ร้านค้าพึ่งพา ‘หุ่นยนต์’ แก้ปัญหาเงินเฟ้อ-ค่าแรงพุ่ง

FILE PHOTO: An illustration projected on a screen shows a robot hand and a human one moving towards each others during the "AI for Good" Global Summit at the ITU in Geneva

ปัญหาตลาดแรงงานที่ตึงตัวในปัจจุบัน บวกกับค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนแรงกดดันด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคกำลังบีบให้อุตสาหกรรมร้านค้าปลีกต้องดำเนินการเพื่อรับมือกับปัญหานี้ และการพึ่งพาหุ่นยนต์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

คลังสินค้าขนาดใหญ่ในเมืองรูสเซนดาล ทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ นำเครนอัตโนมัติและยานพาหนะไร้คนขับมาใช้เพื่อจัดกองเสื้อผ้าให้กับร้านค้าปลีกไพร์มาร์ค (Primark) ของฝรั่งเศสและอิตาลี เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนคนงาน อีกทั้งยังลดต้นทุนในการจัดหาคลังสินค้าเพิ่มเติมได้อีกทางหนึ่งด้วย

แม้ว่าธุรกิจการค้าปลีกจะนำระบบอัตโนมัติมาใช้ช้ากว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ แต่ถือว่าอัตราการพึ่งพาระบบนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การนำระบบชำระเงินด้วยตนเองแบบง่าย ๆ มาใช้ในร้านค้า ไปจนถึงการใช้หุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในสายการผลิตและภาคบริการ

Robots to make hot chips in fast food restaurants across the U.S.

ข้อมูลจากองค์กรหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ หรือ International Federation of Robotics ระบุว่าการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกเพิ่มขึ้น 31% ในปี 2021 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ยอดขายหุ่นยนต์บริการเพิ่มขึ้น 37% โดยภาคค้าปลีกเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ

มาร์ค เชอร์ลีย์ (Mark Shirley) หัวหน้าฝ่ายโลจิสติกส์ของ Primark ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวไอริชกล่าวว่าการลงทุน 25 ล้านยูโร หรือราว 900 ล้านบาท ในระบบอัตโนมัติของคลังสินค้าที่เมืองรูสเซนดาล จะเริ่มคืนทุนให้ปีละ 8 ล้านยูโรในอีก 4 ปีข้างหน้า นอกเหนือไปจากการประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะที่ไม่ต้องเช่าคลังสินค้าเพิ่มอีก

เขาประเมินว่าการใช้เครนอัตโนมัติแทนการใช้รถยกที่ต้องมีคนควบคุม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในคลังสินค้าได้ถึง 80% เลยทีเดียว

และที่สำคัญคือ การใช้ยานยนต์ไร้คนขับหมายความว่าบริษัทไม่ต้องแข่งขันในตลาดแรงงานดัตช์ที่กำลังตึงตัวอย่างมากอีกต่อไป ซึ่งเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วหลาย ๆ ประเทศ

เชอร์ลีย์บอกกับรอยเตอร์ว่า เมื่อมองภาพรวมของอุตสาหกรรม ผู้คนหันมาใช้วิธีนี้เพื่อลดความเสี่ยงในด้านแรงงานเขาประเมินด้วยว่าอุตสาหกรรมการค้าปลีกราว 40% ล้วนใช้ระบบอัตโนมัติ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-65% ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้านี้

Japan Convenience Store Robot

กองทัพหุ่นยนต์ที่เดินสวนสนามกันไปมาในนั้น เริ่มเห็นได้ตามร้านค้าแฟชั่นและร้านขายอาหารทั่วโลก ซึ่งปกติต้องพึ่งพาคนงานนับล้าน แต่ธุรกิจเหล่านี้กำลังเผชิญกับต้นทุนค่าจ้าง ค่าพลังงาน และค่าวัตถุดิบที่สูงขึ้น ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มตึงตัว จากที่ผู้ค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของโลก อย่างแอมะซอน ได้เตือนว่างบประมาณในการจับจ่ายใช้สอยนั้นตึงตัว โดยเฉพาะในยุโรป

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ค้าปลีกทั่วยุโรปต่างใช้แนวทางที่แตกต่างกัน อย่างเช่น คาร์ฟูร์ ผู้ค้าปลีกอาหารรายใหญ่ที่สุดในยุโรปได้ตั้งเป้าว่าจะลดต้นทุนและลดความซับซ้อนของประเภทสินค้าที่จำหน่าย ในขณะที่ เทสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ กลับยอมรับในผลกำไรที่ลดลง

ในด้านบริษัท อินดิเท็กซ์ (Inditex) เจ้าของร้านเสื้อผ้า ซาร่า (Zara) ได้ขึ้นราคาเพื่อให้สอดรับกับต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ เอบี ฟู้ดส์ (AB Foods) เจ้าของไพร์มาร์ค กล่าวว่าผู้ค้าปลีกแฟชั่นที่มีราคาต้นทุนต่ำจะจำกัดการขึ้นราคา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะแตะเลขสองหลักในตลาดหลายแห่ง เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถจ่ายได้อีกต่อไป

ปัจจัยเหล่านี้ยิ่งทำให้ระบบอัตโนมัติมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก

FILE - An attendant pours coffee as a robot makes a fresh pot in a waiting area within the closed-loop "bubble" at the Taizicheng train station in Zhangjakou on Jan. 29, 2022, ahead of the 2022 Beijing Winter Olympic Games.

ที่ปรึกษาของบริษัทแมคคินซีย์ (McKinsey) กล่าวว่า แม้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ของระบบค้าปลีกออนไลน์จะหันมาใช้ระบบอัตโนมัติกับมากขึ้น แต่การดำเนินธุรกิจในภาพรวมของผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ยังพึ่งพาการทำงานโดยใช้แรงงานมนุษย์อยู่

แอนนิตา บัลชันดานิ (Anita Balchandani) ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจค้าปลีกในสาขาเครื่องแต่งกาย สินค้าแฟชั่น และสินค้าฟุ่มเฟือยในอังกฤษกล่าวว่า “เรากำลังอยู่ในระยะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นและมีราคาถูกลง และการใช้ระบบอัตโนมัติในบางพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้น”

A worker and a robot clean the floor of the main media center ahead of the 2022 Winter Olympics, Tuesday, Feb. 1, 2022, in Beijing. (AP Photo/Jae C. Hong)

แมคคินซีย์ คาดการณ์ว่าบริษัทแฟชั่นจะเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นสองเท่าจาก 1.6% เป็น 1.8% ของรายรับในปี 2021 เป็น 3.0% และ 3.5% ภายในปี 2030 โดยแบรนด์แฟชั่นจะรวมกระบวนการดิจิทัลเข้าด้วยกันอย่างเต็มรูปแบบสามารถลดเวลาที่ใช้ในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ยอดขายสินค้าในราคาเต็มเพิ่มขึ้น 8% และต้นทุนการผลิตลดลงได้ 20%

อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ดังกล่าวกำลังขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติในภาคการค้าปลีกด้านอาหารด้วย โดยบริษัทต่าง ๆ ได้ลงทุนในหุ่นยนต์ทำความสะอาด ป้ายราคาอิเล็กทรอนิกส์ตรงชั้นวางสินค้า และเทคโนโลยีที่ช่วยแจ้งเตือนระดับสินค้าคงคลังตามช่วงเวลาจริงและช่วยจัดการเติมสินค้า เป็นต้น

  • ที่มา: รอยเตอร์