาซีในยูเครน และเปรียบเทียบหลายต่อหลายครั้งถึงรัฐบาลยูเครนกับกลุ่มนาซี รวมทั้งการกล่าวหาถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ประวัติศาสตร์อาจเป็นเรื่องที่ชวนถกเถียงได้ แต่หลายคนที่นี่เชื่อว่า แม้สงครามจะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่สงครามควรจะเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ มากกว่าจะปล่อยให้เกิดซ้ำรอยในอดีต
แน่นอนว่าฝ่ายยูเครนออกมาปฏิเสธ และชี้ให้เห็นว่า ต้นตระกูลของ ประธานาธิบดี โวโลดีเมียร์ เซเลนสกี นั้นเคยเป็นชาวยิวที่ต่อต้านนาซีมาตลอด
ผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ เยอรมัน-รัสเซีย ให้ความเห็นถึงคำกล่าวของผู้นำรัสเซียในเรื่องนี้ ว่า เป็นแบบอย่างที่ผิด และบิดเบือนเรื่องราวในประวัติศาสตร์ซึ่งเขาไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับผู้นำรัสเซีย และบางทีอาจจะสะท้อนได้ว่า เราไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
ประวัติศาสตร์อาจเป็นเรื่องที่ชวนถกเถียงได้ แต่หลายคนที่นี่เชื่อว่า แม้สงครามจะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่สงครามควรจะเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ มากกว่าจะปล่อยให้เกิดซ้ำรอยในอดีต
ความขัดแย้งที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้งในยุโรป คือหนทางย้อนกลับไปยุคมืดมนแห่งสงครามในศตวรรษที่ 20 ที่เริ่มโดยรัสเซีย ที่มี รถถัง อาวุธ และกำลังทหาร ยาตราทัพเข้าไปในยูเครน