ตรวจสอบข่าว: รัสเซีย-จีน โหมข่าว ต้นตอของโควิดมาจากห้องทดลองในสหรัฐฯ

FILE - This undated, colorized electron microscope image made available by the US National Institutes of Health in February 2020 shows the Novel Coronavirus SARS-CoV-2, indicated in yellow, emerging from the surface of cells, indicated in blue/pink, cultu

จากกรณีที่สำนักข่าว RT (Russia Today) และรัฐบาลจีนออกมากล่าวว่า เชื้อโคโรนาไวรัสอาจมีต้นตอมาจากห้องทดลองในสหรัฐฯ เพราะอาจารย์ เจฟฟรีย์ แซคส์ ประธานคณะกรรมาธิการติดตามการระบาดของโควิด-19 ของวารสารการแพทย์นานาชาติ The Lancet และนักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเป็นผู้ยืนยันข้อมูลข้างต้น ฝ่ายตรวจสอบข่าวสารของสำนักข่าววีโอเอ Polygraph พบว่า เป็นการบิดเบือนความเป็นจริงในคำกล่าวของนักวิชาการผู้นี้

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา อาจารย์ แซคส์ พูดถึงเรื่องการพัฒนาโลกที่ยั่งยืนในยุคหลังโควิด ที่ศูนย์ค้นคว้า GATE Center ในกรุงมาดริดที่ประเทศสเปน และได้ยกประเด็นเรื่องต้นตอของโคโรนาไวรัสที่เขาเป็นผู้ศึกษาอย่างละเอียด รวมทั้งประเด็นต่าง ๆ ซึ่งเข้าตัวยอมรับว่า เป็นถ้อยความที่อาจ “ปลุกปั่น” และจะนำมาซึ่งการถกเถียงในวงกว้างได้

ในการร่วมงานเสวนาครั้งนั้น อาจารย์ แซคส์ กล่าวว่า “ผมค่อนข้างแน่ใจว่า [โควิด-19] เกิดจากเทคโนโลยีชีวภาพในห้องทดลองของสหรัฐฯ ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ ผมได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดมาถึงสองปี โดยตามความคิดเห็นผม ผมคาดว่ามันเป็นข้อผิดพลาดของเทคโนโลยีชีวภาพ ไม่ใช่อุบัติเหตุที่มาจากการแพร่เชื้อตามธรรมชาติ (natural spillover) ผมเลยต้องขอพูดให้กระจ่างเลยว่า เราไม่ทราบชัดเจน แต่ตอนนี้เรามีหลักฐานเพียงพอที่จะสอบสวนได้และควรที่จะมีคนสอบสวน แต่ไม่ว่าจะสหรัฐฯ หรือที่ไหนก็ไม่เลือกที่จะทำการสอบสวน นั่นอาจเป็นเพราะเหตุผลที่แท้จริง คือ ไม่มีใครต้องการให้รู้ถึงความลับที่เก็บซ่อนไว้มากเกินไป”

หลังจากนั้นไม่นาน สื่อบางแห่ง เช่น RT ของรัสเซียได้ตีความหมายคำพูดของอาจารย์ แซคส์ ด้วยการพาดหัวข่าวว่า “ประธานคณะกรรมาธิการ Lancet ชี้ โควิด-19 อาจเกิดจากห้องแล็บในสหรัฐฯ​” และ Republic World ของอินเดียพาดหัวว่า “หัวหน้าคณะกรรมาธิการ Lancet อ้าง โควิด-19 อาจหลุดออกมาจากห้องแล็บชีวภาพในสหรัฐฯ -- ไม่ได้การแพร่เชื้อตามธรรมชาติ” เป็นต้น

ทางด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน หัว ชุนหยิง ออกมาให้ความเห็นด้วยว่า คำพูดของนายแซคส์ได้สนับสนุนถึงประเด็นที่รัฐบาลปักกิ่งย้ำมายาวนานว่า สหรัฐฯ ควรถูกสอบสวนว่า อาจเป็นประเทศต้นตอของการกำเนิดโคโรนาไวรัส

อย่างไรก็ดี ทางการจีนไม่เคยนำเสนอหลักฐานที่ชัดเจนใด ๆ เพื่อสนับสนุนคำกล่าวหานี้ และห้องทดลองในสหรัฐฯ นั้นได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาข้างต้นถึงหลายครั้งแล้ว

ฝ่ายตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร Polygraph ของสำนักข่าววีโอเอ ชี้ว่า คำพูดของอาจารย์แซคส์สร้างความสับสนในแก่ผู้คนจริง แต่สื่อบางแห่งสรุปใจความสำคัญของสิ่งที่อาจารย์คนดังกล่าวพูดโดยมีการบิดเบือนบางจุด เช่น ย่อคำว่า “เทคโนโลยีชีวภาพในห้องทดลองของสหรัฐฯ” ให้กลายเป็น “ห้องแล็บให้สหรัฐฯ” และเติมแต่งคำว่าอาจารย์แซคส์ใช้คำว่าโควิด “หลุด” ออกจากทดลองในสหรัฐฯ หนำซ้ำสื่อเหล่านี้ยังลดความสำคัญของคำเตือนที่อาจารย์แซคส์บอกว่า “ผมเลยต้องขอพูดให้กระจ่างเลยว่า เราไม่ทราบชัดเจน” ด้วย

Jeffrey Sachs, Columbia University economist

นอกจากนี้ ในวันที่ 19 เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อาจารย์แซคส์ได้ตีพิมพ์ความคิดเห็นเชิงลึกร่วมกับ นีล แฮริสสัน อาจารย์วิสัญญีวิทยาและเภสัชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences โดยทั้งคู่คาดว่า โคโรนาไวรัสอาจเกิดขึ้นมาจากการค้นคว้าวิจัยร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ (National Institutes of Health - NIH) และที่ห้องทดลองของทั้ง University of North Carolina ในสหรัฐฯ และในอู่ฮั่นของจีน

ทั้งคู่แนะนำว่า เจ้าหน้าที่จากทางการสหรัฐฯ ควรจะเริ่มทำการสอบสวนอย่างอิสระและละเอียดสำหรับกรณีข้างต้น และย้ำว่า“เราไม่ได้ระบุว่าไวรัส SARS-CoV-2 เกิดจากการผสมปรุงแต่งในห้องแล็บ (laboratory manipulation) แต่มันมีความชัดเจนว่า อาจจะเป็นไปได้…เราระบุได้ว่า จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีการตรวจสวบทางวิทยาศาสตร์ที่โปร่งใสหรืออย่างอิสระใด ๆ โดยใช้หลักฐานที่มีอยู่ในสหรัฐฯ เลย ”

ฝ่ายตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร Polygraph ของสำนักข่าววีโอเอ ได้ติดต่อไปหาอาจารย์แซคส์และขอให้อธิบายถึงเรื่องต้นตอของโคโรไวรัสที่เขากล่าวที่สถาบันค้นคว้า GATE ในกรุงมาดริด แต่ไม่ได้รับการตอบกลับใด ๆ

หลังจากนั้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ทั้งอาจารย์แซคส์และนีล ได้ตีพิมพ์ความคิดเห็นภายใต้ชื่อ “คำถามเกี่ยวกับต้นตอของโควิด-19 ที่ยังไม่มีคำตอบ” ในหนังสือพิมพ์ The Boston Globe ซึ่งระบุว่า “ต้นตอของโควิด-19 นั้นยังเรื่องที่ไม่มีใครทราบ แต่การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในห้องทดลองของสหรัฐฯที่ล้ำสมัย อาจมีส่วนช่วย(ในการจุดกำเนิดไวรัสนี้)”

จากนั้นทั้งคู่ได้เจาะลึกประเด็นเรื่อง gain-of-function ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาโดยการเปลี่ยนสภาพของไวรัสเพื่อดูว่า มีโอกาสกลายพันธุ์ไปเป็นโรคระบาดมากน้อยแค่ไหน โดยจุดประสงค์หลักของการศึกษาด้วยวิธีนี้ คือ การค้นพบเชื้อโรคที่อันตรายและเสี่ยงต่อการระบาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเป็นวงกว้างที่อาจเกิดขึ้น

ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า สหรัฐฯ นั้นได้ให้เงินสนับสนุนการศึกษาโคโรนาไวรัสในค้างคาวกับนักวิทยาศาสตร์ในอู่ฮั่นของประเทศจีน

ในบทความที่ทั้งสองร่วมกันเขียนลงในหนังสือพิมพ์ The Boston Globe อาจารย์แซคส์และนีล ได้พุ่งความสนใจยังลักษณะเด่นของพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 ที่ “ช่วยให้ไว้รัสสามารถเข้าสู่และทำให้เซลล์ของมนุษย์ติดเชื้อได้” พร้อมตั้งคำถามว่า ลักษณะเด่นนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือ “ถูกใส่เข้าไปในไวรัสด้วยการปรุงแต่งในห้องทดลอง” เพราะลักษณะเด่นที่ว่านี้ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "furin cleavage site" คือเป้าหมายหลักของการทดลองที่ทีมค้นคว้าวิจัยร่วมทั้งจากสหรัฐฯ และจีน ต้องการบรรลุ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน

In this photo taken Thursday, Feb. 23, 2017, researchers work in a lab of the Wuhan Institute of Virology in Wuhan

ทั้งคู่ยังระบุด้วยว่า “กระบวนการวิจัยส่วนมากนั้นเกิดขึ้นที่ห้องทดลองในเมืองอู่ฮัน โดยมีมาตรการควบคุมความปลอดภัยด้านชีวภาพในระดับที่ต่ำ”

ทฤษฎีของต้นตอโควิดที่เพิ่มเติมขึ้นจากประเด็นข้างต้น คือ การเกิดในสัตว์และแพร่สู่คน ซึ่งสื่อหลาย ๆ สำนัก รวมทั้งวีโอเอ ฝ่าย Polygraph ได้ติดตามรายงานอยู่อย่างต่อเนื่อง

แต่เนื่องด้วยบทบาทที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการของอาจารย์แซคส์ที่เป็นประธานคณะกรรมธิการวารสาร The Lancet ความเห็นต่าง ๆ ที่ถูกนำเสนอผ่านบทความของอาจารย์ท่านนี้ จึงยิ่งเป็นเหมือนเชื้อไฟให้มีการถกเถียงเกี่ยวกับต้นตอของโควิดกันอย่างร้อนแรงมากขึ้นในหมู่นักวิจัย

และเมื่อเดือนกันยายนของปีที่แล้ว อาจารย์แซคส์ต้องประกาศยุบคณะทำงานศึกษาต้นตอโควิดของคณะกรรมาธิการที่ตนเป็นประธานอยู่ เพราะผลประโยชน์ทับซ้อนในหมู่สมาชิกของคณะกรรมาธิการที่มีความสัมพันธ์กับสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ซึ่งเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนการวิจัยร่วมสหรัฐฯ-จีนที่ทำการศึกษาโคโรนาไวรัสในค้างคาว ตามรายงานของวารสาร Science

อย่างไรก็ตาม นักวิจารย์บางรายกล่าวหา อาจารย์แซคส์ว่า มักพูดเข้าข้างจีนตลอดเวลา โดยมีการยกตัวอย่างในอดีต เช่น บทความของเขาที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2018 ภายหัวข้อ “สหรัฐฯ​ ต่างหาก -- ไม่ใช่จีน -- ที่เป็นภัยคุกคามต่อหลักนิติธรรมระหว่างประเทศ” หลังมีรายงานข่าวการจับกุมผู้บริหารบริษัท หัวเหว่ย ในแคนาดา

ต่อมาในปี ค.ศ. 2021 อาจารย์ผู้นี้ยังร่วมเขียนบทความ “ข้อกล่าวหาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในซินเจียงเป็นเรื่องที่ไร้มูล” และล่าสุด เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อาจารย์แซคส์วิจารณ์สหรัฐฯ​ อย่างรุนแรง ซ้ำยังโทษความต้องการเข้าร่วมองค์การนาโต้ของยูเครนว่า เป็นเหตุที่ทำให้ถูกรัสเซียรุกราน ซึ่งประเด็นข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่จีนมักหยิบยกมาใช้พูดคุยกันเป็นประจำ

  • ที่มา: วีโอเอ Polygraph