ชายมือพิการชาวเดนมาร์กกลายเป็นผู้พิการคนเเรกของโลกที่ได้สวมมือยนต์ที่ช่วยให้ผู้สวมรับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสจากการหยิบจับสิ่งของได้ ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีมือยนต์
เก้าปีที่แล้ว คุณ Dennis Aabo Sorenso สูญเสียมือไปข้างหนึ่งจากอุบัติเหตุขณะเล่นประทัดไฟ ตั้งเเต่นั้นมา เขาต้องใส่มือเทียม เพื่อช่วยหยิบจับสิ่งของ
มาปัจจุบัน คุณ Sorenso ใส่มือยนต์ที่ได้รับการพัฒนาให้สร้างความรู้สึกทางประสาทสัมผัสทันทีที่เขาหยิบจับสิ่งของ
คุณ Sorenso กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทุกครั้งที่เขาหยิบจับสิ่งของด้วยมือยนต์ เขาสามารถรู้สึกถึงประสาทสัทผัสได้ทันทีต่างจากมือเทียมที่เคยใช้และเขาดีใจมากที่สามารถรับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสได้อีกครั้ง
ทีมนักวิจัยในอิตาลี่และสวิสเซอร์เเลนด์ได้พัฒนาระบบส่งทอดความรู้สึกทางประสาทสัมผัสนี้เมื่อปีที่แล้วโดยถือเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญของการพัฒนามือยนต์
มือยนต์ดังกล่าวนี้มีตัวเซ็นเซ่อร์หลายชิ้นติดอยู่ที่เส้นเอ็นเทียมในนิ้วมือยนต์ทุกนิ้วเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว นิ้วมือยนต์ทุกนิ้ว ถูกโยงเข้ากับตัวอิเลคโทรด 4 ตัวที่ถูกฝังไว้ที่แขนท่อนบนของคุณ Sorenso เพื่อเชื่อมต่อกับเส้นประสาทในท่อนเเขนบน
ตัวเซ็นเซ่อร์ในนิ้วมือสามารถรับรู้ถึงความเเรงที่คุณ Sorenso ใช้ในการหยิบจับสิ่งของ ระบบคอมพิวเตอร์ในตัวเซ็นเซ่อร์จะเเปลงสัญญาณที่ได้ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าอย่างอ่อนๆ ที่เส้นประสาทและสมองของคุณโซเรนโซ่สามารถแปลงสัญญาณได้ ช่วยให้เขาสามารถรับรู้ความรู้สึกจากการหยิบจับสิ่งของด้วยมือยนต์ได้
ในการทดลองหลายครั้ง นักวิจัยใช้ผ้าปิดตาคุณ Sorenso เพื่อไม่ให้มองเห็นและใช้ที่อุดหูเพื่อไม่ให้เขาได้ยินเสียง ปรากฏว่าคุณ Sorenso สามารถรับรู้ความเเรงที่เขาใช้ในการหยิบจับสิ่งของชิ้นต่างๆ นอกจากนี้เขายังสามารถรับรู้ถึงพื้นผิวสัมผัสและรูปร่างของสิ่งของที่หยิบจับได้ด้วย
คุณ Stanisa Raspopovic แห่ง Ecole Polytechnique Federale ใน Switzerland เป็นหัวหน้าการวิจัยนี้ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าว่าน่าทึ่งมากที่ผู้ใส่มือยนต์ไม่ต้องฝึกฝนการใช้งานเลย เขาสามารถใช้มือยนต์หยิบจับสิ่งของได้อย่างเป็นธรรมชาตินั่นเป็นเพราะว่าสามารถรับรู้ประสาทสัมผัสได้ทำให้ใช้งานได้คล่องเป็นธรรมชาติ
ทีมนักวิจัยชี้ว่ามือเทียมที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถรับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีก่อนที่จะผลิตออกมาให้ประชาชนได้ใช้กันทั่วไป หัวหน้าการวิจัยนี้กล่าวว่าในขั้นต่อไป ทีมนักวิจัยต้องปรับปรุงให้มือยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการช่วยให้ผู้ใช้รับรู้ประสาทสัมผัสได้ดียิ่งขึ้นและสามารถสวมไปไหนมาไหนได้สะดวก
เก้าปีที่แล้ว คุณ Dennis Aabo Sorenso สูญเสียมือไปข้างหนึ่งจากอุบัติเหตุขณะเล่นประทัดไฟ ตั้งเเต่นั้นมา เขาต้องใส่มือเทียม เพื่อช่วยหยิบจับสิ่งของ
มาปัจจุบัน คุณ Sorenso ใส่มือยนต์ที่ได้รับการพัฒนาให้สร้างความรู้สึกทางประสาทสัมผัสทันทีที่เขาหยิบจับสิ่งของ
คุณ Sorenso กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทุกครั้งที่เขาหยิบจับสิ่งของด้วยมือยนต์ เขาสามารถรู้สึกถึงประสาทสัทผัสได้ทันทีต่างจากมือเทียมที่เคยใช้และเขาดีใจมากที่สามารถรับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสได้อีกครั้ง
ทีมนักวิจัยในอิตาลี่และสวิสเซอร์เเลนด์ได้พัฒนาระบบส่งทอดความรู้สึกทางประสาทสัมผัสนี้เมื่อปีที่แล้วโดยถือเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญของการพัฒนามือยนต์
มือยนต์ดังกล่าวนี้มีตัวเซ็นเซ่อร์หลายชิ้นติดอยู่ที่เส้นเอ็นเทียมในนิ้วมือยนต์ทุกนิ้วเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว นิ้วมือยนต์ทุกนิ้ว ถูกโยงเข้ากับตัวอิเลคโทรด 4 ตัวที่ถูกฝังไว้ที่แขนท่อนบนของคุณ Sorenso เพื่อเชื่อมต่อกับเส้นประสาทในท่อนเเขนบน
ตัวเซ็นเซ่อร์ในนิ้วมือสามารถรับรู้ถึงความเเรงที่คุณ Sorenso ใช้ในการหยิบจับสิ่งของ ระบบคอมพิวเตอร์ในตัวเซ็นเซ่อร์จะเเปลงสัญญาณที่ได้ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าอย่างอ่อนๆ ที่เส้นประสาทและสมองของคุณโซเรนโซ่สามารถแปลงสัญญาณได้ ช่วยให้เขาสามารถรับรู้ความรู้สึกจากการหยิบจับสิ่งของด้วยมือยนต์ได้
ในการทดลองหลายครั้ง นักวิจัยใช้ผ้าปิดตาคุณ Sorenso เพื่อไม่ให้มองเห็นและใช้ที่อุดหูเพื่อไม่ให้เขาได้ยินเสียง ปรากฏว่าคุณ Sorenso สามารถรับรู้ความเเรงที่เขาใช้ในการหยิบจับสิ่งของชิ้นต่างๆ นอกจากนี้เขายังสามารถรับรู้ถึงพื้นผิวสัมผัสและรูปร่างของสิ่งของที่หยิบจับได้ด้วย
คุณ Stanisa Raspopovic แห่ง Ecole Polytechnique Federale ใน Switzerland เป็นหัวหน้าการวิจัยนี้ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าว่าน่าทึ่งมากที่ผู้ใส่มือยนต์ไม่ต้องฝึกฝนการใช้งานเลย เขาสามารถใช้มือยนต์หยิบจับสิ่งของได้อย่างเป็นธรรมชาตินั่นเป็นเพราะว่าสามารถรับรู้ประสาทสัมผัสได้ทำให้ใช้งานได้คล่องเป็นธรรมชาติ
ทีมนักวิจัยชี้ว่ามือเทียมที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถรับรู้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีก่อนที่จะผลิตออกมาให้ประชาชนได้ใช้กันทั่วไป หัวหน้าการวิจัยนี้กล่าวว่าในขั้นต่อไป ทีมนักวิจัยต้องปรับปรุงให้มือยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการช่วยให้ผู้ใช้รับรู้ประสาทสัมผัสได้ดียิ่งขึ้นและสามารถสวมไปไหนมาไหนได้สะดวก